23:12

จังหวัดพิษณุโลก

" พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา "

ข้อมูลทั่วไป จังหวัดพิษณุโลก
พิษณุโลก เป็นเมืองใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มากมีไปด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและธรรมชาติของสายน้ำและป่าเขาที่สวยงามน่าท่องเที่ยว อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 377 กิโลเมตร
• จังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ประมาณ 11,815 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบสลับป่าไม้ทางด้านตะวันออก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มอยู่โดยทั่วไป มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำน่านซึ่งไหลผ่านบริเวณตัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอคือ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางระกำ อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอนครไทย อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ และอำเภอเนินมะปราง
ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก หลักฐานการสร้างเมืองพิษณุโลกมีมาแต่พุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “เมืองสองแคว” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย หรือบริเวณที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1911 สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตัวเมืองปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง
สมัยอยุธยา เมืองพิษณุโลกทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรฝ่ายเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงปฏิรูปการปกครองและได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2116 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2131 ช่วงนั้นพิษณุโลกเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี หลังรัชสมัยของพระองค์พิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เป็นหน้าด่านสำคัญที่จะสกัดกั้นกองทัพพม่า เมื่อครั้งพระนเรศวรมหาราชดำรงฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ระยะนั้นไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวพิษณุโลกกอบกู้อิสรภาพชาติไทยได้ในปี พ.ศ. 2127
สมัยกรุงธนบุรี พิษณุโลกเป็นสถานที่ตั้งมั่นรับศึกพม่า เมื่อครั้งกองทัพของอะแซหวุ่นกี้มาตีเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ต้องเผชิญการต่อสู้อย่างทรหดกับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ถึงขนาดต้องขอดูตัว และได้ทำนายเจ้าพระยาจักรีว่าต่อไปจะได้เป็นกษัตริย์
สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงดำริให้รื้อกำแพงเมืองพิษณูโลกเพื่อไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑลเรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตร
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 337 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด หรือจากสิงห์บุรี ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไปอีก 17 กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกรวมระยะทางประมาณ 451 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางที่ผ่านเพชรบูรณ์และหล่มสัก แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก-พิษณุโลกระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร จะผ่านแหล่งท่องเที่ยวสองข้างทางหลายแห่ง
• รถโดยสาร จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบริการรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศไปยังพิษณุโลกตลอดวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 537-8155, 936-2852 และที่สถานีขนส่งพิษณุโลก โทร. (055) 242431 รถประจำทางปรับอากาศ ติดต่อ พิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ โทร. 936-2924-5 หรือ (055) 258647 เชิดชัยทัวร์ โทร. 936-1199 หรือ (055) 251414 วินทัวร์ โทร. 936-3753 หรือ (055) 243222
• นอกจากนี้ยังมีรถ บขส. บริการระหว่างพิษณุโลกกับจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก (แม่สอด) พิจิตร เพชรบูรณ์ และขอนแก่น ทุกวัน
• รถไฟ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วนพิเศษ (สปรินท์เตอร์) รถเร็ว และรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลกทุกวัน สอบถาม หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1691, 223-7111, 223-7121 สถานีรถไฟพิษณุโลก โทร. (055) 258115
• เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯและพิษณุโลกทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 51 นาที สอบถามกำหนดการเดินทาง โทร. 1566 ติดต่อสำรองที่นั่ง โทร. 281-1161 หรือ 628–2111 หรือที่สำนักงานพิษณุโลก โทร. (055) 258121, 258129
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่าง ๆ
อำเภอนครไทย 97 กิโลเมตร
อำเภอชาติตระการ 136 กิโลเมตร
อำเภอบางระกำ 17 กิโลเมตร
อำเภอบางกระทุ่ม 35 กิโลเมตร
อำเภอพรหมพิราม 41 กิโลเมตร
อำเภอวัดโบสถ์ 31 กิโลเมตร
อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร
อำเภอเนินมะปราง 75 กิโลเมตร

แผนที่จังหวัดพิษณุโลก


แผนที่ตัวเมืองพิษณุโลก

ข้อมูลท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว อ.เมือง จังหวัดพิษณุโลก
เสาหลักเมืองพิษณุโลก ประดิษฐานอยู่ภายในศาลหลักเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอเมือง ออกแบบอาคารโดยกรมศิลปากร เป็นแบบยอดปรางค์ เสาหลักเมืองทำจากไม้มงคลหลายชนิด คือ จากโคนลำต้นถึงลูกฟัก ทำจากไม่ราชพฤกษ์ ท่อนลูกแก้วท่อนบนทำจากไม้ชิงชัน ส่วนยอดบัวตูมประกอบด้วยลูกแก้วทำจากไม้สักทองตายพราย และได้นำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพฯ
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเรียกขานกันว่า วัดใหญ่ หรือวัดพระศรี กันจนติดปาก แม้นพระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานในวิหารคือ “พระพุทธชินราช” ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” ตามไปด้วย วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเมื่อปี พ.ศ. 1911 บาท ภายในวัดสิ่งโบราณสถานโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย อาทิ
พระพุทธชินราช เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศ เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี
ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกร มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลาง และมีเทพอสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ 2 องค์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดบวรนิเวศวิหารตามลำดับ
บานประตูประดับมุก ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า “นมอกเลา” เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์ ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และยังมีลาย “อีแปะ” ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
พระเหลือ พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก และพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองได้นำมารวมกันบนฐานชุกชี พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นหนึ่งหลัง อัญเชิญพระเหลือกับพระสาวกไปประดิษฐาน เรียกว่า “วิหารพระเหลือ”
พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติด้านหลังพระวิหาร สูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1811 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง”
พระปรางค์ประธาน ศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เปิดทุกวัน เวลา 6.31-18.11 น. ส่วนพิพิธภัณฑ์ในวัดเปิดเวลา 8.31-16.31 น.
วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ทางใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุ พระอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ ที่ชายคาตกแต่งด้วยนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม พิจารณาดูตามชื่อแล้ว วัดราชบูรณะน่าจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง เชื่อว่าเป็นสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เนื่องจากทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกถึง 25 ปี และทรงมีบทบาททางบำรุงพระศาสนาที่พิษณุโลกมากที่สุด
วัดนางพญา ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับวัดราชบูรณะ ถัดไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยเดียวกับวัดราชบูรณะ ต่างกันที่วัดนางพญาไม่มีพระอุโบสถมีแต่วิหาร วัดนี้มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง เรียกว่า “พระนางพญา” ซึ่งเล่าลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันหาได้ยากมาก มีก็แต่ที่ได้สร้างจำลองขึ้นภายหลัง มีการพบกรุพระเครื่องครั้งแรกใน พ.ศ. 2444 และครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2497
วัดเจดีย์ยอดทอง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองพิษณุโลก บนถนนพญาเสือ ทางเดียวกับวัดอรัญญิก ปัจจุบันเหลือเพียงเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่เป็นศิลปสุโขทัยเพียงองค์เดียวที่พบในพิษณุโลก เจดีย์มีฐานกว้างประมาณ 9 เมตร สูง 21 เมตร เฉพาะที่ยอดทรงดอกบัวตูมนั้น ได้เห็นรอยกระเทาะของปูนทำให้แลเห็นการเสริมยอดโดยการพอกปูนเพิ่มที่ยอดแหลมของดอกบัว
วัดจุฬามณี ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ตามถนนบรมไตรโลกนารถ ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย เคยเป็นที่ตั้งของเมืองสองแควเก่า ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงสร้างพระวิหารและเสด็จออกผนวชที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. 2117 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป มีโบราณสถานสำคัญคือ ปรางค์แบบขอมขนาดย่อม ฐานกว้าง 11 เมตร ยาว 18 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้าก่อเป็นแบบตรีมุข ตั้งบนฐานสูงซ้อนกันสามชั้น แต่ละชั้นย่อมุมไม้ยี่สิบ มีปูนปั้นประดับลวดลายตามขั้น ตอนล่างแถบหน้ากระดานและบัวหน้ากระดานเป็นลายหงส์ เหมือนกับองค์ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี สมัยที่ยังสมบูรณ์อยู่มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ใกล้เคียงกันมีมณฑปพระพุทธบาทจำลองซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้ สร้างขึ้น แผ่นจารึกหน้ามณฑปมีใจความสรุปได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2221 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้ผ้าทาบรอยพระพุทธบาท สลักลงบนแผ่นหิน พระราชทานไว้เป็นที่กราบไหว้ของฝูงชน
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ซึ่งเป็นพระราชวังจันทน์มาก่อนในอดีต ตัวศาลเป็นศาลาทรงไทยโบราณตรีมุข พระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีขนาดเท่าองค์จริง ประทับนั่ง พระหัตถ์ทรงพระสุวรรณภิงคารหลั่งน้ำในพระอิริยาบถประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง สร้างโดยกรมศิลปากร เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2414 มีการจัดงานสักการะพระบรมรูปในวันที่ 25 มกราคมของทุกปี
เมื่อเดือนมีนาคม 2535 กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบแนวเขตพระราชฐานพระราชวังจันทน์ ซึ่งเป็นสถานที่พระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งนับว่าเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีและทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของจังหวัด ในปัจจุบัน กรมศิลปากรได้กลบหลุมขุดเพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานไว้ จนกว่าจะได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
กำแพงเมืองคูเมือง เดิมเป็นกำแพงดินเช่นเดียวกับกำแพงเมืองสุโขทัย คาดว่าสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเพื่อเตรียมรับศึกพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้โปรดให้ซ่อมแซมกำแพงเมืองอีกครั้งเพื่อเตรียมรับศึกพม่า ครั้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้ช่างฝรั่งเศสสร้างกำแพงใหม่โดยก่ออิฐให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้รื้อกำแพงเมืองและป้อมต่าง ๆ เสีย เพื่อไม่ให้พม่าซึ่งรุกรานไทยยึดเป็นที่มั่น กำแพงเมืองที่เห็นได้ชัดเจนในขณะนี้คือ บริเวณวัดโพธิญาณ วัดน้อย และบริเวณสถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก สำหรับคูเมือง พบเห็นได้ตามแนวที่ขนานกับถนนพระร่วง (หลังสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม)
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์) ตั้งอยู่ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ในตัวเมืองพิษณุโลก เป็นที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้านในอดีต ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ จนถึงชิ้นใหญ่ เช่น เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ
เช่น เครื่องวิดน้ำด้วยมือ เครื่องสีข้าว เครื่องมือดักจับสัตว์ รวมกันแล้วนับหมื่นชิ้น จนได้รับการยอมรับว่าเป็นขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยประเภทหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อปี 2541
จ่าสิบเอก ดร. ทวี บูรณเขตต์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ เป็นผู้ที่มีฝีมือในทางประติมากรรม และได้รับการเชิดชูเกียรติมากมาย ท่านได้รับการยกย่องให้เป็น “บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาการช่างฝีมือ แขนงช่างหล่อ” ประจำปี 2526 และได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒและมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งการประกาศเกียรติคุณเป็น “คนดีศรีพิษณุโลก”
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ โดยไม่เก็บค่าเข้าชม ตั้งแต่เวลา 8.11–16.31 น. โทร. (055) 212749, 258715 ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ เป็นโรงหล่อพระบูรณะไทย ติดต่อเข้าชมการหล่อพระล่วงหน้า โทร. (055)258715
หอศิลปและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ส่วนสนามบิน) ถนนสนามบิน อำเภอเมือง จัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภายในจัดแสดงผลงานศิลปกว่าร้อยชิ้นของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย อาทิ สวัสดิ์ ตันติสุข พูน เกษจำรัส ประยูร อุลุชาฎะ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประเทือง เอมเจริญ และชวลิต เสริมปรุงสุข เป็นต้น และยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับ วิถีชุมชนภาคเหนือตอนล่าง จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องมือทำมาหากินต่าง ๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด ระหว่างเวลา 9.11–18.11 น. โทร. (055) 231721
พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดแสดงที่ชั้นสองของอาคารเอนกประสงค์ในมหาวิทยาลัยนเรศวร (ทุ่งหนองอ้อ) ประกอบด้วยห้องจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ จัดแสดงผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า ที่นำมาจากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศไทยและต่างประเทศ มีบริการข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยและเอกสารเกี่ยวกับการผลิต การศึกษาเรื่องผ้าประเภทต่าง ๆ รวมทั้งจัดแสดงชุดฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถซึ่งพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในวันและเวลาราชการ (จันทร์-ศุกร์ 9.11–15.11 น.) โทร. (055) 261111-4

ข้อมูลท่องเที่ยว อ.วัดโบสถ์ : อ.ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

อำเภอวัดโบสถ์
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่ป่าเขาในเขต 4 อำเภอของพิษณุโลก คือ วังทอง วัดโบสถ์ นครไทย และชาติตระการ เป็นแหล่งต้นน้ำหลายสายที่ไหลลงสู่ลำน้ำแควน้อย แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯคือ น้ำตกแก่งเจ็ดแคว อันเป็นที่รวมของธารน้ำสายย่อย ๆ จำนวน 7 สาย การเดินทางจากพิษณุโลก ใช้เส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก 6 กิโลเมตร แยกซ้ายไปอำเภอวัดโบสถ์ (ทางหลวงหมายเลข 11) ประมาณ 25 กิโลเมตร ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำแควน้อย มีทางแยกขาวไปบ้านนาขามอีก 15 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีก 9 กิโลเมตรถึงอุทยานฯ (เส้นทางบางช่วงเป็นทางลูกรัง)
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ มีพื้นที่กว่า 81,111 ไร่ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ที่ตั้งสำนักงานเขตฯตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านป่าคาย หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนายาง อำเภอวัดโบสถ์ ห่างจากตัวเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว จากพิษณุโลกเดินทางไปอำเภอวัดโบสถ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ระยะทาง 6 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 11 อีก 25 กิโลเมตร ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำแควน้อยมีทางแยกไปบ้านนาขามตามเส้นทาง 1221 อีก 8 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางเข้าเขตห้ามล่าฯอีก 6 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังและมีจุดที่ต้องขับผ่านธารน้ำไหล จำเป็นต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อในช่วงฤดูฝน
เขาน้อย-เขาประดู่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 111-511 เมตร ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า มีความหลากหลายทางด้านพืชพรรณ มีดอกไม้ตามฤดูกาลที่สวยงามคือดอกกระเจียวและกล้วยไม้ และยังเป็นแหล่งค้นพบปูพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่า ปูแป้ง หรือ ปูสองแคว เหมาะแก่การท่องเที่ยวทัศนศึกษาเชิงนิเวศในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม ผู้สนใจเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ทางเขตฯได้ทำไว้หรือติดต่อพักแรม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขตได้โดยตรงหรือติดต่อล่วงหน้าที่ สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ หมู่ 2 ต.บ้านยาง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก 65111

อำเภอชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีชื่อเรียกตามชาวบ้านว่า น้ำตกปากรอง ตั้งอยู่ที่บ้านปากรอง ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 145 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมากในจังหวัดพิษณุโลก มีถึง 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความงดงามต่างกันออกไป และตั้งชื่อตามนามธิดาท้าวสามลในวรรณคดีไทยเรื่องสังข์ทอง โดยเฉพาะชั้นที่ 3 และ4 น้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 11 เมตร แผ่เป็นฝอยกระจายทั่ว ชั้นที่เป็นแอ่งใหญ่ที่สุดคือ ชั้นที่ 1 การปีนเขาเพื่อขึ้นชมน้ำตกทั้งเจ็ดชั้นน่าสนุกมาก บางตอนก็เป็นที่สูงชันต้องอาศัยเถาวัลย์ห้อยโหนขึ้นไป บางตอนเป็นช่องแคบ ๆ ต้องเอียงตัวเดิน บางตอนก็ต้องคลาน แต่เมื่อไปถึงบริเวณน้ำตกแล้วจะหายเหนื่อยทันที
การ เดินทางไปน้ำตกชาติตระการนั้น หากเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวให้ใช้เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก เมื่อถึง กม. ที่ 68 (บ้านแยง) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 2113 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อำเภอนครไทยประมาณ 29 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอชาติตระการไปอีกประมาณ 38 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาอีก 11 กิโลเมตรก็จะถึงน้ำตก หากเดินทางโดยรถประจำทางให้ขึ้นรถสายพิษณุโลก-ชาติตระการที่สถานขนส่ง พิษณุโลก รถออกวันละ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 6.11-16.31 น. เมื่อถึงอำเภอชาติตระการแล้วต่อรถสองแถวชาติตระการ-บ้านนาดอนเข้าไปยังน้ำตก
อุทยานฯมีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว ติดต่อได้ที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ หรือที่อุทยานฯได้โดยตรง และสามารถนำเต็นท์มากางเอง
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอ. ชาติตระการ จ.พิษณุโลก และ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงตามแนวชายแดนไทย-ลาว บริเวณที่สูงที่สุดคือ ยอดภูสอยดาว สูงถึง 2,112 เมตร อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์ มีทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ทำกินของชาวเขาเผ่าม้ง แหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯได้แก่ ป่าสน ทุ่งดอกไม้ หน้าผาจุดชมวิว น้ำตกสายทิพย์ และน้ำตกภูสอยดาว พื้นที่ป่าสนสามใบ เหมาะแก่การมาเที่ยวชมในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน เนื่องจากจะพบเห็นทะเลหมอกและดอกไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะดอกหงอนนาคขึ้นอยู่ทั่วไป และกล้วยไม้ป่าตามคาคบไม้ใหญ่ ระยะทางเดินทางจากเชิงเขา 6.5 กิโลเมตร บางช่วงเป็นเส้นทางชัน ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง มีสถานที่กางเต็นท์และห้องสุขาบริการ
การเดินทาง
รถส่วนตัว 1. ใช้เส้นทาง พิษณุโลก-อ.วัดโบสถ์-บ้านโป่งแค-อ.ชาติตระการ-ภูสอยดาว ระยะทาง 177 กิโลเมตร 2. ใช้เส้นทางพิษณุโลก-บ้านแยง-อ.นครไทย-อ.ชาติตระการ-ภูสอยดาว ระยะทางรวม 154 กิโลเมตร
รถโดยสาร / รถไฟ 1. เดินทางโดยรถไฟหรือรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลก แล้วต่อรถโดยสารไปอำเภอชาติตระการ และโดยสารรถสองแถวสายชาติตระการ-บ้านร่มเกล้า รถออกทุกชั่วโมง ระหว่างเวลา 9.11-16.11 น. จากนั้นต้องจ้างเหมารถจากบ้านร่มเกล้าไปยังอุทยานฯ หรือจะเช่าเหมาจากอำเภอชาติตระการไปยังอุทยานฯเลยก็ได้ ราคาประมาณ 511 บาทต่อเที่ยว 2. เดินทางโดยรถไฟหรือรถโดยสารจาก กรุงเทพฯ ไปอุตรดิตถ์ ต่อรถโดยสารที่ตลาดต้นโพธิ์หรือหอนาฬิกาไปอำเภอน้ำปาด ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง ลงรถที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอน้ำปาด และเหมารถสองแถวไปภูสอยดาว ราคาประมาณ 311 บาท ใช้เวลาเดินทางอีก 3 ชั่วโมง (เป็นเส้นทางคดโค้งผ่านภูเขา)
บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีบ้านพักรับรอง 3 หลัง ติดต่อล่วงหน้า โทร. (055)419234 หรือที่อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อ. น้ำปาด จ. อุตรดิตถ์ 53111 การพักค้างแรมบนลานสน ต้องนำเต็นท์มาเอง ติดต่อลูกหาบได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ข้อมูลท่องเที่ยว อ.วังทอง : อ.เนินมะปราง : อ.นครไทย จังหวัดพิษณุโลก

อำเภอวังทอง
วัดราชคีรีหิรัญยาราม ตั้งอยู่ที่บ้านสมอแคลง ในเขตอำเภอวังทอง เดินทางจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหมายเลข 12 (เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก) ประมาณ 14 กิโลเมตร (ก่อนถึงอำเภอวังทอง 3 กิโลเมตร) มีทางแยกซ้ายไปอีก 511 เมตร บนเขาสมอแคลงมีสระน้ำเรียกว่า “สระสองพี่น้อง”มีน้ำตลอดปี คนโบราณจึงได้สร้างวัดไว้ถึง 7 วัด แต่บัดนี้ร้างไปหมดแล้ว สำหรับวัดราชคีรีหิรัญยารามหรือวัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลงนี้ เดิมเป็นวัดร้าง และมีพระสงฆ์มาจำพรรษาเพื่อ พ.ศ. 2496 ในบริเวณวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง และบนเขาซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของวัดมีรอยพระบาทตะแคงอยู่กับหน้าผา มีงานนมัสการพระพุทธบาทในกลางเดือน 3 เป็นประจำทุกปี
เมื่อ ประมาณต้นปี พ.ศ. 2535 ได้มีการอัญเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งแกะสลักจากหินทะเลสาบหยกขาวจากเมืองหางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปางพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้สร้างโดยรัฐบาลจีนโดยใช้ต้นแบบจากวัดเจ้า แม่กวนอิมพันมือเมืองหางโจว มีขนาดสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้
น้ำตกวังนกแอ่นหรือสวนรุกชาติสกุโณทยาน ตั้งอยู่ที่บริเวณ กม. 33 ทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) แยกขวาไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กในลำธารวังทอง อันมีต้นกำเนิดมาจากลำน้ำเข็ก บริเวณทั่วไปร่มรื่นด้วยพรรณไม้ต่าง ๆ มีป้ายชื่อต้นไม้กำกับไว้ ด้านทิศตะวันตกมีพลับพลาสร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จประพาสภาคเหนือ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2511 ด้านทิศตะวันออกมีศาลาริมน้ำ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเตนรทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำวังทอง ก่อนถึงตัวน้ำตก 511 เมตรมีป้ายบอกทางเลี้ยวขวาไปยังแก่งไทร ซึ่งเป็นแก่งหินคั่นกลางลำน้ำเป็นขั้น ๆ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
น้ำตกแก่งซอง อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 12 กม.45 มีขนาดใหญ่กว่าน้ำตกสกุโณทยาน มีร้านค้า บ้านเรือนต่าง ๆ ตั้งอยู่ริมน้ำตก
น้ำตกปอย ระหว่าง กม. ที่ 59-61 ทางหลวงหมายเลข 12 มีทางแยกไปน้ำตกปอยอีก 2 กิโลเมตร บริเวณสวนป่ากระยาง ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นน้ำตกที่มีทัศนียภาพสวยงาม สภาพโดยรอบร่มรื่นเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
น้ำตกแก่งโสภา เส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก อยู่บริเวณกม.ที่ 71-72 มีทางแยกเข้าไป 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ในลำน้ำเข็ก มีความสูงราว 41 เมตร สภาพโดยรอบร่มรื่น ตอนบนเป็นแผ่นหินเรียบ ส่วนตอนล่างเป็นโขดหินใหญ่ ในช่วงฤดูน้ำหลากสายน้ำจะไหลเชี่ยวกราก ส่วนในช่วงที่น้ำน้อยจะแลเห็นน้ำตกไหลลดหลั่นเป็นชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น ค่าธรรมเนียมเข้าชมสำหรับชาวไทยคนละ 11 บาท
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีพื้นที่ 789,111 ไร่ ในท้องที่จังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2518 สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เป็นต้นน้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่ กม. 81 เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก นักท่องเที่ยวสามารถขอข้อมูลเดินทางศึกษาธรรมชาติ รวมทั้งใช้บริการที่พักและกางเต็นท์พักแรมได้
แหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกต่าง ๆ บนเส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก เช่นน้ำตกแก่งโสภา น้ำตกวังนกแอ่น ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันออกและตอนกลางของอุทยานฯ ในเขตอ.เขาค้อ จ,เพชรบูรณ์ เป็นบริเวณป่าสนและทุ่งหญ้าสะวันนา ได้แก่ ทุ่งแสลงหลวง ทุ่งพญา ทุ่งโนนสน ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมไปเดินป่าและกางเต็นท์พักแรม สามารถติดต่อได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ สล.8 (หน่วยฯหนองแม่นา)
การเดินทางไปหน่วยฯ หนองแม่นา
รถส่วนบุคคล จากบ้านแค้มป์สนที่ กม.111 เส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก แยกไปตามทาง 2196 ทางไปเขาค้อ จนถึงตลาดพัฒนา เลี้ยวขวาเข้าทาง 2325 จนถึงบ้านทานตะวัน มีทางไปหน่วยจัดการอุทยานฯ (หนองแม่นา) อีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากบ้านแค้มป์สน 35 กิโลเมตร
รถโดยสาร จากสถานีขนส่งพิษณุโลกโดยสารรถประจำทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก ลงรถที่บ้านแค้มป์สน (กม.111) จากนั้นจ้างเหมารถสองแถวที่ปากทางแค้มป์สนไปยังหน่วยฯหนองแม่นา หรือเช่ารถสองแถวจากบริษัทรถเช่าในพิษณุโลกไปยังหน่วยฯหนองแม่นาเลยก็ได้

อำเภอเนินมะปราง
ถ้ำบ้านมุง บ้านมุงถือเป็นดินแดนแห่งถ้ำอย่างแท้จริง ภูมิประเทศบ้านมุง ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูนสลับซับซ้อน ยอดตะปุ่มตะป่ำดูแปลกตา เกิดถ้ำน้อยใหญ่มากมาย ผู้ที่มาเที่ยวถ้ำที่บ้านมุงควรแวะมาที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ สล.6 ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำเดือนถ้ำดาวก่อน เพื่อขอคำแนะนำในการเที่ยวถ้ำต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัย
ถ้ำเดือน-ถ้ำดาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ทางด้านทิศตะวันตก ในความดูแลของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ สล.6 บ้านมุง มีลักษณะเป็นถ้ำน้ำลอด ทางขึ้นปากถ้ำเป็นธารน้ำไหลผ่านโขดหินน้อยใหญ่ซึ่งต้องปีนป่ายขึ้นไป ในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงที่มีธารน้ำไหลผ่าน มีความยาว 1.4 กิโลเมตร สวยงามด้วยหินงอกหินย้อย ช่วงที่เหมาะแก่การชมถ้ำคือ ในช่วงฤดูแล้ง และต้องนำไฟฉายติดตัวไปด้วย ช่วงฤดูฝนไม่เหมาะแก่การเที่ยวชมเนื่องจากปริมาณน้ำมากและอันตราย การเดินทาง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 12 พิษณุโลก-วังทอง แยกขวาเข้าทางหลวงสาย 11 ไปสากเหล็ก และแยกซ้าย 1115 ไปตัวอำเภอเนินมะปราง และเดินทางต่ออีก 6 กิโลเมตรถึงบริเวณถ้ำ รวมระยะทางห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 85 กิโลเมตร
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ครอบคลุมเนื้อที่ 1,775 ไร่ ในท้องที่อำเภอเนินมะปราง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 85 กิโลเมตร การเดินทางเริ่มจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึงอำเภอวังทองระยะทาง 21 กิโลเมตร แยกขวาไปยังอำเภอสากเหล็กอีก 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 11 แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง 1115 อีก 17 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา (ก่อนถึงตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร) มีแยกขวาไปถ้ำผาท่าพลอีก 11 กิโลเมตร เส้นทางบางช่วงเป็นทางลูกรัง ในฤดูฝนควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
พื้นที่บริเวณนี้เป็นภูเขาหินปูน ยอดสูงสุด 236 เมตร มีหน้าผาสูงชันเว้าแหว่ง อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนนับหลายล้านปี เกิดเป็นถ้ำต่าง ๆ มากมายทั่วบริเวณ ได้แก่ ถ้ำนเรศวร ถ้ำเรือ ที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ถ้ำลอด ซึ่งสามารถเดินทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งของภูเขาได้ นอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของหอยและปะการัง เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อน และยังมีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์รูปมือคนบนเพิงผาหิน และอักษรญี่ปุ่นโบราณสลักบนก้อนหิน พรรณไม้และร่องรอยสัตว์ป่าต่าง ๆ ที่มักพบระหว่างทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ เหมาะแก่การทัศนศึกษาเชิงนิเวศ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อขอข้อมูลได้เจ้าหน้าที่เมื่อเดินทางมาถึงยังสำนักงานเขต การเที่ยวชมถ้ำต่าง ๆ ต้องนำไฟฉายติดตัวมาด้วย ในช่วงฤดูฝนถ้ำบางแห่งไม่สามารถเข้าชมได้เนื่องจากมีน้ำท่วมพื้นถ้ำ หากต้องการพักค้างแรมหรือทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะติดต่อล่วงหน้าได้ที่ สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล หมู่ 6 ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก 65191

อำเภอนครไทย
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัดคือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ครอบคลุมพื้นที่ 191,875 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 ภูหินร่องกล้ามียอดเขาสูง 1,617 เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน และพบกล้วยไม้ดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน
ภูหินร่องกล้าเคยเป็นศูนย์กลางที่ตั้งฐานที่มั่นการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของภาคเหนือ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแพร่กระจายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่เขาค้อ ภูขัด และภูเมี่ยง จนเกิดเป็นปัญหาความมั่นคงทางการเมือง เมื่อเหตุการณ์สงบลงในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2525 ได้มีการตัดเส้นทางผ่านใจกลางภูหินร่องกล้าและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติขึ้น จนกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างในปัจจุบัน
แหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ได้แก่
พิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวการใช้ชีวิต และการสู้รบของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) รวมทั้งจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่าง ๆ
ทางเดินโลกที่สาม เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ผ่านภูมิทัศน์ที่สวยงาม และสถานที่สำคัญของ พคท. ได้แก่ สำนักอำนาจรัฐ เป็นสถานที่ดำเนินการทางการปกครอง พิจารณาลงโทษผู้กระทำผิด มีคุก สถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล ที่หลบภัยทางอากาศ เป็นโพรงถ้ำกว้างขวางจุคนได้กว่า 211 คน ผาชูธง เป็นจุดที่คอมมิวนิสต์ชักธงแดงทุกครั้งที่รบชนะลานหินปุ่ม เต็มไปด้วยหินปุ่มตะป่ำเป็นบริเวณกว้างดูแปลกตา เกิดจากการสึกกร่อนของหินโดยธรรมชาติ เคยใช้เป็นที่พักฟื้นคนไข้
โรงเรียนการเมือง การทหาร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 6 กิโลเมตร เคยใช้เป็นสถานที่ให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีบ้านพักฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ และสถานพยาบาล กระจายตัวอยู่ใต้ร่มไม้แน่นทึบ ประมาณ 31 หลัง กระจายอยู่ภายใตัผืนป่ารกทึบ ในบริเวณใกล้เคียงยังมี สุสานทหาร และกังหันน้ำสำหรับสีข้าว
น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร ห่างจากโรงเรียนการเมืองประมาณ 611 เมตร มีทางแยกเดินลงน้ำตกร่มเกล้าก่อน จากนั้นเดินลงไปประมาณ 211 เมตร จะเป็นน้ำตกภราดร ที่เกิดจากลำธารเดียวกัน
ลานหินแตก เป็นลานหินกว้างมีรอยแตกคล้ายแผ่นดินแยก ตามซอกหินพบไม้ประเภทมอสส์ ไลเคน เฟิร์น และกล้วยไม้
น้ำตกศรีพัชรินทร์ ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับทหารจากค่ายศรีพัชรินทร์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นทหารหน่วยแรกที่ขึ้นมาบนภูหินร่องกล้า น้ำตกศรีพัชรินทร์มีความสูงประมาณ 21 เมตร มีแอ่งใหญ่ที่เหมาะสำหรับเล่นน้ำ
น้ำตกหมันแดง เป็นน้ำตกที่มีชั้นต่าง ๆ รวม 32 ชั้น เกิดจากห้วยน้ำหมัน ซึ่งมีน้ำตลอดปี อยู่บนเส้นทางสายภูหินร่องกล้า-หล่มเก่า กม. 18 มีทางเดินเท้าเข้าสู่น้ำตกอีก 3.5 กิโลเมตร
การเดินทาง
รถส่วนบุคคล จากพิษณุโลกใช้เส้นทางหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) เลี้ยวซ้ายที่บ้านแยง กม. 68 เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2113 ไปอีก 28 กิโลเมตร ถึงอำเภอนครไทย แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2331 ไปภูหินร่องกล้าอีก 31 กิโลเมตร
นอกจากนี้ภูหินร่องกล้ายังสามารถเข้าถึงได้จากด้านจังหวัดเพชรบูรณ์โดยใช้เส้นทางหล่มเก่า-ทับเบิก-ภูหินร่องกล้า แต่เส้นทางนี้ค่อนข้างสูงชัน และคดเคี้ยวมาก เหมาะเป็นทางลงมากกว่า
หมาย เหตุ - การเดินทางขึ้นและลงภูหินร่องกล้าทั้งสองเส้นทาง ควรใช้รถยนต์ที่มีกำลังสูงตรวจเช็คสภาพ คลัตช์ และเบรก ให้อยู่ในสภาพที่ดีมาก และต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้รถบัสใหญ่ขึ้นภูหินร่องกล้านั้นไม่เหมาะสมเนื่องจากเส้นทางคดเคี้ยว และสูงชัน ควรเปลี่ยนเป็นรถตู้จะสะดวกกว่า
รถโดยสาร / รถไฟ เดินทางโดยรถไฟหรือรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลก แล้วต่อรถโดยสารสายพิษณุโลก-นครไทย รถจะออกจากสถานีขนส่งพิษณุโลกทุก 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 6.11 - 18.11 น. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง จากนั้นต่อรถสองแถวเล็กสายนครไทย-ภูหินร่องกล้า ซึ่งมีบริการวันละ 4 เที่ยว ระหว่างเวลา 8.11-15.31 น. ใช้เวลา 45 นาที หากเหมารถไป-กลับ คิดราคาประมาณ 611 บาทต่อวัน
บริการ รถเช่าขึ้นภูหินร่องกล้า นอกจากบริการรถสองแถวที่อำเภอนครไทยแล้ว หากนักท่องเที่ยวต้องการความสะดวกสบายอาจเช่ารถตู้ปรับอากาศจากตัวเมือง พิษณุโลกไปภูหินร่องกล้าโดยตรง
ที่พักของอุทยานมีทั้งแบบเต็นท์และบ้านพัก ติดต่อสอบถามได้ที่ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579–7223, 579–5734

อุทยานแห่งชาตทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอวังทองอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอหล่มสัก อำเภอเมือง อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสภาพธรรมชาติ ทิวทัศน์และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแหล่ง เช่น ถ้ำ น้ำตก ทุ่งหญ้า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 1,262.55 ตารางกิโลเมตร หรือ 789,000 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งเป็น "อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง" เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2506
ลักษณะภูมิประเทศ
• พื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้มีลักษณะเป็นภูเขาคล้ายหลังเต่าสูง ๆ ต่ำ ๆ ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาหินปูนทอดเป็นแนวยาวตามทิศเหนือ - ใต้ ตอนกลางประกอบด้วย เทือกเขาสูงหลายแห่ง มีจุดสูงสุดคือ บริเวณเขาแค สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,028 เมตร ทำให้บริเวณนี้ เป็นต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยเข็กใหญ่ ห้วยเข็กน้อย ลำน้ำทุ้ม คลองชมภู และคลองวังทอง เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
• ในระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน เป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 29 องศาเซลเซียสฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม- ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,700 มิลลิเมตรต่อปี และในฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยทั่วไปอากาศจะหนาวเย็นมากเหมาะแก่การไปท่องเที่ยว
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• สภาพป่าประกอบด้วย ป่าดิบเขา ดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้สนสองใบ ไม้ก่อ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า แดงน้ำ มะค่า สัก เก็ดแดง เก็ดดำ ประดู่ เป็นต้น และทุ่งหญ้าเป็นพื้นที่โล่งกว้างใหญ่ มีสนและไม้ดอกขึ้นสลับอยู่
• สัตว์ป่าประกอบด้วยสัตว์นานาชนิด ได้แก่ ช้าง เสือ กวาง เก้ง ลิง ค่าง หมูป่า กระต่าย และนกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ในฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยทั่วไปอากาศจะหนาวเย็นมากเหมาะแก่การไปท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกแก่งโสภา เป็นน้ำตกกำเนิดจากลำห้วยเข็กใหญ่ ตั้งอยู่ห่างจากหลวงสายพิษณุโลก - หล่มสัก กิโลเมตรที่ 68 เพียง 2 กิโลเมตร เท่านั้น น้ำตกแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากมีความสวยงามตามธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก
สะพานแขวน ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณข้างทางจะตัดผ่านป่าตลอดเส้นทางมีความร่มรื่นเหมาะแก่การสัมผัสมากที่สุด
ทุ่งแสลงหลวง เป็นทุ่งหญ้าแบบสวันนา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ตามเส้นทางจะตัดผ่านป่าเบญจพรรณจะพบสัตว์ป่าออกมาหากินตามข้างทางเป็นประจำ และพันธุ์ไม้ดอกมากมายนอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าแบบ สวันนาสลับกับป่าสนสองใบอีก 2 แห่ง คือ ทุ่งหญ้าเมืองเลนและทุ่งโนนสน ตามเส้นทางเดียวกับทางเข้าทุ่งแสลงหลวง
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีบ้านพัก ร้านอาหารและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
• การเดินทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง สามารถเข้าได้หลายทาง ทางที่สะดวกที่สุดคือ จากจังหวัดพิษณุโลกใช้เส้นทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข12สายพิษณุโลก - หล่มสัก ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
การติดต่อ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
• ตู้ ปณ. 64 อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65120 โทรศัพท์ : (6612) 268019

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว จังหวัดพิษณุโลก
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแคว ป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย (กฎกระทรวงฉบับที่ 704 พ.ศ. 2517) ในท้องที่ตำบลบ้านยาง ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ป่าสงวนแห่งชาติป่าสวนเมี่ยง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 1,158 พ.ศ. 2529) ท้องที่ตำบลสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 977 พ.ศ. 2525) ในท้องที่ ตำบลหนองกระยาง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย , ตำบลบ้านกลาง ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประมาณ 287 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 179,375 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขายาวสลับซับซ้อน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง หนาแน่นด้วยพรรณไม้ที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจ นานาชนิด เช่น สัก มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะเคียน ยาง ฯลฯ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เช่น เก้ง หมูป่า ลิง ค่าง อีเห็น เม่น กระต่าย นกมากมายหลายชนิด งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด โดยเฉพาะสัตว์น้ำจำพวกปลามีมากหลายชนิด
สถานที่ท่องเที่ยว
แก่งเจ็ดแคว เป็นแนวหินอยู่ในลำน้ำแควน้อย ฤดูน้ำหลากที่กระแสน้ำไหลแรงจะมีเสียงน้ำ กระทบโขดหินดังกึกก้อง ฤดูแล้งน้ำน้อยแต่ใสจะมองเห็นแนวหินโขดหิน
แก่งลานกลอย เป็นแนวพื้นหินกว้างกวางลำน้ำแควน้อย
แก่งคันนาน้อย , แก่งโจน ซึ่งอยู่แนวเดียวกับแก่งเจ็ดแคว
แก่งบัวดำ ซึ่งเป็นแก่งที่สวยอีกแห่งหนึ่งอยู่ระหว่างป่าเขากระยาง ป่าสวนเมี่ยง
เส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาตแก่งเจ็ดแคว และบริเวณลำน้ำสามารถล่องแพได้
จุดชมวิวทิวทัศน์บนลานเขามะเขือ ซึ่งจะเห็นสภาพป่าและมีลำน้ำแควน้อยไหลผ่ากลาง รวมทั้งจะเห็นแก่งต่าง ๆ มากมายด้วย ในฤดูแล้ง
น้ำตก 9 ชั้น ในป่าเขากระยาง ซึ่งสวยงามมากในฤดูฝน
น้ำตก 5 ชั้น อยู่ห่างจากน้ำตก 9 ชั้น ประมาณ 500 เมตร สามารถทำเป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติได้อีกแห่งหนึ่ง
สิ่งอำนวยความสะดวก
• อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
• การเดินทางไปยังพื้นที่ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติสามารถเข้าได้หลายทาง โดยทางหลวง หมายเลข 1 (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์) แยกเข้าบ้านนาขามที่อำเภอวัดโบสถ์ ระยะทางประมาณ 51 กม. ทางหลวงหมายเลข 12 แยก (พิษณุโลก-หล่มสัก) แยกเข้าบ้านทรัพย์ไพวัลย์ ระยะทาง 95 กม. ส่วนระยะทางจากพิษณุโลกถึงแก่งขังดำ ซึ่งเหมาะที่จะตั้งสำนักงานที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นระยะทาง 97 กม. ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 450 กม.
การติดต่อ อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
• ต.แก่งโสภา,อ. วังทอง จ. พิษณุโลก 65220 โทรศัพท์ : 01 - 962-3578

อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลกสภาพทั่วไปเป็นป่าอุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่สวยงาม เป็นต้นว่า น้ำตกชาติตระการ หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “น้ำตกปากรอง” เพราะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปากรอง หน้าผาสูงชันที่มีสีสันผิดแปลกกันเป็นร่องรอยของศิลปะ ยุคแรกของมนุษย์ คือ รอยแกะสลักกับแผ่นดินและจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาสูง ๆ มีเนื้อที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร หรือ 339,375 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็น "อุทยานแห่งชาตินำตกชาติตระการ" เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2530
ลักษณะภูมิประเทศ
• สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำภาค แม่น้ำแควน้อย ภูเขาหินทรายโดยเฉพาะหน้าผาบริเวณ น้ำตกเพราะเกิดจากการเรียงตัวของชั้นหินประเภทหินทรายที่ทับถมกันมาเป็นเวลา นาน ดินเป็นดินทรายเพราะต้นกำเนิดของดินบริเวณนี้คือ หินทราย
ลักษณะภูมิอากาศ
• โดยทั่วไปอากาศเย็นสบายดี ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิประมาณ 25-29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์อากาศจะหนาวมากในเวลากลางคืน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเต็งรัง อยู่ในบริเวณสภาพดินค่อนข้างต่ำ เป็นดินลูกรัง พรรณไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง ประดู่ พะยอม เป็นต้น และป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ในบริเวณริม ลำธารและพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง กระบาก ก่อ มะม่วงป่า มะค่าโมง ตะแบก เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ปาล์ม หวาย และไผ่ต่าง ๆ
• สัตว์ป่าส่วนใหญ่ จะเข้าไปอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง - ภูทอง ซึ่งอยู่ใกล้กัน สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า กระจง กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ
สถานที่ท่องเที่ยว
• น้ำตกชาติตระการ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและยิ่งใหญ่
• เส้นทางศีกษาธรรมชาติ บริเวณใกล้น้ำตก
การเดินทาง
• เส้นแรกจากจังหวัดพิษณุโลก ไปตามเส้นทางหลวงพิษณุโลก-หล่มสัก เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอนครไทย และจากอำเภอนครไทย เดินทางสู่ อำเภอชาติตระการ ก่อนถึงอำเภอชาติตระการ 1 กิโลเมตร มีทางแยกเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางของอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 145 กิโลเมตร
• เส้นที่สองจากจังหวัดพิษณุโลก ไปตามถนนสายเอเซีย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ แยกเข้ากิ่งอำเภอแสงขันธ์ (จังหวัดอุตรดิตถ์) เข้าสู่อำเภอชาติตระการเลยไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไป 10 กิโลเมตร จึงเข้าที่ทำการอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก
• อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีบ้านพัก ร้านอาหารและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การติดต่อ อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ
• ต.ชาติตระการ, อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก 65170 โทรศัพท์ : (055) 237028

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้ง ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอันเป็นพื้นที่เป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาว นานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีเนื้อที่ประมาณ 307 ตารางกิโลเมตร หรือ 181,875 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูลมโลเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,664 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่

ลักษณะภูมิอากาศ
• ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา ป่าเต็งรังเป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ ส่วนป่าดิบเขาจะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ส่วนไม้พื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่าง ๆ สำหรับ ป่าสนเขาเป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่
• นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิร์น ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอก บานสะพรั่งมีสีสันงดงาม
• ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวาง เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่าง ๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น


แหล่งท่องเที่ยว
โรงเรียนการเมืองการทหาร อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็ก ๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบ ๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้
สำนักอำนาจรัฐ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิมีคุกสำหรับขังผู้กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล
หมู่บ้านมวลชน เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มมวลชนมีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่นหมู่บ้านดาวแดง หมู่บ้านดาวชัย แต่ละหมู่บ้านมีบ้านประมาณ 40-50 หลัง เรียงรายอยู่ในป่ารกริมทางที่ตัดมาจากอำเภอหล่มสักลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้หลังเล็ก ๆ ไม่ยกพื้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้บ้านแต่ละหลังจะมีหลุมหลบภัยทางอากาศอยู่ด้วย
กังหันน้ำ อยู่ ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า สร้างขึ้นโดยนักศึกษาโดยใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครก กระเดื่องตำข้าวซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.
โรงพยาบาล อยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก
ลานหินแตก อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
ลานหินปุ่ม อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผาลักษณะเป็นลานหินผุดขึ้นเป็นปุ่มไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหินทางเคมีและฟิสิกส์ ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้เนื่องจากอยู่บนหน้าผา จึงมีลมพัดเย็นสบายเหมาะแก่การนั่งพักผ่อน
ผาชูธง อยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 500 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพวิวพระอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมวิวอื่น ๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล
น้ำตกหมันแดง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 32 ชั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง หากจะเข้าไปเที่ยวให้ติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง
น้ำตกร่มเกล้าภราดร เป็นน้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก
น้ำตกศรีพัชรินทร์ ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึงและยังไม่พร้อมสำหรับการท่องเที่ยว
น้ำตกผาลาด และ น้ำตกตาดฟ้า ตั้ง อยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาด ใหญ่ที่สวยงาม

สิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านพัก ร้านอาหารและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
• จากตัวเมืองพิษณุโลก โดยสารรถยนต์ไปตามเส้นทางพิษณุโลก - หล่มสัก ระยะทางประมาณ 68 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านแยง เลี้ยวขวาเข้าสู่อำเภอนครไทย เป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร จากนั้นเดินทางต่อโดยรถสองแถว อีกประมาณ 31 กิโลเมตร จะถึงหน่วยบริการนักท่องเที่ยวและที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
• จากเมืองเพชรบูรณ์ไปอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า บ้านวังบาน บ้านโจ๊ะโหวะ จนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ระยะทางประมาณ 115 กิโลเมตร
การติดต่อ
• ขอรายละเอียดและสำรองที่พักได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม.10900 โทร. 0-2579-7223 , 0-2561-2919 หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาตภูหินร่องกล้า ตู้ ปณ. 3 อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 65120 โทร. 0-5523-3527

วนอุทยานเขาพนมทอง จังหวัดพิษณุโลก
วนอุทยานเขาพนมทอง อยู่ในท้องที่บ้านไทรงาม ตำบลท่าหมื่นราม บ้านหนองขาม ตำบลพันสาลี อำเภอวังทอง และบ้านซำรัง ตำบลชมภู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากเส้นทางสายวังทอง-เนินมะปราง (กิโลเมตร 10) ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536
ลักษณะภูมิประเทศ
• พื้นที่เป็นภูเขาสูงโดดเด่นแยกจากพื้นที่โดยรอบชัดเจน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง รอบๆเป็นหน้าผาสูงชันเกือบทุกด้าน ทำให้มองเห็นทัศนียภาพด้านล่างให้กว้างไกล พื้นที่บนเขาจะเป็นที่ราบกว้างใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 468 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
• สภาพภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมกราคม ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบมีบางส่วนอยู่ใกล้ๆบริเวณลานหินเป็นป่าเต็งรัง บริเวณเชิงเขาใกล้ๆที่ราบเป็นป่าเบญจพรรณและรอบๆเชิงเขาเป็นป่าไผ่ ซึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ ไม้ยาง แดง มะค่า ตะแบก เต็ง เหียง พลวง ตะเคียน ไผ่ชนิดต่างๆโดยเฉพาะไผ่ซางมีมาก
• สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิง อีเห็น กระรอก กระแต ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ
บ้านพัก-บริการ
• วนอุทยานเขาพนมทอง ไม่มีบ้านพักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานเขาพนมทองโดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-25614292-3 ต่อ 719 หรือ สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) โทร.(055)248408 ในวันและเวลาราชการ
แหล่งท่องเที่ยว
• วนอุทยานเขาพนมทองมีจุดเด่นที่น่าสนใจได้แก่ ถ้ำฤาษี ลำห้วย และหนองน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีน้ำซับไหลอยู่ตลอดทั้งปี มีจุดชมวิวและลานหินที่สวยงามมาก
การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดพิษณุโลกไปทางอำเภอวังทองเดินทางตามเส้นทางวังทอง-เนินมะปราง ช่วงระยะกิโลเมตรที่ 10 แยกจากเส้นใหญ่นี้เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานเขาพนมทอง ระยะทางทั้งหมด 46 กิโลเมตร และอีกเส้นทางหนึ่งเป็นถนนลูกรัง สายวัดตายม-เนินมะปราง ตัดผ่านด้านทิศใต้ของวนอุทยานเขาพนมทองโดยแยกซ้ายมือเข้าหาพื้นที่บริเวณใกล้บ้านหนองขามเพียง 2 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
• วนอุทยานเขาพนมทอง สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) ต.พันสาลี อ.วังทอง จ.พิษณุโลก

ข้อมูลกิจกรรมท่องเที่ยว : ของฝาก จังหวัดพิษณุโลก
ประเพณีการแข่งเรือยาว การ แข่งเรือยาวเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ยึดถือมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งปัจจุบัน จังหวัดพิษณุโลกจะจัดงานแข่งเรือยาวประเพณีประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี หลังจากนำผ้าห่มมาห่มองค์พระพุทธชินราช ในงานนี้จะมีการประกวดขบวนเรือ การแข่งขันเรือยาวประเพณี และมีการประดับขบวนเรือต่าง ๆ สวยงามน่าชม งานนี้จัดขึ้นบริเวณแม่น้ำน่าน หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ประเพณีปักธงนครไทย เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอำเภอนครไทย โดยมีความเชื่อว่า อำเภอนครไทยคือ เมืองบางยาง ในอดีตซึ่งพ่อขุนบางกลางหาวใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลเพื่อขับไล่ขอม ในการต่อสู้ครั้งนั้น พ่อขุนบางกลางหาวได้รับชัยชนะ จึงทรงเอาผ้าคาดเอวผูกปลายไม้ไกไว้บนยอดเขาช้างล้วง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ ชาวนครไทยจึงได้ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี โดยจะร่วมกันทอผืนธงผ้าฝ้าย และนำไปยังเขาช้างล้วงเพื่อปักธงชัย โดยมีพระสงฆ์ร่วมเจริญชัยมงคลคาถา กิจกรรมในงานได้แก่ การประกวดแห่ธง การแข่งขันผู้พิชิตเขาช้างล้วง การประกวดธิดาปักธง
งานมหกรรมอาหารและสินค้าของที่ระลึกจังหวัดพิษณุโลก จัด ขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายนและธันวาคมของทุกปี โดยเทศกาลนครพิษณุโลก ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือเขต 3 จัดรวบรวมร้านอาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึกที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงมา ร่วมออกร้านในบริเวณสวนสาธารณะริมแม่น้ำน่าน มีผู้สนใจเดินทางมาร่วมชิมอาหารพื้นเมืองและซื้อหาสินค้าที่ระลึกจำนวนมาก
กล้วยตากบางกระทุ่ม เป็นของฝากมีชื่อของพิษณุโลก กล้วยตากบางกระทุ่ม มีเนื้อนุ่ม รสชาติหอมหวานอร่อย น่ารับประทาน ซื้อหาได้ที่ศาลาขายของที่ระลึกในวัดใหญ่ หรือร้านค้าของที่ระลึกทั่วไปในตลาด
แหนมและหมูยอสุพัตรา เป็นแหนมสดและหมูยอขึ้นชื่อของพิษณุโลก สะอาด รสชาติอร่อย เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวของโรงงานสุพัตรา คนพิษณุโลกโดยแท้
หมี่ซั่ว เส้นสีขาวนวล เมื่อนำไปปรุงอาหาร โดยเฉพาะผัดหมี่ซั่ว เส้นจะเหนียวนุ่ม น่ารับประทาน มีให้เลือกซื้อหลายยี่ห้อ ซื้อหาได้ทั่วไปตามร้านค้าของที่ระลึก
น้ำปลาบางระกำ อำเภอบางระกำมีชื่อในเรื่องการทำน้ำปลามานาน โดยทำจากปลาสร้อยในลำน้ำยม แม้รสชาติไม่หอมหวานเท่ากับน้ำปลาทะเลหลายยี่ห้อ แต่รับรองคุณภาพได้ว่าเป็นน้ำปลาแท้ที่ไม่เป็นพิษภัยในการบริโภค
ไม้กวาดนาจาน อำเภอชาติตระการเป็นอำเภอที่มีประชากรน้อย แต่ชาวบ้านได้พยายามทำอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มให้กับครอบครัว บ้านนาจานเป็นหมู่บ้านที่ทำไม้กวาดจากดอกหญ้าแท้ ๆ และใช้ด้ามหวายอย่างดี ฝีมือละเอียด ราคาไม่แพง
สุนัขพันธุ์บางแก้ว ถิ่นกำเนิดอยู่ที่บ้านบางแก้ว ตำบลท่างาม อำเภอบางระกำ จากการสันนิษฐานและเล่าต่อกันมา พอสรุปได้ว่า หลวงปู่มาก สุวัณณโชโย (เมธาวี) เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ได้เลี้ยงสุนัขไว้ที่วัดหลายสิบปี ต่อมาวันหนึ่งสุนัขที่วัดผสมพันธุ์กับสุนัขป่า และได้ให้กำเนิดเป็นลูกสุนัขเป็นพันธุ์บางแก้วที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา
• เนื่องจากมีผู้นิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้กันมาขึ้น ทั้งใช้เฝ้าบ้านเฝ้าสวน หรือแม้กระทั่งเลี้ยงไว้ในเชิงพาณิชย์ และมีชมรมผู้เลี้ยงสุนัขบางแก้วหลายชมรมสำนักงานปศุสัตว์พิษณุโลกจึงได้ กำหนดมาตรฐานของสุนัขพันธุ์บางแก้วไว้เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ คุณสมบัติที่ดีของสุนัขพันธุ์นี้ โดยมีลักษณะทั่วไปเป็นสุนัขขนาดกลาง โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีสัดส่วนค่อนข้างกลมกลืน ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ แข็งแรง เคลื่อนไหวแคล่วคล่อง มีพฤติกรรมอารมณ์ที่ตื่นตัว ร่าเริง จิตประสาทมั่นคง ไม่ขลาดกลัว ซื่อสัตว์ ฉลาด หวงแหนทรัพย์สิน กล้าหาญ ฝึกง่าย เชื่อฟังคำสั่ง สามารถฝึกใช้งานได้ดี นอกจากนี้มีผู้เลี้ยงสุนัขบางแก้วบางท่านให้คุณสมบัติที่ดีเพิ่มเติม เช่น หัวกะโหลกควรใหญ่ ปากแหลม หูเรียวเล็กเป็นสามเหลี่ยม หูไม่ตก แผงขนบริเวณคอต่อกับหลังจะเป็นแผงขนยาวเรียบ ไม่หยักศกมาก ลำตัวได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ความยาวลำตัวจากขาหน้าถึงขาหลัง ยาวประมาณเท่ากับความสูงของลำตัว) ขาเหมือนขาสิงห์อวบใหญ่ได้สัดส่วน หางฟูเป็นพวง หางไม่บิดเอียงด้านใดด้านหนึ่งเมื่อหางไม่กระดิก พฤติกรรมนิ่ง ดุ รักเจ้าของ หากสุนัขตัวใดมีลักษณะครบถ้วนดังนี้ จะมีราคาสูง
ไก่ชนพระนเรศวร หรือ ไก่เจ้าเลี้ยง เป็นไก่อูพันธุ์เหลือง หางขาว เป็นไก่มีสกุล มีคุณสมบัติทรหด แข็งแรง ชนได้ทนทานในการต่อสู้ และมีความเชื่อว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนำไปตีกับ ไก่ของพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี ปัจจุบันมีการอนุรักษ์เพาะพันธุ์จำหน่ายกันแพร่หลาย



หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก

259-001

ททท.สำนักงานภาคเหนือเขต 3 จ.พิษณุโลก

252-742-3

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตำรวจทางหลวง พิษณุโลก

259-503

ตู้ยามสุโขทัย

612-993

ตู้ยามอุตรดิตถ์

412-193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง

258-777 , 240-199

สถานีรถไฟ

258-005

รพ.พุทธชินราช

258-031

รพ.นครไทย

389-015

รพ.บางระกำ

371-168

รพ.บางกระทุ่ม

391-016-2

รพ.พรหมพิราม

369-034

รพ.วัดโบสถ์

361-079

รพ.วังทอง

311-017

รพ.เนินมะปราง

243-099

รพ.ชาติตระการ

381-020-1

รพ.อินเตอร์เวชการ

217-800-1


0 ความคิดเห็น: