23:03

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

" หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง "

ข้อมูลทั่วไป :

แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ 942 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 12,681 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอแม่สะเรียง อำเภอขุนยวม อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอสบเมย และกิ่งอำเภอปางมะผ้า

แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า “เมืองสามหมอก” เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์ จนนักท่องเที่ยวเล่าขานกันอยู่เสมอว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของ เมืองไทย

จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมาย ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ และโบราณสถาน นอกจากนี้ ยังมีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อันควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เห็นได้จากบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว หรือสองชั้น แบบโบราณ เรียกว่า บ้านแบบไทยใหญ่ สร้างด้วยไม้มีใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยใบตอลตึง มีการแต่งกายแบบพื้นเมือง ซึ่งเรียกกันว่า ชุดไต คือผู้ชายนุ่งกางเกงคล้ายกางเกงจีน หรือกางเกงชาวเล สวมเสื้อคอกลม แขนยาวป้ายแบบจีน ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงยาว สวมเสื้อทรงกระบอกตัวสั้นเพียงเอว ชาวแม่ฮ่องสอนยังใช้ภาษาท้องถิ่นและรับประทานอาหารพื้นเมือง สิ่งเหล่านี้ นับว่าเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยี่ยมชมจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประวัติและความเป็นมา :

เมื่อปี พ.ศ. 2374 พระเจ้ามโหตรประเทศ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้ เจ้าแก้วเมืองมา เป็นแม่กอง นำไพร่พลช้างต่อและหมอควาญ ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลข้ามภูเขา มาทางตะวันตกของเชียงใหม่ ซึ่งมีช้างป่าชุกชุม โดยมอบหน้าที่ให้ พะกาหม่อง เป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อคล้องช้างได้เป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงพากันเดินทางต่อไปถึงชุมชนบ้านป่าแห่งหนึ่ง มีทำเลดีมีร่องธารน้ำและที่ราบ เหมาะแก่การฝึกช้างป่า จึงหยุดไพร่พลตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "แม่ร่องสอน" หมายถึงที่มีร่องน้ำฝึกช้าง ต่อมา ได้เพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน"

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2399 มีชาวไทยใหญ่ อพยพมาหลบภัยสงครามอยู่ที่แม่ร่องสอนเป็นจำนนมาก โดยมี เจ้าฟ้าโกหล่าน และชานกะเล เป็นหัวหน้า เมื่อมาอยู่ที่นี่ ชานกำเล ได้ช่วยหน่วยงานต่างๆ จนเป็นที่โปรดปรานของพะกาหม่องถึงกับยกลูกสาวชื่อนางไส ให้เป็นภรรยา ต่อมาชานกะเล อพยพครอบครัวลงใต้มาอยู่ที่เมืองกุ๋นลม หรือขุนยวมในปัจจุบัน ได้เป็นเข้าเมืองกุ๋นลมคนแรก ต่อมานางไสถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่าน ยกหลานสาวชื่อเจ้านางเมี๊ยะ ให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นลม เจริญมั่งคั่งส่งส่วยตอไม้ให้ได้มากมาย จนถึง พ.ศ. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ จึงแต่งตั้งชานกะเลเป็น พญาสิงหนาถราชา แล้วสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก

จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงถือเอาต้นกำเนิดเมือง คือ ร่องน้ำสอนช้าง และช้างตัวเดียวเล่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นที่รวมของชนเผ่าไทยและชาวไทยภูเขาหลายเผ่า มาแต่โบราณ ผู้คนเหล่านี้ยังคงดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมไว้ เฉกเช่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ประกอบด้วย ไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลัวะ ลีซอ จีนฮ่อ และกะเหรี่ยง

อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉาน แห่งสหภาพพม่า
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า

ที่เที่ยว

อ.เมือง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง

บ้านยอดดอย

บ้านยอดดอย

ผาเสื่อ

วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ

ผาป่อง

บ่อน้ำร้อนผาป่อง

พระตำหนักปางตอง

พระตำหนักปางตอง (ปางอุ๋ง)

วัดจองคำ

วัดจองคำ

วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง

วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง

วัดพระธาตุดอยกองมู

พระธาตุดอยกองมู

อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชา

อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชา

บ้านน้ำเพียงดิน

บ้านน้ำเพียงดิน

น้ำตกซู่ซ่า

น้ำตกซู่ซ่า

กระเหรี่ยงคอยาว

กระเหรี่ยงคอยาว

เขื่อนผลิตไฟฟ้า พลังน้ำผาบ่อง

ขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำผาป่อง

วนอุทยานถ้ำปลา

วนอุทยานถ้ำปลา


อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชา

http://www.mhs-road.com/picture/praya.jpg http://e-thailander.com/images/doigongmu.jpg http://www.lifeearth.com/images/1193308028/1195713877.jpg
ตั้งอยู่ต้นถนนขุนลุมประพาส ประวัติของพระยาสิงหนาทราชา เดิมชื่อ ชานกะเล เป็นชาวไทยใหญ่ ได้รวบรวมผู้คนตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า “บ้านขุนยวม” ต่อมาได้ยกขึ้นเป็นเมือง จวบจนปี พ.ศ. 2417 จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองแม่ฮ่องสอน และพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าครองนครเชียงใหม่ ได้ยกบรรดาศักดิ์ชานกะเล เป็นพระยาสิงหนาทราชาและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรกจากบริเวณ อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชานี้ เมื่อมองตรงขึ้นไปจะเห็นองค์พระธาตุดอยกองมูอยู่บนยอดเขา

วัดพระธาตุดอยกองมู
ตั้งอยู่บนดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน เดินทางโดยแยกจากทางหลวงสาย 108 ตรงบริเวณอนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชาขึ้นไปทางซ้ายมือ เป็นทางราดยางขึ้นภูเขาไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัด

วัดนี้เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วยพระธาตุเจดีย์ที่สวยงาม 2 องค์ พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย “จองต่องสู่” เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย “พระยาสิงหนาทราชา” เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก จากวัดพระธาตุดอยกองมูนี้สามารถมองเห็นภูมิประเทศและสภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ได้อย่างชัดเจนและสวยงามมาก วัดนี้มีงานเทศกาลประจำปีหลายงาน เช่น ในวันปีใหม่ วันสงกรานต์ โดยเฉพาะในวันออกพรรษาจะมีการตักบาตรดาวดึงส์ หรือตักบาตรเทโวด้วย

วัดพระนอน
ตั้งอยู่เชิงดอยกองมู เป็นที่ประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่ สร้างด้วยศิลปะไทยใหญ่ พ.ศ. 2418 และเป็นพระนอนองค์ขนาดยาว 12 เมตร ซึ่งมีพุทธลักษณะงดงามมาก ตามประวัติเล่าว่าพระนางเมียะ ภริยาของพระยาสิงหนาทราชาเป็นผู้สร้างขึ้น ภายในบริเวณมีรูปปั้นสิงโตขนาดใหญ่ 2 ตัว สร้างโดยพระยาสิงหนาทราชา และพระนางเมียะ อยู่เคียงข้างระหว่างทางที่จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุกองมู เป็นสิงโตที่มีลักษณะงดงามและสมบูรณ์มาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีการสอนวิปัสนาอีกด้วย

วัดก้ำก่อ
(ภาษาไตแปลว่า ดอกบุนนาค) ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดพระนอน เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่งดงามไม่แพ้วัดอื่น โดยเฉพาะลักษณะพิเศษที่มีหลังคาคลุมทางเดิน ตั้งแต่ซุ้มทางเข้าไปสู่ศาลา นอกจากนี้ยังมีตำราภาษาไทยใหญ่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยใหญ่กับเจ้าอโนรธา มังช่อ ปัจจุบันได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยพระมหาบุญรักษ์ สุปัญโญ ท่านเจ้าอาวาสวัดนี้

วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนสีหนาทบำรุง ตำบลจองคำ (อยู่ติดกับตลาดเช้าบริเวณสี่แยกไฟแดง) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2406 เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประจำเมืองที่งดงามมาก มีประวัติว่าหล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” ซึ่งเป็นเจ้าพาราละแข่งองค์จริง ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า โดยลุงจองโพหย่า เดินทางไปนิมนต์มา พระเจ้าพาราละแข่งองค์นี้สร้างเป็นท่อนๆ ทั้งหมด 9 ท่อน ล่องมาตามแม่น้ำปาย แล้วนำมาประกอบที่วัดพระนอนและนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียง หรือวัดกลางเมือง ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

ปัจจุบัน วิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าพาราละแข่ง สร้างใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยคงโครงสร้างของวิหารตามรูปแบบเดิมไว้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

หนองจองคำ
เป็นสวนสาธารณะตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นหนองน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองและนักท่องเที่ยว และใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีที่สำคัญๆ ของจังหวัดด้วย

วัดจองคำ
อยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองจองคำ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 โดยช่างฝีมือชาวไทยใหญ่ มีศิลปะแบบต่างๆ ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ที่แปลกและงดงามมาก หลังคาวัดเป็นรูปปราสาท เพราะมีคติว่าปราสาทเป็นของสูง ผู้ที่ประทับอยู่ในปราสาทควรจะเป็นพระมหากษัตริย์หรือตัวแทนพระศาสนา จึงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต มีขนาดหน้าตักกว้าง 4.85 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 โดยช่างฝีมือชาวพม่า และมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งจำลองมาจากพระศรีศากยมุนีที่วิหารวัดสุทัศน์ ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานของวัด เหตุที่เรียกชื่อวัดจองคำ เนื่องจากเสาวัดประดับด้วยทองคำเปลว

วัดจองกลาง
ตั้งอยู่เคียงข้างกับวัดจองคำ ภายในวิหารมีแท่นบูชาตั้งพระพุทธสิหิงค์จำลอง ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ มีสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ตุ๊กตาแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปคนและสัตว์เกี่ยวกับพระเวสสันดรชาดก ฝีมือแกะสลักของช่างชาวพม่า ซึ่งนำมาจากพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2400 นอกจากนี้ทางด้านจิตรกรรมยังมีภาพวาดบนแผ่นกระจกเรื่องพระเวสสันดรชาดกและ ภาพประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ ตลอดจนภาพแสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นหลายภาพ มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาพม่าและมีบันทึกบอกไว้ว่าเป็นฝีมือของช่างไทยใหญ่ จากมัณฑะเลย์

เรือนประทับแรมโป่งแดง
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ภายในศูนย์โครงการพัฒนาตามพระราชดำริท่าโป่งแดง ซึ่งทำการทดลองเพาะปลูกพืชผลไม้ต่างๆ และเลี้ยงหม่อนไหม แยกไปทางซ้ายมือประมาณ 2 กิโลเมตร มีเรือนประทับแรมสำหรับเสด็จประทับและพักผ่อนพระอิริยาบถ ตัวเรือนประทับแรมตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ ด้านหน้ามีแม่น้ำปายไหลผ่านรอบๆ เรือนประทับมีไม้ดอกไม้ประดับปลูกไว้อย่างสวยงาม บรรยากาศเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

บ่อน้ำร้อนผาบ่อง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลผาบ่อง (เส้นทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 256) อยู่ห่างจากตัวเมือง 11 กิโลเมตร มีบริเวณพื้นที่ 8 ไร่ ได้จัดสถานที่ไว้อย่างสวยงาม และมีห้องอาบน้ำไว้บริการ และในบริเวณใกล้เคียงกันมีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย

เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำผาบ่อง
อยู่ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นเขื่อนกั้นลำน้ำแม่ละมาด และผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน บริเวณตัวเขื่อนมีศาลาพักร้อนเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจและอากาศสบายมีลมพัด ตลอดเวลา

บ้านน้ำเพียงดิน
อยู่ในเขตตำบลผาบ่อง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือตามลำน้ำปาย ผ่านบ้านห้วยเดื่อไปจนถึงบ้านน้ำเพียงดินโดยเรือหางยาว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือไปตามลำน้ำจะผ่านระลอกน้ำที่ลดระดับลดหลั่นกันไป คล้ายธารน้ำตก นับเป็นทัศนียภาพที่งดงามแปลกตา จากบ้านน้ำเพียงดินนี้ใช้เวลาล่องเรือไม่นานก็เข้าเขตสหภาพพม่าและถึงบริเวณ ที่เรียกกันว่า “ผาห่มน้ำ” ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปกันเสมอ

บ้านยอดดอย
( หมู่บ้านแม้วไมโครเวฟ ) เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ที่อาศัยอยู่บนดอยสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายและการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด ของพวกเขา เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากเดินทางไปสัมผัส โดยเดินทางจากแม่ฮ่องสอนไปหมู่บ้านป่าลาน 32 กม. ( เส้นทางแม่ฮ่องสอน - ขุนยวม ) และเลี้ยวซ้ายขึ้นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นทางสูงชันอีกราว 8 กม.

น้ำตกซู่ซ่า
อยู่ในเขตบ้านแม่สุยะ ตำบลห้วยผา เป็นน้ำตกที่ทะลุจากซอกเขาเป็นทางยาวประมาณ 100 เมตร ขนานไปกับลำน้ำ

วนอุทยานถ้ำปลา
ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่ฮ่องสอน-ปาย) เส้นทางราดยางเรียบร้อย สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาตัวโตๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกชื่อว่าปลามุงหรือปลาคัง หรือปลาพลวง เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ในวงศ์เดียวกับปลาคาร์ฟ และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป ปัจจุบันบริเวณอุทยานถ้ำปลาได้รับการปรับปรุง เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวเมืองและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม

วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ
ตั้งอยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ตามเส้นทางสู่อำเภอปาย (เส้นทาง 1095) เป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร แยกซ้ายบริเวณบ้านรักไทยเป็นทางราดยางเข้าไปอีก 12 กิโลเมตร และเข้าทางลูกรังไปอีก 8 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังมีอีกเส้นทางหนึ่ง เป็นเส้นทางเข้าหมู่บ้านหมอกจำแป่ซึ่งเป็นเส้นทางเก่า ทางเข้ายังไม่สะดวก เป็นถนนลูกรังตลอดทั้งเส้นทาง เส้นทางนี้แยกมาจากทางหลวงหมายเลข 1095 แต่จะถึงก่อนเส้นทางแรกโดยห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 14 กิโลเมตร

น้ำตกแห่งนี้ไหลลงมาจากน้ำตกแม่สะงาในพม่า มี 6 ชั้น ชั้นบนสุดอยู่ในป่าลึกเข้าไป ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง คือน้ำตกแม่สะงากลาง ถัดออกมาเป็นชั้นผายาว ผาลาด ผาเสื่อ ผาตั้ง และผาอ้อม ชั้นที่คนนิยมเที่ยวมากที่สุดคือผาเสื่อ ซึ่งมีน้ำตกลงมากระทบแผ่นหินกระเด็นเป็นฝอย และสองข้างน้ำตกมีแผ่นหินลักษณะคล้ายเสื่อปูลาดอยู่จำนวนมาก น้ำตกมีขนาดใหญ่ และน้ำมากตลอดปี น้ำมากที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน

พระตำหนักปางตอง
อยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ สามารถเดินทางไปโดยใช้เส้นทางเดียวกับทางเข้าวนอุทยานผาเสื่อ แต่ต้องเดินทางต่อไปอีก 5 กิโลเมตร ตัวเรือนประทับแรมตั้งอยู่บนยอดเขาสูงที่บ้านปางตอง ในโครงการพัฒนาพื้นที่สูงปางตอง มีทิวทัศน์บริเวณสองข้างทางที่สวยงาม ทางรถยนต์เข้าถึงและสามารถเดินทางไปสู่หมู่บ้านแม้วนาป่าแปก ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าแม้วที่สุขสงบและน่ารักมากเลย ต่อจากหมู่บ้านแม้วนี้ก็จะสามารถไปถึงหมู่บ้านแม่ออ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายแดนไทย-พม่า และมีกองกำลังกองพล 93 ตั้งอยู่เป็นบริเวณที่สูง อากาศเย็น และมีทิวทัศน์ที่น่าชมยิ่ง

อ.ปาย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปาย

โป่งน้ำร้อนเมืองแปง

โป่งน้ำร้อนเมืองแปง

โป่งน้ำร้อนท่าปาย

โป่งน้ำร้อนท่าปาย

กองแลน

กองแลน

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น

วัดน้ำฮู

วัดน้ำฮู

วัดกลาง

วัดกลาง

น้ำตกหมอแปง

น้ำตกหมอแปง

แม่น้ำปาย

แม่น้ำปาย


วัดกลาง
อยู่ในตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ

วัดน้ำฮู
อยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเวียงใต้ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานของเจ้าพ่ออุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 28 นิ้ว สูง 30 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนเปิดปิดได้และมีน้ำขังอยู่ เป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม อายุประมาณ 500 ปี เมื่อ พ.ศ. 2515 มีพระธุดงค์จากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มานมัสการและสงสัยว่าข้างในพระจะมีน้ำ จึงเปิดดูพบว่ามีน้ำจริงๆ ข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีผู้คนหลังไหลมาขอน้ำไปสักการะ พอน้ำในพระเศียรหมดก็จะมีไหลออกมาอีกในลักษณะซึมออกมาตลอดเวลา

น้ำตกหมอแปง
อยู่หมู่ที่ 4 บ้านหมอแปง ตำบลแม่นาเติง เดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวก และมีชาวเขาเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง บริเวณรอบน้ำตกมีป่ายางร่มรื่น อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ประมาณ 8-9 กิโลเมตร (สายปาย-แม่ฮ่องสอน) ใกล้กับน้ำตกหมอแปง เป็นน้ำตกม่วงสร้อย แต่ทางเข้ายังไม่สะดวก

กองแลน
อยู่ในเขตบ้านร้องแหย่ง ห่างจากอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้โดยทางหลวงสาย 1095 (ปาย-แม่มาลัย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 88 อยู่ทางด้านขวามือ และต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ลักษณะเป็นผืนดินที่ถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกคล้ายหน้าผาติดต่อกันเป็นบริเวณ กว้างประมาณ 5 ไร่เศษ (คล้ายกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่) สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล

โป่งน้ำร้อนเมืองแปง
อยู่ในเขตบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 28 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) และแยกเข้าสาย 1265 ด้านขวามือตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 85-86 ใกล้กับหน่วยพิทักษ์และรักษาป่าแม่ปิง เป็นทางลูกรัง อุณหภูมิของน้ำร้อนสูงถึง 95 องศาเซลเซียส และพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ

หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ปิง
อยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลแม่ฮี้ ชาวบ้านเผ่านี้มีภาษาเขียนของตนเองและมีความเจริญด้านอารยธรรมสูง การคมนาคมสามารถเดินทางได้โดยรถยนต์

เจดีย์พระธาตุแม่เย็น
อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายแม่ฮ่องสอน-ปาย เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏ ตั้งอยู่บนเนินสูงและเมื่อขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกตของผู้โดยสารเครื่องบินว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.5 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อนมีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย

โป่งน้ำร้อนท่าปาย
อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปายถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 87-88 แยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางราดยางตลอดทั้งสาย สภาพของโป่งน้ำร้อนเป็นบ่อน้ำร้อน น้ำกำลังเดือดเป็นฟองๆ และมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อยๆ ทั่วบริเวณกว้าง มีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นมีลักษณะเป็นน้ำผุดบางจุด ความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส และรอบๆ โป่งร้อนเป็นไม้สักที่สมบูรณ์มาก ภายในบริเวณอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ แต่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น

น้ำตกแม่เย็น
อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดสูง 3 ชั้น และสวยงามที่สุดของอำเภอ การคมนาคมโดยการเดินเท้าใช้เวลา 3-5 ชั่วโมง

น้ำพุร้อนเมืองแปง
อยู่บริเวณบ้านแมืองแปง ตำบลเมืองแปง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปายประมาณ 29 กิโลเมตร อุณหภูมิร้อนประมาณ 95 องศาเซลเซียส และเดือดพลุ่งขึ้นเป็นระยะๆ

ห้วยจอกหลวง
เป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยจอกหลวงอยู่บริเวณป่าแม่ยะ ตำบลแม่ฮี้ มีการปลูกไม้ดอกไม้หนาวหลายชนิดและออกดอกในฤดูหนาวตั้งอยู่บนภูเขาและมี ทิวทัศน์สวยงามมาก อยู่ห่างจากอำเภอปายประมาณ 43 กิโลเมตร ฤดูที่เหมาะสมแก่การท่องเที่ยวคือ ฤดูหนาว

อ.ขุนยวม
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอขุนยวม

บ่อน้ำร้อนหนองแห้ง

บ่อน้ำร้อนหนองแห้ง

ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ

ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ

โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า-รักษาพันธุ์ไม้

โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า-รักษาพันธุ์ไม้

ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอำเภอขุนยวม

ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอำเภอขุนยวม

วัดต่อแพ

วัดต่อแพ

ยอดดอยปุย

ยอดดอยปุย

น้ำตกแม่สุรินทร

น้ำตกแม่สุรินทร์


วัดต่อแพ
ตั้งอยู่ที่บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา ห่างจากตลาดขุนยวมประมาณ 7 กิโลเมตร โดยก่อนที่จะถึงตลาดมีทางแยกจากทางสาย 108 ไปประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง เป็นวัดเก่าแก่อยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำยวม มีวิหารขนาดใหญ่แบบพม่า สร้างอย่างวิจิตรสวยงามมาก นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงมอญอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าบริเวณนี้แต่เดิมเคยเป็นที่พัก และรวมไม้ซุง นักต่อแพเหล่านี้ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมาแล้วให้ชื่อว่า “วัดต่อแพ”

อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง มีเนื้อที่ 247,875 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2524

ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม ตามเส้นทางหมายเลข 108 (แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม) ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายตามทางหลวงสาย 1263 เข้าสู่ทุ่งบัวตองอีก 26 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางมีพื้นที่ครอบคลุมเป็นเขากว้างประมาณ 1 พันไร่ อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ 5 กองอนุรักษ์ต้นน้ำ ดอกบัวตองที่นี่เมื่อบานพร้อมๆ กันในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะเหลืองอร่ามปกคลุมทั่วทั้งภูเขา มีความสวยงามมาก

นอกจากนี้ ยังมีบริการให้เช่าเต็นท์ค้างแรมบนดอย ซึ่งจะมีสถานที่สำหรับตั้งเต็นท์ได้ประมาณ 100 หลัง ผู้สนใจสามารถติดต่อได้โดยตรงในวันที่ต้องการพักบริเวณหน่วยทำการบนทุ่งบัว ตอง หรือหากต้องการจองล่วงหน้าให้ติดต่อกับทางอำเภอขุนยวมโดยตรง และบริเวณด้านหลังจุดชมวิว ยังมีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย

น้ำตกแม่อูคอ
ตั้งอยู่บริเวณดอยแม่อูคอ ก่อนถึงทุ่งบัวตองเล็กน้อยมีทางแยกเข้าสู่น้ำตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียว สูงประมาณ 30 เมตร ตกจากร่องหินขนาดใหญ่ ตอนกลางของสายน้ำมีร่องหินกว้าง สามารถเดินเข้าไปชมม่านน้ำตกได้ เพิ่งค้นพบเมื่อปี 2530

บ่อน้ำร้อนหนองแห้ง
อยู่เขตบ้านหนองแห้ง ตำบลเมืองปอน ห่างจากอำเภอประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 108 (ขุนยวม-แม่ลาน้อย) แยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 174 ข้างโรงเรียนบ้านหนองแห้ง ตรงเข้าไป 1 กิโลเมตร (เป็นทางลูกรัง)

ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอำเภอขุนยวม
ตั้งอยู่ที่บริเวณตรงข้ามวัดม่วยตามทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 200 เป็นศูนย์รวมศิลปหัตถกรรมของชาวไทยใหญ่และชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ของทหารญี่ปุ่นที่เดินทัพเข้ามาในพื้นที่อำเภอขุนยวมสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้มีการจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.

อ.แม่ลาน้อย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอแม่ลาน้อย

น้ำตกดาวดึงส์

น้ำตกดาวดึงส์


บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม

บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม

ถ้ำแม่ฮุ

ถ้ำแม่ฮุ


หมู่บ้าละว้า (ลัวะ)

หมู่บ้านละว้า


บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ

บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ

น้ำตกดาวดึงส์
อยู่เขตบ้านทุ่งรวงทอง ตำบลแม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่ง

หมู่บ้านละว้า (ลัวะ) แม่ละอูบ
ตำบลห้วยห้อม เป็นหมู่บ้านเขตติดต่อระหว่างอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง มีลักษณะวัฒนธรรม การสร้างที่อยู่อาศัย การแต่งกายและอุปนิสัยแตกต่างไปจากชาวไทยภูเขาเผ่าอื่นๆ และโดยที่ตั้งอยู่บนยอดดอยสูง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม การคมนาคมห่างจากอำเภอ 32 กิโลเมตร และสะดวก จึงเป็นที่แปลกตาแปลกใจแก่นักท่องเที่ยวมาก

บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม
ห่างจากบ้านละอูบ ประมาณ 4 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย 1266 ราษฎรเคร่งศาสนาและสุภาพอ่อนโยน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งศูนย์พัฒนาชาวเขา ราษฎรจึงได้รับการพัฒนาให้สามารถทำผ้าจากขนแกะ การปลูกไม้ผลเมืองหนาวอื่นๆ จึงเป็นหมู่บ้านตัวอย่างของชาวเขาทั่วไปได้เป็นอย่างดี

บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ
อยู่ในเขตตำบลท่าผาปุ้ม ห่างจากอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสาย 1266 เป็นทางขึ้นเขา บ้านเรือนแถบเชิงเขาดูแปลกตา ในฤดูแล้งจะมองเห็นภาพดอกไม้ป่า ใบไม้เป็นสีส้มสวยงามมาก มีแหล่งน้ำตกใกล้หมู่บ้าน ใช้เป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี ราษฎรหมู่บ้านนี้ยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม

ถ้ำแม่ฮุ
อยู่เขตบ้านป่าหมาก ตำบลแม่ลาน้อย ห่างจากอำเภอไปทางทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร โดยมีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 108 ไปตามทางเข้าเหมืองขุดแร่ ถ้ำนี้ลึกประมาณ 15 เมตร ภายในประกอบด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ผู้ที่จะเข้าชมถ้ำต้องนำไฟฉายไปเอง

อ.แม่สะเรียง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอแม่สะเรียง

อุทยานแห่งบชาติสาละวิน

อุทยานแห่งชาติสาละวิน

ทุ่งบัวตองดอยแม่เหาะ

ทุ่งบัวตองดอยแม่เหาะ

พระธาตุจอมมอญ

พระธาตุจอมมอญ

วัดแสนทอง

วัดแสนทอง

วัดอุทยานรมณ์

วัดจองสูงหรือวัดอุทยารามณ์

วัดกิตติวงศ์

วัดกิตติวงศ์

หมู่บ้านกะเหรี่ยงพะมะลอ

บ้านกะเหรียงพะมะล

ถ้ำเง้า

ถ้ำเง้า


วัดกิตติวงศ์
ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาลแม่สะเรียง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระครูกิตตินำมาจากวัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ และยังมีพระคัมภีร์โบราณค้นพบในถ้ำผาแดง ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เมื่อ พ.ศ. 2511 จารึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของล้านนากับพม่า

วัดจองสูง หรือวัดอุทยารมณ์
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่สะเรียง เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2381 เดิมเป็นสำนักสงฆ์มีเจ้าอาวาสเป็นไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2431 ถูกไฟไหม้ และได้บูรณะขึ้นใหม่เป็นวัดจองสูงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 ภายในวัดมีเจดีย์ทรงมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี อยู่ 3 องค์ เจดีย์องค์ด้านตะวันตกสร้างเมื่อต้นรัชกาลที่ 6 เจดีย์องค์กลางสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏ เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุ ส่วนเจดีย์องค์ด้านตะวันออกเป็นเจดีย์ 7 ยอด

วัดศรีบุญเรือง
ตั้งอยู่ใกล้กับวัดจองสูงเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีสิ่งน่าสนใจได้แก่โบสถ์รูปทรงพม่าซึ่งฉลุลวดลายงดงาม

วัดแสนทอง
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่สะเรียง มีสิ่งที่สำคัญคือพระแสนทองพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธ์ อันเป็นศิลปะสมัยเชียงแสนที่เก่าแก่และงดงามมากองค์หนึ่ง และที่วัดแสนทองนี้ยังประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ชาวบ้านเรียกว่า “พระเพชร” หรือ “พระสิงห์หนึ่ง” อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองแต่อดีต ผู้สนใจสามารถติดต่อกับพระภิกษุภายในวัดเพื่อขอชมได้

วัดจอมทอง
ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียง 1 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแม่สะเรียง-สบเมย แยกทางซ้ายมือบริเวณสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นทางลูกรังขึ้นภูเขา

วัดนี้มีจุดเด่นที่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขาและ บนลานพระพุทธรูปนี้ สามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอแม่สะเรียงได้ โดยเฉพาะบรรยากาศยามพระอาทิตย์ตกในช่วงเย็น

บ้านกะเหรี่ยงพะมะลอ
เป็นบ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อยู่ในเขตตำบลบ้านกาด ห่างจากตลาดแม่สะเรียงประมาณ 3 กิโลเมตร ชาวบ้านมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่น่าสนใจ มีการทอผ้าและทำสิ่งประดิษฐ์ของเผ่าไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย

พระธาตุจอมมอญ
อยู่ที่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านกาด เป็นปูชนียสถานที่มีลักษณะเป็นเจดีย์เก่าแก่ ถือกันว่าเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และมีงานฉลองในเดือนกรกฎาคมของทุกปี

ถ้ำเง้า
อยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกาด ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ ระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร

ทุ่งบัวตอง ดอยแม่เหาะ
ห่างจากอำเภอแม่สะเรียงประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 84 เขตตำบลแม่เหาะ เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ริมทางในช่วงนี้มีภูมิประเทศที่งดงามของภูเขาและทุ่งดอกบัวตองที่ตระการตา และเบ่งบานสะพรั่งในเดือนตุลาคม-ธันวาคม

อุทยานแห่งชาติสาละวิน
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ยวมฝั่งขวาและป่าสาละวิน ในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาด ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย มีพื้นที่ประมาณ 721.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 450,950 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537

การเดินทาง มีรถโดยสารสายอำเภอแม่สะเรียง-บ้านแม่สามแลบ บริการหรือสามารถเช่ารถจากอำเภอแม่สะเรียงไปยังแม่สามแลบ ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร จากนั้นจะต้องล่องเรือจากบ้านแม่สามแลบไปตามแม่น้ำสาละวิน ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง โดยจะมีเรือของชาวบ้านมาบริการ คิดในราคาเหมาลำ จากที่ทำการอุทยานฯ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของลำน้ำสาละวินและฝั่งพม่าได้กว้างไกล และในบริเวณด้านหน้าของที่ทำการอุทยานฯ ยังมีหาดทรายสีขาวละเอียดเหมาะแก่การตั้งเต็นท์พักแรม ถัดไปทางด้านทิศเหนือจะเป็นบ้านท่าตาฝั่ง ซึ่งมีหาดทรายสวยอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า “หาดแท่นแก้ว” นอกเหนือจากทัศนียภาพที่งดงามของริมฝั่งน้ำแล้ว ยังมีทรัพยากรที่สำคัญและมีค่า อันได้แก่ พันธุ์ไม้ป่า เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็ง ซึ่งมีอยู่มากมายในบริเวณนี้ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้น

ขณะนี้ทางอุทยานฯ ยังไม่มีบริการบ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะตั้งเต็นท์พักแรม สามารถติดต่อได้ที่อุทยานฯ โดยตรง หรือติดต่อล่วงหน้าไปที่อุทยานแห่งชาติสาละวิน ตู้ ปณ. 6 ปท.แม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110

อ.สบเมย
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสบเมย

หมู่บ้านสวยงามบ้านแม่ลามาหลวง

หมู่บ้านสวยงาม

บ้านแม่ลามาหลวง

แม่สามแลบ

แม่สามแลบ

น้ำตกแม่ริด

น้ำตกแม่ริด

สถานศึกษาธรรมชาติ และสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด

สถานศึกษาธรรมชาติ

และสัตว์ป่าถ้ำ

ล่องแก่งแม่เงา

ล่องแก่งแม่เงา


แม่สามแลบ
แม่สามแลบเป็นชื่อของหมู่บ้าน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าแม่น้ำคง อยู่ในเขตตำบลสบเมย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 62 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 1194 เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปล่องเรือตามลำน้ำสาละวิน ซึ่งมีลักษณะเป็นหุบเขาสูงชัน ฝั่งตรงกันข้ามเป็นเขตสหภาพพม่า บางช่วงมีหาดทรายขาวสะอาด ช่วงที่นิยมล่องคือช่วงแม่สามแลบถึงสบเมย ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำเมยไหลมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน และช่วงแม่สามแลบถึงอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

หมู่บ้านสวยงามบ้านแม่ลามาหลวง
อยู่เขตตำบลสบเมย เป็นหมู่บ้านชาวเขาที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งราษฎรอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ระยะทางจากที่ตั้งอำเภอสบเมยถึงหมู่บ้านประมาณ 32 กิโลเมตร เป็นทางรถยนต์ 27 กิโลเมตร และเดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร

ล่องแก่งแม่เงา
บ้านแม่เงา ตำบลแม่สวด เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่เหมาะสำหรับการล่องแพเพื่อผจญภัยอย่างแท้จริง สภาพสองฝั่งยังคงเป็นธรรมชาติที่คงสภาพดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังเหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่ชอบกีฬาตกปลาด้วย ระยะทางจากตัวอำเภอทั้งทางรถยนต์รวมกับทางน้ำถึงบ้านสบเมย-อุมโล๊ะ ประมาณ 35 กิโลเมตร

น้ำตกแม่ริด
อยู่ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลกองก๋อย เป็นน้ำตกขนาดกลางที่ยังคงสภาพธรรมชาติไว้ครบถ้วน มีความสวยงามพอสมควร และมีน้ำไหลตลอดปี ระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร โดยทางรถยนต์ และเดินเท้าประมาณ 3 กิโลเมตร

กิ่ง อ.ปางมะผ้า

และสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด

สถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำ

สถานศึกษาธรรมชาติ และสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด
ตั้งอยู่ที่ตำบลถ้ำลอด ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงสาย 1095 (ปางมะผ้า-ปาย) ประมาณหลักกิโลเมตร 138-139 มีทางแยกซ้ายจากกิ่งอำเภอปางมะผ้าเข้าไปตามทางบ้านถ้ำลอดอีก 9 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังผ่านป่า ทางบางช่วงชำรุดและรถใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่น้ำปาย มีสถานที่น่าสนใจ คือ “ถ้ำลอด” ซึ่งมีลำห้วยชื่อ น้ำลาง ไหลลอดภูเขาไปทะลุออกอีกด้านหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม เป็นถ้ำเก่าแก่ จากการพบเครื่องมือเครื่องใช้โบราณในถ้ำ สันนิษฐานได้ว่ามีอายุประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ภายในถ้ำความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อีก 3 ห้อง เรียกชื่อต่างๆ กันคือ “ถ้ำเสาหินหลวง” เป็นถ้ำกว้างใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงามมากมาย “ถ้ำตุ๊กตา” มีหินงอกเป็นปุ่มปมเล็กๆ คล้ายตุ๊กตาเรียงรายอยู่มากมาย และด้านหนึ่งของผนังถ้ำยังปรากฏภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่กว้างและยาวที่สุดในถ้ำลอด ถ้ำสุดท้ายอยู่ด้านทางออกคือ “ถ้ำผีแมน” นอกจากมีหินงอกหินย้อยสวยงามแล้ว ยังเป็นที่พบเศษภาชนะดินเผา มีซีกฟัน และกระดูกของมนุษย์ เมล็ดพืช เครื่องมือหิน รวมทั้ง “โลงผีแมน” อีกด้วย โลงผีแมนนี้มีลักษณะเป็นท่อนไม้ที่ถูกขุดตรงส่วนกลางออกเป็นร่องคล้ายเรือ หรือรางไม้ใส่อาหารให้สัตว์เลี้ยง มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ โดยโลงขนาดใหญ่จะถูกวางอยู่บนคานโดยใช้เสา 4-6 ต้น ตั้งกับพื้นถ้ำ และเสาแต่ละคู่จะถูกเจาะเป็นช่องเพื่อสอดใส่คานไว้วางพาดโลงผีแมน

สำหรับการเข้าชมถ้ำนั้น จะเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. แต่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าชมเองได้ เนื่องจากภายในถ้ำมืดมาก จึงต้องใช้บริการผู้นำทางพร้อมตะเกียงเจ้าพายุ โดยจะเสียค่าบริการ 100 บาท ต่อผู้นำทาง 1 คน การเดินชมถ้ำจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นการชม 2 ถ้ำใหญ่ คือ ถ้ำเสาหินหลวง และถ้ำตุ๊กตา

หากนักท่องเที่ยวต้องการจะเข้าชมถ้ำผีแมน จะต้องล่องแพผ่านธารน้ำที่ลอดภายในถ้ำ โดยจะมีแพของชาวบ้านรอให้บริการอยู่

ในบริเวณสถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอดนี้ ยังเป็นแหล่งดูนก ซึ่งทางหน่วยบริการได้จัดทำป้ายบอกจุดดูนกไว้เป็นระยะๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมเองได้

บริเวณที่ทำการยังมีบ้านพักไว้บริการ และอนุญาตให้ตั้งเต็นท์พักแรมได้ โดยติดต่อโดยตรง ณ หน่วยบริการภายในสถานศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด

นอกจากนี้ ในเขตกิ่งอำเภอปางมะผ้า ยังมีผู้สำรวจพบถ้ำต่างๆ อีกหลายถ้ำ เช่น ถ้ำผาเผือก ถ้ำผาแดง ถ้ำปางคำ ถ้ำน้ำตก ถ้ำซู่ซ่า ถ้ำผามอญ ถ้ำแม่ละนา ฯลฯ

เนื่องจากถ้ำเหล่านี้ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งการเดินทางที่ยากลำบาก เพราะถ้ำบางแห่งมีระยะทางลึกมาก (โดยเฉพาะถ้ำแม่ละนา ที่นักสำรวจถ้ำคาดว่าลึกประมาณ 13 กิโลเมตร) และมีลำธาร บางช่วงอาจต้องว่ายน้ำไป จึงเหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยและเสาะแสวงหาธรรมชาติอย่าง แท้จริง

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ
http://pirun.ku.ac.th/~b4843075/pics/1012006181334.jpg http://www2.ipst.ac.th/science/web%20resources/image010.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 305,000 ไร่ หรือ 488 ตารางกิโลเมตร อยู่ในลุ่มน้ำแม่ปาย

ทิศเหนือ จด รัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ จด ห้วยหมากอื่น และห้วยผึ้ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันออก จด ลำน้ำของ ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันตก จด รัฐฉาน สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน


การเดินทาง :

ระยะทางจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 2 กิโลเมตร และระยะทางจากอำเภอแม่ฮ่องสอน ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา - น้ำตกผาเสื่อ 25 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางทั้งหมด

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา - น้ำตกผาเสื่อ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำ ในการติดต่อสอบถามให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ มีสถานที่ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ค้างแรม 1 แห่ง พักได้ทั้งหมด 100 คน

สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ตำบลห้วยผา อำเภอ เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000 หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5795734 หรือ โทร.5614292 - 4 ต่อ 724 , 725

ลักษณะภูมิประเทศ :

ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนเป็นลูกคลื่น และมีความสูงชันประมาณ 75% ของพื้นที่ สูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 300 เมตร และสูงสุด 1,918 เมตร สภาพพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 45% โดยมีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่สะงา , น้ำแม่สะงี , ลำน้ำของ และลำน้ำปาย

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเพราะ เป็นอุทยานฯ ที่มีความอุดมของธรรมชาติอยู่มาก สัตว์ป่าที่มีมากได้แก่ นกนานาชนิด ไก่ป่า เก้ง และหมูป่า ส่วนสัตว์ที่เป็นจุดเด่น ได้แก่ นก เก้ง หมูป่า ไก่ป่า ลิง กระรอก และหมี

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ และยังมีทิวทัศน์สวยงาม วัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจ คือ ประเพณีการบวชปอยส่างลอง ของชาวไทยใหญ่ จุดเด่นที่น่าสนใจของอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกผาเสื่อ น้ำตกห้วยขาน น้ำตกคาหาญ น้ำตกแม่สะงากลาง น้ำตกห้วยโป่งอ่อน ถ้ำพระบาทคู่ ภูโครนน้ำพุร้อน วนอุทยานถ้ำปลา

นอกจากนี้ท่านสามารถชมทิวทัศน์ตลอดถนนสาย แม่ฮ่องสอน - ปายที่งดงาม กอรปกับอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา - น้ำตกผาเสื่อ สามารถเดินทางมาเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ยังเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ อาทิ ปิคนิค ดูนก เที่ยวชมน้ำตก ถ่ายภาพ เดินป่า เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติแม่เงา
http://www.123thailandtravel.com/images/northern/Mae%20Ngao%20National%20Park.jpg http://www.tonkeian.com/images/1136656011/00900017.jpg http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/950/14950/images/T003.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติแม่เงา ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ มีพื้นที่โดยประมาณ 257,650 ไร่ หรือ 412.24 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ จด น้ำแม่ริด ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ จด น้ำแม่โขง ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก จด ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จด น้ำแม่ยวม ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การเดินทาง :

ระยะทางจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงอำเภอสบเมย 230 กิโลเมตร และระยะทางจากอำเภอสบเมย ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติแม่เงา 20 เมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติแม่เงา มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถามให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกทางอุทยานแห่งชาติแม่เงา มีสถานที่กางเต้นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยว 1 แห่ง สามารถพักได้ทั้งหมด 500 คน

สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เงา ตู้ปณ. 37 ปทจ.แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110 หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5795734 หรือ โทร.5614292 - 4 ต่อ 724 ,725

ลักษณะภูมิประเทศ :

มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีเทือกเขาสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบน้อยมาก ไม่ถึง 10% ความสูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 200 เมตรและสูงสุด 1,698 เมตร มีแม่น้ำที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลายสาย ได้แก่ น้ำแม่เงา น้ำแม่ริดและน้ำแม่โขง

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

อุทยานแห่งชาติแม่เงา มีความอุดมสมบูรณ์มาก จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างมากมาย

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

อุทยานแห่งชาติแม่เงา มีความสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้ในป่า คงความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตก ถ้ำ และน้ำแม่เงา จุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำตกโอโละโกร น้ำตกแม่วะหลวง น้ำตกแม่ลอย ถ้ำแม่อมกิ น้ำแม่เงา ฤดูกาลท่องเที่ยว จะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม

อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์
Image6
Image7
Image8

Image9
Image10
Image11

Image12
Image13
Image14

Image15
Image16
Image17

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยาน แห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอขุนยวมและอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สภาพพื้นที่เป็นป่าเขา เรียงรายสลับซับซ้อน มีภูเขาหินและหน้าผาน้อยใหญ่สูงชันในลักษณะที่แตกต่างกันและคล้ายกันที่สวย งามหลายแห่ง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 396.60 ตารางกิโลเมตร หรือ 247,875 ไร่

การเดินทาง :

จากอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ออกเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ไปถึงอำเภอขุนยวม เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากอำเภอขุนยวมจึงเดินทางต่อไปอีกเป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร เข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานฯ มีบริการบ้านพักและอนุญาตให้นำเต็นท์ไปตั้งค่ายพักแรมได้ โดยมีบ้านพักบริการในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ อำเภอเมือง รายละเอียดติดต่อ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 579-5734 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ตู้ ปณ. 18 อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000

ลักษณะภูมิประเทศ :

พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีภูเขาหินและภูเขาบางลูกจะมีหน้าผาสูงชัน โดยเฉพาะที่ดอยวิดจา ดอยปุงถุ่น เป็นต้น และเป็นต้นน้ำลำธารต่างๆหลายสาย ซึ่งลำธารนี้ไหลลงสู่แม่น้ำปาย มีสภาพป่าที่แตกต่างไปหลายชนิด คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา จะอยู่ในบริเวณสันเขาสูง ชนิดของไม้ที่พบได้แก่ สนสองใบ นอกจากนี้ยังสามารถพบกล้วยไม้หลายชนิดที่สวยงาม ได้แก่ ฟ้ามุ่ย พวงมาลัยหางกะรอก ช้างกระ เอื้องคำ เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ :

อุทยาน แห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ มีอากาศเย็นสบายตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาว บนยอดเขาอากาศเย็นมาก ฤดูฝนมีฝนตกชุกทำให้การเดินทางไม่สะดวก ฤดูหนาวและฤดูร้อนจะเหมาะแก่การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยว

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่าประกอบไปด้วยป่าเบญจพรรณ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณที่ราบต่ำใกล้ลำห้วยใหญ่ๆ ที่มีความชื้นสูงมาก และมีพื้นที่ค่อนข้างสูง พันธุ์ไม้ได้แก่ ยาง สมอพิเภก ตุ้มเต๋น ฯลฯ และป่าสนเขาจะอยู่บริเวณสันเขาสูง พันธุ์ไม้ได้แก่ สนสองใบ และสนสามใบ

สัตว์ป่าประกอบไปด้วยสัตว์นานาชนิด เช่น หมี กวาง เก้ง หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

น้ำตกแม่สุรินทร์
เป็นต้นน้ำตกชั้นเดียวที่สวยงามและมีน้ำไหลตลอดปี นับว่าเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เกิดจากแม่น้ำสุรินทร์ มีสภาพธรรมชาติรอบด้านเป็นภูเขาสูงชันไหลลงมาเป็นสายยาวจากหน้าผาสู่หุบเขา สูงประมาณ 80 เมตร การเดินทางใช้ได้เฉพาะในฤดูร้อนและฤดูหนาว ห่างจากอำเภอขุนยวมประมาณ 38 กิโลเมตร

น้ำตกดำข่อน (น้ำตกผาบ่อง)
เป็นน้ำตกที่ไหลมาจากห้วยดำข่อน ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันลงมาถึง 3 ชั้น มีความสูงประมาณ 40 เมตร และด้านซ้ายของน้ำตกนี้ยังแยกเป็นน้ำตกเล็กๆ มีระยะทางห่างจากแม่ฮ่องสอนประมาณ 12 กิโลเมตร การเดินทางใช้ได้ตลอดทั้งปี

แม่น้ำปาย
มีชายหาดที่สวยงามเหมาะสำหรับการตั้งค่ายพักแรมและการล่องแพตามลำน้ำ

หนองเขียว
มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มบนสันเขา บริเวณโดยรอบมีที่ราบกว้างประมาณ 200 ไร่ มีป่าสนเขาเป็นพื้น การเดินทางใช้เดินทางเท้าจากน้ำตกแม่สุรินทร์ ประมาณ 2 ชั่วโมง

ยอดดอยปุย
เป็นยอดเขารูปร่างคล้ายฝาชี ข้างบนยอดแบนราบ คล้ายภูกระดึง อากาศหนาวจัด มีพันธุ์ไม้เมืองหนาวขึ้นอยู่ทั่วไป

น้ำฮู้หายใจ
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลก กล่าวคือ ทุกๆประมาณ 25 นาทีจะมีสายน้ำพุ่งออกมาจากรูผนังถ้ำ ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากแรงดันของธารน้ำในชั้นหินตามรอยร้าวของเปลือกโลก อยู่ในตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 3-4 ชั่วโมง จากบ้านห้วยน้ำ แม่สะกึด

ทุ่งดอกบัวตอง ดอยแม่อุคอ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม ตามเส้นทางหมายเลข 108 (แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม) ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายตามทางหลวงสาย 1263 เข้าสู่ทุ่งบัวตองอีก 26 กิโลเมตร เป็นถนนราดยางมีพื้นที่ครอบคลุมเป็นเขากว้างประมาณ 1 พันไร่ อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ 5 กองอนุรักษ์ต้นน้ำ ดอกบัวตองที่นี่เมื่อบานพร้อมๆ กันในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะเหลืองอร่ามปกคลุมทั่วทั้งภูเขา มีความสวยงามมาก

อุทยานแห่งชาติสาละวิน

http://www.123thailandtravel.com/images/northern/Salawin%20National%20Park.jpg http://tourdoi.com/north/meahongson/sub3/content_2/001.jpg http://www.ezytrip.com/travelsearch/images/images/10000/00800/00791_1.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติสาละวิน ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที 450,950 ไร่ หรือ 721.25 ตารางกิโลเมตร เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ชื่อ ป่าสาละวิน ซึ่งเป็นป่า ตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทย - ประเทศพม่า หลังจากที่รัฐยกเลิกสัมปทานทำไม้ ออกจากป่าธรรมชาติแล้ว รัฐบาลและทางราชการต้องการอนุรักษ์ป่าผืนนี้ไว้ใน รูปของอุทยานแห่งชาติ

มีอาณาเขตติดต่อกับ
ทิศเหนือ จด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ จด ทางหลวงหมายเลข 1194 (ห้วยโผ-แม่สามแลบ) ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศต ะวันออก จด ป่าสงวนแห่งชาติป่าสาละวิน ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันตก จด แม่น้ำสาละวิน ตำบลแม่คง , ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน


การเดินทาง :

ระยะทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ถึง อำเภอเชียงดาว 199.00 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอ เชียงดาว ถึงสำนักงาน อุทยานแห่งชาติสาละวิน 6.00 กิโลเมตร

สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 201.00 กิโลเมตร และถนนลูกรัง 4.00 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีบริการที่พักดังนี้
บ้านพัก 3 หลัง พักได้จำนวน 22 คน
สถานที่กางเต้นท์ 2 แห่ง พักได้จำนวน 50 คน

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่ออุทยานแห่งชาติสาละวิน ตู้ปณ. 5 ปท. แม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110

หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพักฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5614292-4 ต่อ 724 , 725

ลักษณะภูมิประเทศ :

ภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาแนวยาวสลับซับซ้อนจากเหนือจดใต้ ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุด 200 เมตร สูงสุด 1100 เมตร มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคได้แก่ แม่น้ำสาละวิน ห้วยแม่สะลาบ ห้วยแม่สะเกิบ ห้วยแม่ละมอง ห้วยวอก ห้วยบง ห้วยกองก๊าด ห้วยอีนวล ห้วยโผ ห้วยแม่แต๊ะ ห้วยแม่อมลอง ห้วยแม่สามบาก น้ำแม่แง น้ำแม่ก๋อน น้ำแม่กองคา น้ำแม่ปอ น้ำแม่เวน น้ำแม่สามแลบ และแม่น้ำยวม

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

อุทยานแห่งชาติสาละวิน มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด อาทิ นกพันธุ์ต่างๆ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก แมลงกว่า 50 ชนิด ปลา โดยเฉพาะนกยูง จัดว่าเป็นสัตว์ที่มีลักษณะเด่นมาก ในพื้นที่ และสัตว์ที่มีมาก ได้แก่ แมลงผีเสื้อและด้วงปีกแข็ง

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

อุทยานแห่งชาติสาละวิน
มีป่าไม้อยู่หลายประเภท มีลักษณะเด่นอยู่ที่ ภูเขา หน้าผา ลำน้ำ และหาดทรายน้ำจืด ทิวทัศน์กับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ผู้คนที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่มีทั้งชาวไทยใหญ่และกะเหรี่ยง นักท่องเที่ยวสามารถขับรถชมทัศนียภาพ และทิวทัศน์ทางธรรมชาติ หรือถ่ายภาพ ดูนก บันทึกเทปวิดีโอหรือเทปเสียงธรรมชาติ หรือท่านที่สนใจ การเดินป่าเพื่อศึกษาธรรมชาติทั่วไปก็สามารถทำได้ เพราะอุทยานสาละวินมี ความสมบูรณ์มาก นักท่องเที่ยวสามารถประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวได้หลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเที่ยวชมน้ำตก ส่องสัตว์ ว่ายน้ำ ดำน้ำ แล่นเรือใบ ขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ เล่นน้ำตกในแอ่งหรือในลำน้ำ ล่องแก่ง พายเรือ พักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ รวมทั้งสามารถอาบแดดได้อีกด้วย สำหรับท่านที่สนใจการศึกษาค้นคว้า ที่นี่นอกจากท่านจะสามารถ เดินป่าเที่ยวชมธรรมชาติแล้ว ยังสามารถศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักฐานทาง โบราณคดีและวัฒนธรรมของชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และตั้งแคมป์พักแรม ซึ่งอุทยานแห่งชาติสาละวิน เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ไม่ว่าท่านจะ มาช่วงใดก็ตาม

ล่องแพแม่น้ำปาย

http://www.tourtooktee.com/database/upload_files/news_happy/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A2-info-43-4.jpg http://www.deeday23.com/images/pai.jpg http://www.mikvarha.thport.com/Image/a8.jpg

แม่น้ำปาย เป็นแม่น้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาแดนลาวในเขตอำเภอปาย แล้วไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ไปบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง) ในเขตรัฐคะยา สหภาพพม่า มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร กว้างประมาณ 30 เมตร และลึกประมาณ 7 เมตร ท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย และในฤดูแล้งน้ำลึกประมาณ 1 เมตร ตลอดลำน้ำปายนี้มีช่วงที่สามารถล่องแพได้ 3 ช่วงด้วยกัน คือ

1. ช่วงต้นลำน้ำปายถึงอำเภอปาย
เริ่มต้นที่ห้วยช้างเฒ่า หรือห้วยช้างแก้ว ห่างจากอำเภอปายตามระยะทางรถยนต์ประมาณ 16 กิโลเมตร ตามทางลำลองที่มุ่งสู่บ้านเวียงเหนือ และบ้านศาลาเมืองน้อย แล้วเริ่มล่องลำน้ำปายใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ถึงสะพานเวียงเหนือหรือบ้านจอมพลใกล้ตัวอำเภอปาย

การล่องแพสายนี้ควรใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด 1 วันเต็ม โดยต้องพักแรมในคืนก่อนการเดินทางและหลังจากการล่องแพแล้วอีก 1 คืน

2. ช่วงจากอำเภอปายถึงอำเภอเมือง
เริ่มต้นที่บ้านหมอแปง ห่างจากอำเภอปายโดยทางรถยนต์ประมาณ 30 กิโลเมตร ระยะทางการล่องแพทั้งหมดประมาณ 70 กิโลเมตร และต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน กว่าจะล่องถึงบ้านปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และต้องใช้แพถึง 2 ชุด เนื่องจากช่วงกลางของแม่น้ำปายมีจุดหนึ่งที่เป็นโตรกธารระดับน้ำต่างกัน คล้ายกับเป็นน้ำตกซึ่งไม่สามารถล่องแพผ่านได้ ต้องขึ้นฝั่งข้ามเขาไปขึ้นแพชุดใหม่และล่องต่อ รายละเอียดการล่องแพช่วงนี้ควรติดต่อขอทราบจากนายอำเภอปาย ที่ว่าการอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

3. ช่วงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนถึงเขตชายแดนไทย-พม่า
เริ่ม ต้นจากบ้านห้วยเดื่อ ตำบลผาบ่อง ซึ่งห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร และล่องถึงบ้านน้ำเพียงดิน ซึ่งเป็นเขตต่อแดนระหว่างไทยกับพม่า ปกติแล้วในช่วงนี้นิยมนั่งเรือหางยาวมากกว่าจะล่องแพ และจากจุดนี้ผู้ที่นิยมล่องไพรด้วยการนั่งบนหลังช้าง ก็สามารถทำได้เช่นกัน การล่องเรือในช่วงนี้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เนื่องจากทิวทัศน์ของฝั่งแม่น้ำมีความสวยงามและระดับน้ำก็ลดหลั่นกันตลอดทาง โดยใช้เวลาในการไปและกลับเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องการพักแรมด้วยการกางเต็นท์ก็อาจทำได้โดยขออนุญาตจากหัวหน้า ด่านตำรวจที่น้ำเพียงดินเสียก่อน

ช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการล่องแพแม่น้ำปายได้แก่ ช่วงเดือนตุลาคม- มีนาคม


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 053)

ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน

โทร. 0 5361 2982-3 โทรสาร 0 5361 2984

บมจ.การบินไทย สำนักงานแม่ฮ่องสอน

โทร. 0 5361 1299

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

โทร. 0 5361 1198 โทรสาร 0 5361 1808

ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน

โทร. 0 5361 1952, 0 5361 1812 โทรสาร 0 5361 1813

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง

โทร. 0 5361 1239

ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน

โทร. 0 5361 2057

โรงพยาบาลศรีสังวาลย์

โทร. 0 5361 1378, 0 5361 1398

โรงพยาบาลแม่ลาน้อย

โทร. 0 5368 9060

โรงพยาบาลขุนยวม

โทร. 0 5369 1017

โรงพยาบาลปาย

โทร. 0 5369 9031

โรงพยาบาลแม่สะเรียง

โทร. 0 5368 1394

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน

โทร. 0 5361 2079 โทรสาร 0 5361 1349

ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน

โทร. 0 5361 2156

ที่ว่าการอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

โทร. 0 5361 1357

ที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง

โทร. 0 5368 1220, 0 5368 1231

ที่ว่าการอำเภอขุนยวม

โทร. 0 5369 1108

ที่ว่าการอำเภอปาย

โทร. 0 5369 9195

0 ความคิดเห็น: