ประวัติและความเป็นมา :
|
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง
วัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม
ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในเขตอำเภอเมือง พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ลานนาไทยสมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย
วัดเชียงมั่น
อยู่ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดภายในตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อพญามังรายสร้างเมือง เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ มีสถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร
วัดพระสิงห์วรวิหาร
อยู่ถนนสามล้าน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งซึ่งประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบ เมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วถึงกัน แต่เดิมที่ดินบริเวณวัดนี้เป็นตลาด เรียกชื่อว่า วัดลีเชียง (ลี หมายถึง ตลาด) จนถึงปี พ.ศ. 1888 พระเจ้าผายู กษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายทรงโปรดฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิพระราชบิดาของพระองค์ สถาปัตยกรรมสำคัญของวัดนี้ได้แก่ วิหารลายคำที่มีจิตรกรรมฝาผนังงดงาม พระอุโบสถ หอไตรที่มีปูนปั้นรูปเทวดาประดับ และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
วัดปราสาท
ตั้งอยู่บนถนนอินทวโรรส อำเภอเมืองใกล้กับวัดพระสิงห์ วิหารภายในวัดมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนาดั้งเดิม ที่หน้าบันวิหารมีลวดลายปูนปั้นประดับกระจก และไม้แกะสลักรูปสิงห์ฝีมือประณีต ซุ้มปราสาทที่ประดิษฐานพระประธานเป็นศิลปะล้านนาโบราณที่หลงเหลืออยู่ไม่กี่ แห่ง
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ วัดนี้ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ต่อมาพระยาติโลกราชให้ช่างสร้างเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ สูงถึง 98 เมตร ฐานกว้างด้านละ 54 เมตร แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภาครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดแผ่นดินไหวทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลงเมื่อปี พ.ศ. 2088 วิหารด้านหน้าของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุด ของภาคเหนือ
วัดพันเตา
ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ติดกับวัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ ซุ้มประตูทำเป็นรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์
เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง
เป็นหลัก เมืองเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ปัจจุบันนี้อยู่ตรงหน้าวัดเจดีย์หลวง เสาอินทขิลนี้ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ หลักอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมืองเป็นประจำ
วัดตำหนัก (วัดศิริมังคลาจารย์หรือวัดสวนขวัญ)
สร้าง ขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2050 ในสมัยพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พระเมืองแก้ว) กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์มังราย อาศรมแห่งนี้เป็นที่จำพรรษาของพระศิริมังคลาจารย์ผู้นิพนธ์พระคัมภีร์ “มังคลัตถทีปนี” ปัจจุบันนี้ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังลงแล้ว วัดนี้ตั้งอยู่เส้นทางหางดงระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 7-8 ตรงข้ามสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่
วัดกู่เต้า
เดิมชื่อ วัดเวฬุวนาราม ตั้งอยู่ในตำบลศรีภูมิ ติดกับสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ มีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกไปกว่าเจดีย์อื่นๆ ในเมืองไทย วัดนี้ไม่มีประวัติแจ้งไว้แน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีตำนานเล่าว่า เจดีย์กู่เต้านี้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าสารวดี ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งมาครองเมืองเชียงใหม่ในระหว่างปี พ.ศ. 2122-2150 ลักษณะของเจดีย์องค์นี้คล้ายกับนำผลแตงโมมาวางซ้อนกันไว้หลายๆ ลูก ชาวบ้านจึงเรียกว่า เจดีย์กู่เต้า
วัดแสนฝาง
ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปกรรมพม่าผสมอยู่ โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2420 ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองในปี พ.ศ. 2421
วัดบุพพาราม
ตั้งอยู่บนถนนท่าแพ อำเภอเมือง สิ่งที่น่าชมคือ เจดีย์ทรงพม่า วิหารหลังใหญ่ซึ่งหน้าบันมีลวดลายไม้แกะสลักแบบพม่า และวิหารหลังเล็กซึ่งเป็นทรงพื้นเมืองสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง
เวียงกุมกาม
เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ และซากเจดีย์ วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดกู่ขาว วัดอีก้าง วัดหัวหนอง และ วัดปู่ซ้ง
ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยาม เจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ
สร้าง ขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้วทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คน สนิทชื่อ อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830 พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย
หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น
วัดเจ็ดยอด หรือวัดโพธารามวิหาร
ตั้งอยู่ บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์(เชียงใหม่-ลำปาง) ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร ป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ชำรุดทรุดโทรมมาก และเพิ่งได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อไม่นานมานี้ สถาปัตยกรรมสำคัญของวัดนี้ ได้แก่ เจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พุทธคยาในประเทศอินเดีย ที่ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดานอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงปราสาท บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้สร้างวัดนี้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
ตั้งอยู่ บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง) ใกล้ๆ กับวัดเจ็ดยอด จะเห็นตึกรูปทรงแบบล้านนาไทยประยุกต์ตั้งเด่นอยู่ริมถนน ภายในบริเวณกว้างขวางและร่มรื่น รวบรวมศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือไว้ มีสิ่งที่น่าสนใจและน่าศึกษามากมาย เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โทร. (053) 221308
วัดอุโมงค์
ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในตัวเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายเมื่อราวปี พ.ศ. 1839 และได้บูรณะเพิ่มเติมในสมัยพระเจ้ากือนา เป็นวัดที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เป็นแนวยาวคล้ายกำแพง ภายในเป็นอุโมงค์ทางเดินหลายช่อง เดินทะลุกันได้ ด้านบนกำแพงมีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ ปัจจุบันปรับปรุงบริเวณเป็นสวนพุทธธรรม ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์
ศูนย์ศิลปะการแสดงกาดสวนแก้ว
ตั้งอยู่ใน อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอกิจกรรมทาง ศิลปะและวัฒนธรรม โรงละครกาดสวนแก้วเป็นโรงละครที่มีการออกแบบและใช้อุปกรณ์ทางเทคนิคที่ทัน สมัย เปิดแสดงละครทั้งของไทยและต่างประเทศ สอบถามรายการการแสดงได้ที่ โทร. (053) 224333 ต่อ กาดศิลป์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่
การเดินทาง :
ทางรถยนต์
จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนสายเชียงใหม่ - ฮอด ประมาณ หลักกิโลเมตรที่ 58 ก่อนถึงตลาด อำเภอจอมทอง มีถนนแยกไปทางขวา คือ ถนนสายจอมทอง - ดอยอินทนนท์ ซึ่งมีระยะทาง ถึงยอดดอยประมาณ 48 กิโลเมตร ซึ่งที่ทำการเขตจะอยู่ บริเวณหลัก กม. ที่ 31
ทางรถโดยสารประจำทาง
จากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปยังอำเภอจอมทอง ระยะทาง 60 กิโลเมตร มีรถยนต์โดยสารขนาดเล็ก สีเหลือง และรถยนต์โดยสารประจำทาง สีน้ำเงิน จอดรอรับผู้โดยสาร อยู่บริเวณคิวรถ ที่บริเวณประตูเชียงใหม่
จากอำเภอจอมทอง มีรถยนต์โดยสารขนาดเล็ก สีเหลือง จอดรอรับผู้โดยสารอยู่บริเวณคิวรถ ในตลาดอำเภอจอมทอง
สิ่งอำนวยความสะดวก :
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 5 หลัง พักได้หลังละ 15-20 คน ค่าธรรมเนียมที่พัก 800-1,000 บาทต่อคืน และอนุญาติให้นำเต็นท์ไปตั้งค่ายพักแรมได้
ติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ถนนจอมทอง - อินทนนท์ กม. 31 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160 หรือที่กรมป่าไม้ โทร. 579-7223,579-5734
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ :
1. เส้นทางสายอ่างกา
เป้นเส้นทางที่มีความสำคัญมีเอกลักษณ์เฉพาะ ระยะทาง 360 เมตร ใช้เวลาเดินศึกษา ธรรมชาติประมาณ 15 - 20 นาที เป็นลักษณะของป่าดิบเขาระดับสูง มีพรรณไม้เขตอบอุ่น ผสมกับเขตร้อน ที่พบเฉพาะในระดับสูง เป็นแบบป่าโบราณ มีพืชที่อาศัยเกาะติดต้นไม้มากมาย ตามพื้น จะพบพวกข้าวตอกฤๅษีเป็นบริเวณกว้าง ในหน้าหนาวจะพบกุหลาบพันปี สีแดงสวย และได้ยินเสียงนกร้อง อยู่เป็นระยะๆ มีความชุ่มชื้น และเป็นต้นกำเนิด ของสายน้ำแม่ปิง มีความหลากหลาย ทางชีวภาพและ อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก
2. เส้นทางสายยอดดอย - น้ำตกสิริภูมิ
เป็นทางเดินระยะไกลประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชม. เหมาะสำหรับศึกษา เรื่องความแตกต่างของพันธุ์ไม้ ในระดับความสูงที่แตกต่างกัน ความหลากหลายของสังคมพืช การทดแทนของพันธุ์ไม้ ที่ถูกทำลาย การฟื้นฟูสภาพป่า การส่งเสริมอาชีพชาวเขา และทิวทัศน์ของหุบเขาด้านล่าง
3. เส้นทางสายกิ่วแม่ปาน
เป็นทางเดินป่าระยะสั้น ประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชม. เหมาะสำหรับเรื่องการศึกษาป่าดิบเขา ในระดับต่ำลงมา สังคมทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นภายหลัง การทำลายสภาพป่าเดิม ลักษณะพืชเด่น ตามเส้นทางเดิน ทิวทัศน์ของ หน้าผาที่สวยงาม ตลอดจน ลักษณะการเกิดผลกระทบ ต่อเนื่องบริเวณรอยต่อ ระหว่างบริเวณรอยต่อ ระหว่างพื้นที่ป่าสมบูรณ์ กับพื้นที่ที่ถูกทำลาย หรือที่เรียกว่า EDGE EFFECT
4. เส้นทางสายน้ำตกแม่ปาน
เป็นทางระยะสั้นประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชม. เหมาะสำหรับการศึกษาสภาพป่า ข้างลำธาร ความสำคัญของต้นน้ำ ชมน้ำตกตลอดการทาง
5. เส้นทางสายถ้ำบริจินดา
เป็นทางระยะสั้นใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องกำเนิดถ้ำ สิ่งมีชีวิตในถ้ำ การเกิดหินงอกหินย้อย
6. เส้นทางสายสบหาด - บ้านแม่กลาง
ระยะทางประมาณ 900 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะกับการศึกษาในเรื่องของ สังคมป่าเต็งรังผสมสน และชมน้ำตกตาดน้อย
7. เส้นทางสายผาแว่น - น้ำตกวชิรธาร
ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะกับการศึกษาในเรื่องของ สังคมป่าผสมผลัดใบ ความร่มรื่น ชมทิวทัศน์ของน้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร และการทำเกษตรของชาวเขา
8. เส้นทางสาย กม.ที่ 38 - น้ำตกสิริภูมิ
เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกล ประมาณ 5.5 กิโลเมตร. ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชม. เหมาะสำหรับการดูนก ที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาระดับ 1500 เมตร
9. เส้นทางสายปางสมเด็จ - ผาหมอน
เป็นระยะทางไกลประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชม. เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่า โดยเฉพาะ และต้องการศึกษาเส้นทาง สมัยที่ยังไม่มีถนน ตัดขึ้นดอยอินทนนท์
หมายเหตุ เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ในอุยานแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้ ต้องติดต่อขอคนนำทาง จากเจ้าหน้าที่อุทยาน ณ ที่ทำการเขต บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ 31 ก่อน
ลักษณะภูมิประเทศ :
สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล
ลักษณะภูมิอากาศ :
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี ความชื้นสูงมาก โดยเฉพาะบนดอย ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี ในฤดูร้อนก็ยังมีอากาศหนาวเย็นอยู่ ต้องสวมเสื้อกันหนาว
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่โล่ง สลับกับป่าไม้ เนื่องจากถูกชาวเขา เผ่าแม้ว และกระเหรี่ยง ถางป่าทำไร่ จะเห็นได้จากบริเวณสองข้างทาง ขึ้นยอดดอยอินทนนท์ เป็นภูเขาหัวโล้น เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นทิวทัศน์ ที่แตกต่างจากอุทยานฯ อื่นๆ ป่าไม้ในเขตอุทยานฯ มีหลายชนิด ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังนี้คือ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เก็ตแดง จำปีป่า ตะแบก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีดอกไม้ป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่า สำหรับ มอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
สัตว์ป่า ในบริเวณอุทยานฯ มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็น ที่อยู่อาศัยถูกถางลงมากมาย ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ ปัจจุบันมีสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่ เลียงผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี ชะมด กะต่ายป่า และไก่ป่า
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
ปัจจุบันทางทหารได้ตัดถนนขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ จึงสามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวก สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริง ก็อาจเลือกวิธีเดินเท้า ที่นิยมมักเริ่มต้นจากน้ำตกแม่กลาง คืนแรกพักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่แอบ คืนที่สองพักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงผาหม่อน คืนที่สามพักที่ปางสมเด็จ แล้วขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ในระหว่างทางจะได้รับความเพลิดเพลินกับบรรยากาศป่าเขา และได้ศึกษา ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงไปด้วย
ยอดดอยอินทนนท์
ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่ สุดของประเทศ ซึ่งคนไทยส่วนมากต้องการไปสัมผัสเพื่อเป็นประวัติของชีวิต อากาศบนยอดดอยหนาวเย็น ยามฤดูหนาวอากาศหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวหาได้ยาก ในประเทศไทย ต้นไม้ในบริเวณยอดดอยแตกต่างจากที่อื่นเพราะมีสภาพเป็นป่าโบราณ ตามต้นไม้มีเฟิร์น หลายชนิดและมอสจับเขียวครึ้ม พันธุ์ไม้ดอกเช่น กุหลาบป่า คล้ายกับภูกระดึง แต่สูงใหญ่กว่ามาก จนเรียกกันว่า "กุหลาบพันปี" นอกจากนี้ ยังมี ลานข้าวตอกฤๅษี ซึ่งเป็นมอสชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียว สลับสีน้ำตาลอ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น และเป็นที่ประดิษฐาน สถูปบรรจุอัฐิเจ้าอินทวิชยานนท์ อดีตเจ้าเมืองเชียงใหม่
โครงการหลวงดอยอินทนนท์
ตั้งอยู่บริเวณ กิโลเมตรที่ 31 แยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร ผลิตผลหลักคือไม้ดอกเมืองหนาว นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมแปลงดอกไม้และการเพาะขยายพันธุ์
พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
ตั้ง อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 41.5 ด้านซ้ายมือสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2535
ดอยขุนกลาง
บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ภูมิประเทศโดยรอบจะเป็นทุ่งหญ้าคา เนื่องจากป่าถูกถางลง เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้วมา เป็นดอยที่ลดหลั่นประดุจดังคลื่น โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเขียวขจีเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกตา
น้ำตกแม่กลาง
อยู่ทางทิศตะวันออกของ อุทยานฯ จากถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 8 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง
น้ำตกแม่ยะ
อยู่ทางทิศใต้ของเขตอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ มีความสูงถึง 260 เมตร จนกล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ เหมือนกับเอาน้ำตกต่างๆมารวมกันไว้ ณ ที่นี้ ทางเข้าน้ำตกนี้ แยกจากถนนสายจอมทอง-ฮอด ไปทางขวามือซึ่งมีป้ายบอกไว้ที่ข้างทาง
น้ำตกสิริภูมิ
เดิมชื่อ น้ำตกเลาลี ตามชื่อของแม้ว ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา มรว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขนานนามว่า "สิริภูมิ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ น้ำตกนี้อยู่ใกล้ หลักกิโลเมตรที่ 31 ถนนสายจอมทอง-อินทนนท์
น้ำตกวชิรธาร หรือน้ำตกเมืองโยง
เกิดจากลำห้วยแม่กลางอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 22 ถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ มีน้ำไหลตกจากหน้าผาสูงถึง 70 เมตร
น้ำตกแม่ปาน
ตั้งอยู่เชิงดอยอินทนนท์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร เดินทางจากแยก ขึ้นดอยอินทนนท์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1192 อินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าไป ยังน้ำตกอีก 9 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินทางอีกประมาณ 10 นาที น้ำตกแม่ปานนับว่าเป็นน้ำตกที่ยาวที่สุด ของเชียงใหม่
น้ำตกทรายเหลือง
ตั้งอยู่บนเส้นทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน และอยู่ห่างจากถนนสายดอยอินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 2 กิโลเมตร
ถ้ำบริจินดา
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีหินงอกหินย้อย อยู่บนภูเขาทิศตะวันออกของอุทยานฯ
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
อุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ดอยปุย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอเมือง เชียงใหม่ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ ภูเขาที่สูงสลับซับซ้อน ที่สำคัญได้แก่เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทั้งมีสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญทางศาสนา และทางประวัติศาสตร์อยู่ 2 แห่ง คือ วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ดอยปุย มีเนื้อที่ประมาณ 262.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 163,162.50 ไร่
การเดินทาง :
ที่ทำการอุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 5 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนห้วยแก้ว-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-สวนสัตว์เชียงใหม่ ถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร จากนั้นเดินทางต่อไปอีกเล็กน้อยถึงทางแยกด้านขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าที่ทำการอุทยานฯ
สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก :
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 9 หลัง พักได้หลังละ 12-15 คน ค่าธรรมเนียมที่พัก 1,000-1,400 บาทต่อคืน เรือนแถว จำนวน 2 หลัง ค่าธรรมเนียมที่พัก 2,500 บาทต่อคืน และมีเต้นท์ไว้ให้บริการ มีบริการอาหารเครื่องดื่มที่บริเวณลานจอดรถ วัดพระธาตุดอยสุเทพ
ลักษณะภูมิประเทศ :
สภาพโดยทั่วไป เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนกันหลายลูก ที่สำคัญได้แก่ ดอยสุเทพ ดอยบวกห้า และดอยปุย ซึ่งมีความสูงมากที่สุด ประมาณ 1,685 เมตร จากระดับน้ำทะเล ภูเขาเหล่านี้เชื่อมเป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยตลอด เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ลำห้วย เช่น ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยแม่ปาน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง
ลักษณะภูมิอากาศ :
เนื่องจาก เป็นยอดเขาสูง อากาศจึงเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 16 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวมาก ในเดือนกุมภาพันธ์ อากาศปลอดโปร่ง ท้องฟ้าแจ่มใส ทำให้มองเห็นภูมิประเทศได้โดยรอบอย่างชัดเจน ส่วนในฤดูฝน อากาศเย็นสบาย ฝนตกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม-กันยายน ในฤดูร้อนอากาศไม่ค่อยร้อนอบอ้าวเท่าใด
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ เสลา เก็ตดำ เก็ตแดง ไม้ก่อกว่า 10 ชนิด ยางแดง ตาเสือ ดงดำ ตะเคียน กระบาก มะม่วงป่า และไม้สนเขาจะมีมากที่ยอดดอยปุยเป็นต้น
สัตว์ป่าส่วนใหญ่ถูกรบกวนจากชาวเขาและขาวไทยบริเวณ ใกล้เคียง ที่พบอยู่ได้แก่ เก้ง กวาง หมี ชะนี ลิง ค่าง และนกนานาชนิดกว่า 200 ชนิด เช่นพวกเหยี่ยว ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกขมิ้น นกห้วขวาน นกแก้วและนกพญาไฟ เป็นต้น
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
อนุเสาวรีย์พระครูบาศรีวิชัย
ประดิษฐานตระหง่านอยู่เชิงเขา พระครูบาศรีวิชัยเป็นนักบวชที่มีชื่อเสียงของล้านนาไทย เป็นผู้นำชักชวนชาวเมืองเหนือสร้างถนนขึ้นไปสู่พระบรมธาตุดอยสุเทพจนสำเร็จ
วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร
พระบรมธาตุนี้ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์บนดอยสุเทพ ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร เมื่อปี พ.ศ. 1972 เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้สร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นที่วัดพระธาตุดอยสุ เทพนี้ เป็นสถานที่เคารพบูชา เป็นที่รู้จักและนิยมไปสักการะของประชาชนทั่วไป
พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
เป็นพระตำหนักสำหรับแปรพระราชฐานเป็นที่ต้อนรับพระราชอคันตุกะจากต่างประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระตำหนักตั้งอยู่บนยอดดอยบวกห้า จะประดับไปด้วยดอกไม้นานาชนิด ปกติพระตำหนักจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมในบริเวณภายนอกเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
น้ำตกห้วยแก้ว
เกิดขึ้นในลำห้วยแก้ว อยู่บริเวณเชิงดอยใกล้ทางขึ้นดอยสุเทพ และเหนือน้ำตกห้วยแก้วขึ้นไปเล็กน้อยจะเป็น วังบัวบาน เป็นสถานที่ที่กล่าวถึงตำนานรักอันอมตะที่ลือชื่อของสาวเหนือ มีความสวยงามมาก
น้ำตกมณฑาธาร หรือน้ำตกสันป่ายาง
เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากที่สุด มีชั้นน้ำตกถึง 3 ชั้น น้ำไหลตกจากหน้าผาแต่ละชั้นเกิดขึ้นอยู่ตรงกลางของลำห้วยแก้ว
น้ำตกแม่สา
เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก มีน้ำไหลตลอดปี เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีถึง 8 ชั้น แต่ละชั้นมีระยะห่างกันประมาณ 100-500 เมตร ไปตามลำน้ำแม่สา ซึ่งจะเป็นหินผาติอต่อกันไปตามแนวลำห้วยไปตลอด การคมนาคมสะดวกสบาย
นอกจากนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามอื่นๆ คือ น้ำตกตาดหมอก-วังฮาง น้ำตกตาดหมอกฟ้า น้ำตกมหิดล น้ำตกศรีสังวาลย์ น้ำตกผาลาด เป็นต้น
หน้าผา
ประกอบด้วย ผาเงิบ ผาลาด ผาวังบัวบาน ผาดำ เป็นผาที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่างๆได้สวยงาม
ยอดดอยปุย
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,685 เมตร ที่บริเวณแห่งนี้จะเป็นป่าสนเขา สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้โดยรอบ จะมีลมพัดแรง อากาศเย็นสบาย
หมู่บ้านชาวเขา
สำหรับผู้สนใจวัฒนธรรมของชาวเขา สามารถเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆได้ เช่น แม้ว เย้า อีก้อ ลีซอ มูเซอร์ จะมีทางเดินไปถึงทุกหมู่บ้าน
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
ข้อมูลทั่วไป :
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เดิมมีชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติแม่หาดแม่ก้อ" มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก พื้นที่ป่าอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า มีทิวเขาทอดยาวเหยียดสลับซับซ้อน ลำห้วยน้อยใหญ่หลายสิบสาขาไหลผ่าน มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะพื้นที่ป่าที่ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำปิง ตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
อุทยานแห่งชาติแม่ปิงมีเนื้อที่ประมาณ 1,003 ตารางกิโลเมตร หรือ 626,875 ไร่ จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศไทย
การเดินทาง :
จากอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1087 สายลี้-ก้อ ที่ทำการอุทยานฯจะตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของถนนบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 19-20 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางได้จากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านลำน้ำปิงไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก หรือจะเดินทางจากเขื่อนภูมิพลไปยังดอยเต่าก็ได้
สิ่งอำนวยความสะดวก :
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ยังไม่มีบริการบ้านพัก สำหรับนักท่องเที่ยวผู้ที่ต้องการพักแรม ต้องนำเต็นท์และอาหารมาเอง ติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 597-5734
ลักษณะภูมิประเทศ :
สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน มียอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ "ดอยห้วยหลาว" มีความสูงประมาณ 1,238 เมตร เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสาย อาทิ ห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ซึ่งห้วยต่างเหล่านี้ไหลลงสู่แม่น้ำปิง
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ และยังมีป่าดงดิบอยู่ตามหุบเขาและลำห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง มะค่าโมง ประดู่ รถฟ้า สมพง สลัดได หวาย เป็นต้น
สัตว์ป่าในอุทยานฯมีชุกชุม โดยเฉพาะตามป่าริมฝั่งแม่ปิง อาทิเช่น เก้ง กวาง เลียงผา วัวแดง หมีควาย หมูป่า และนกนานาชนิด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญอีกด้วย
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
น้ำตกก้อหลวง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯไปประมาณ 20 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำน้ำในห้วยแม่ก้อ มีความสูงต่างระดับลดหลั่นกันลงมาทั้งหมด 7 ชั้น และเนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นหินปูนประกอบกับมีน้ำไหลตลอดปี จึงทำให้บริเวณน้ำตกมีหินงอกหินย้อยมากมาย มีความสวยงามตามธรรมชาติ
ทุ่งกิ๊ก ทุ่งนาง
เป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติที่กว้างใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานฯ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและเนินเขา ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง มีทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวก เก้ง กวาง กระต่าย และไก่ป่าชนิดต่างๆมากมาย
ห้วยถ้ำ
อยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดชมวิวริมฝั่งแม่น้ำปิง สามารถมองเห็นทิวทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำดอยเต่าได้อย่างสวยงาม รถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณนี้ได้
ผาดำ-ผาแดง
มีลักษณะเป็นหน้าผาสูง สภาพแวดล้อมยังเป็นป่าที่สมบูรณ์มาก จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ในระยะไกล การเดินทางต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น
ถ้ำยางวี
เป็นถ้ำที่อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำจะมีป่าสนเขาขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มีชื่อเรียกกันว่า "ป่าพระบาทยางวี" เหมาะสำหรับเป็นที่พักแรมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ
แก่งก้อ
เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมภูมิประเทศและสถานที่น่าสนใจต่างๆ เช่น น้ำตกอมเป น้ำตกอุมปาด เกาะคู่สร้างคู่สม ผาเต่า ผาพระนอน ผาคันเบ็ด แก่งสร้อย ถ้ำแก่งสร้อย พระธาตุแก่งสร้อย พระบาทบ่อลม เขื่อนภูมิพล เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
ข้อมูลทั่วไป :อุทยานแห่งชาติออบหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอออบและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศน์ทุกประการ ทั้งมีความสวยงามและความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ มีคุณค่าทางโบราณคดี ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
อุทยานแห่งชาติแม่ปิงมีเนื้อที่ประมาณ 1,003 ตารางกิโลเมตร หรือ 626,875 ไร่ จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศไทย
การเดินทาง :
ที่ทำการ อุทยานแห่งชาติออบหลวง ตั้งอยู่บริเวณตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะภูมิประเทศ :
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนติดต่อกันเป็นเทือกเขายาวใน แนวเหนือใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยต่อจากดอยอินทนนท์ มีแม่น้ำสายใหญ่ คือ ลำน้ำแม่แจ่มคั่นกลาง อันเป็นเขตแบ่งระหว่างอำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง มีลำห้วยลำธารหลายสายไหลลงลำน้ำแม่แจ่มและแม่ปิงตอนล่าง ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบหาแทบไม่ได้ในป่าแห่งนี้
จากสภาพพื้นที่ที่เป็นภูเขา หน้าผาสูงชันและมีโขดหินขนาดใหญ่น้อยมากมาย หินที่เป็นองค์ประกอบหลักของพื้นที่ได้แก่ หินแกรนิตและแกรโนไดออไรท์ สลับกับหินบะซอลท์และหินตระกูลแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ ในชุดหินบลูโดนิค ของยุคครีเตเซียส และไทรแอสสิค ประกอบด้วยแร่ ควอร์ท และเฟสต์สปาร์ ในท้องน้ำแม่แจ่มมีเกาะแก่งหินขนาดใหญ่มากมาย ริมฝั่งลำน้ำจะมีหาดทรายที่เกิดจากน้ำพัดพามาเป็นช่วงๆหลายแห่ง มีก้อนหินกลมกรวดท้องน้ำของหินควอร์ทไซด์ ควอร์ท-แจสเปอร์ และหินชนิดอื่นๆอยู่หนาแน่น
ลักษณะภูมิอากาศ :
สภาพภูมิอากาศ ในเขตอุทยานฯแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 38 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
เนื่องจากสภาพป่ามีทั้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่งดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขาและป่าสนเขา จึงมีพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันหลายชนิด เช่น ไม้สัก ยาง ประดู่ แดง ตะเคียน ยมหอม มะค่าโมง ขะเจ๊าะ มะเกลือ เก็ตดำ เก็ดแดง รกฟ้า ตะแบก อินทนิล กะบาก จำปีป่า สารภีป่า แคหิน เหียง พลวง เต็ง รัง และไม้สนเขา หรือ เกี๊ยะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอต่างๆ ไม้พื้นล่างที่สำคัญ มีไม้ไผ่ ปาล์ม และเฟิร์น
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ เลียงผา เสือ หมี กวาง หมูป่า เก้ง ชะนี ลิง ชะมด กระต่าย นิ่ม ตะกวด และนกประมาณ 200 ชนิด เช่น นกกางเขนดง นกพญาไฟ นกเขาใหญ่ นกเขาเขียว นกดุเหว่า นกหัวขวาน นกกะปูด นกขุนทอง นกแก้ว เหยี่ยวรุ้ง นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกกะทา เป็นต้น
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
ออบหลวง (The Great Canyon)
ตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 17 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 คาบเกี่ยวระหว่างตำบลหางดง และตำบลบ้านแบะ อำเภอจอมทอง เป็นช่องแคบเขาขาดที่มีหน้าผาหินขนาบลำน้ำ ทำให้เกิดเป็นหุบผาลึก ความลึกของหน้าผาวัดจากสะพานถึงระดับน้ำปกติ ประมาณ 32 เมตร ส่วนแคบสุด 2 เมตร ความยาวของช่องแคบประมาณ 300 เมตร
ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความน่าพิศวงให้กับแผ่นดินส่วน นี้อย่างน่ามหัศจรรย์ คำว่า"อ๊อบ" หรือ "ออบ" เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึงช่องแคบ "หลวง" หมายถึงใหญ่ "ออบหลวง" คือชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกช่องแคบหินขนาดยักษ์ที่มีลำน้ำแม่แจ่มบีบตัวแทรก ผ่านไป อีกนัยหนึ่งคือ หุบผาที่มีสายธารไหลผ่าน(Canyon) ภายในออบ น้ำตกลงไปกระทบแก่งหินไอน้ำกระจายฟุ้งเสียงดังสนั่นหวั่นไหวตลอดเวลา ลานหินและโตรกผาที่ถูกน้ำอันเชี่ยวกรากกัดกร่อนปีแล้วปีเล่า ทำให้เห็นเป็นลวดลายรูปร่างแปลกตาสวยงามมาก ทำให้ผู้ไปเยือนต้องพิศวงว่ากำแพงหินสูงใหญ่ที่ขวางลำน้ำอยู่นั้นแตกทะลุ หรือแยกตัวให้น้ำผ่านไปได้อย่างไร
น้ำตกแม่บัวคำ
เกิดจากห้วยแม่บัวคำอยู่ในเขตตำบลหางดง อำเภอออด ห่างจากดอนหลวงไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่มาก น้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 50 เมตร ลดหลั่นลงมาเป็นเชิงชั้นลงสู่อ่างหินซึ่งซ้อนตัวอยู่ในหลืบผาและแมกไม้ ด้านหน้าน้ำตกมีลานหินกว้าง
น้ำตกแม่จอน
เกิดจากห้วยแม่จอนหลวง อยู่ในเขตตำบลบ้านแบะ อำเภอจอมทอง จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายฮอด-แม่สะเรียง ตรงกิโลเมตรที่ 9 เดินตามลำห้วยแม่จอนเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ ลักษณะของน้ำตกนี้เป็นหน้าผาที่กว้างใหญ่มีความสูงไม่น้อยกว่า 100 เมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร น้ำตกที่ตกลงมาเป็นสายเหมือนใยแก้ว กระจายอยู่ทั่วแผ่นผาไม่ขาดสาย และลานหินกว้างสะอาดตา หน้าตาน้ำตกสวยงามมากเป็นหินแกรนิตผสมหินแปรสีขาวเจือสีเทาอ่อน สูงขึ้นไปยังมีน้ำตกเล็กๆสวยงามแปลกตาอีกสองชั้น อยู่ห่างประมาณ 500 เมตรและ 1,500 เมตรตามลำดับ
น้ำตกแม่เดี๊ยะ
อยู่บริเวณกลางป่าลึกในห้วยแม่เดี๊ยะตอนกลาง อยู่ในท้องที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง เป็นน้ำตกที่สวยงามสูงประมาณ 80 เมตร ความกว้าง 40 เมตร น้ำในห้วยแม่เดี๊ยะมีมากตลอดปีทำให้น้ำตกมีความงามตลอดเวลา ซึ่งต้องเดินเท้าจากบ้านแม่เดี๊ยะเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร
ดินแดนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อยู่ใกล้เคียงกับช่องแคบออบหลวง กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขุดค้นเพื่อศึกษาวิจัยร่วมกับประเทศฝรั่งเศส เรื่อง Research on Chronology and Evolution of the Prehistoric Cultures of Northern Central Thailand and their Antropological Characteristics โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา
บริเวณออบหลวงทั้งฝั่งอำเภอจอมทอง และฝั่งอำเภอฮอด ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น เครื่องมือหินกระเทาะแกนหิน และสะเก็ตหิน ขวานหิน ชิ้นส่วนเครื่องประดับและภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ที่สำคัญคือพบโครงกระดูกมนุษย์ในสมัยยุคสัมฤทธิ์มีอายุระหว่าง 2,500-3,500 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์
นอกจากนี้ยังพบภาพเขียนโบราณที่บริเวณเชิงผาด้าน ตะวันออกของดอนผาช้างซึ่งเป็นภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ในประเทศไทย
ดอยผาช้าง
เป็นหินแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ทั้งแท่งก้อนใหญ่มหึมา ยาวประมาณ 300 เมตร สูงประมาณ 80 เมตร จากระดับพื้นดินมีลักษณะเหมือนช้างตัวใหญ่นอนหมอบอยู่ บนยอดดอยผาช้างเป็นจุดชมวิว มองลงไปทางทิศใต้จะเห็นน้ำตกแม่บัวคำอยู่อุบลฯ ใกล้เข้ามาตรงหน้าดอยผาช้างเห็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ลดเลี้ยวเลียบเหลี่ยมเขาผ่านหน้าผาออบหลวง ลึกจากผาออบหลวงลงไปจะมองเห็นสายธารแม่แจ่มไหลคดเคี้ยวซอกซอนผาหินหายลับไป ทางตะวันออก
ที่ดอยผาช้างด้านตะวันตกมีเพิงผาคล้ายถ้ำ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์ และได้วาดภาพช้างด้วยสีขาวและสีแดงไว้ จากรายงานของนักโบราณคดี กรมศิลปากร ยืนยันว่าเป็นครั้งแรกที่พบภาพเขียนโบราณในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในเขต จังหวัดเชียงใหม่ สันนิษฐานว่าภาพเขียนนี้มีอายุไม่น้อยกว่า 7,500-8,500 ปีมาแล้ว
บ่อน้ำร้อนเทพพนม
อยู่ในเขตป่าแม่แจ่ม ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ห่างจากออบหลวง 14 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงฯหมายเลข 108 ตรงกิโลเมตรที่ 22 เข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้พิภพ มีแรงดันพุ่งขึ้นมากระทบน้ำเย็นใต้ดินเกิดเป็นไอร้อนคุตลอดเวลา ความร้อนสูงถึง 99 องศาเซลเซียส บริเวณเป็นที่ราบโล่งเตียนประมาณ 10 ไร่ มีลำห้วยเล็กๆคือห้วยโป่งไหลผ่าน จึงมีทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็นในบริเวณเดียวกัน
ถ้ำตอง
อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง "ดอยผาเลียบ" เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนถูกผ่าครึ่งแล้วแยกกันอยู่คน ละฝั่งลำน้ำแม่เปาะ ซีกที่อยู่ทางฝั่งขวามีถ้ำลึกที่มีตำนานเล่าขานกันว่า ถ้ำนี้เป็นอุโมงค์หินที่มีความยาวมาก กล่าวว่าทะลุถึงดอยเชียวดาวทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ทีเดียว บริเวณปากอุโมงเป็นคูหาขนาดประมาณ 5 x 10 เมตร สูง 3 เมตร ลึกเข้าไปจากนั้นเป็นโพรงหินเล็กๆขนาดพอตัวคนคลานเข้าไปได้ สภาพภายในคูหาปากถ้ำถูกสกัดตกแต่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนัก วิปัสสนาถ้ำตอง โดยรอบๆในหุบเขาร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบที่มีขนาดใหญ่ๆเช่น มะม่วงป่า ตะเคียนทอง มะหาด กระท้อน หน้าถ้ำมีธารน้ำแม่แปะไหลผ่าน ต้นแม่น้ำแปะห่างจากถ้ำตองขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตรมีน้ำตกเล็กๆ
ถ้ำตุ๊ปู่
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบ กว้างยาวประมาณ 1x1.5 เมตร ต้องนั่งยองๆเข้าไป ภายในกว้างขวางรูปร่างค่อนข้างกลมเหมือนคนโทขนาดใหญ่ มีน้ำหยดจากเพดานถ้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ตรงเพดานค่อนข้างไปทางก้นถ้ำทะลุเป็นวงกลมใหญ่ๆ 3 ช่องติดกัน จึงทำให้ถ้ำสว่างไสวไม่มืดทึบเหมือนถ้ำโดยทั่วไป
ลำน้ำแม่แจ่ม
ธารน้ำแจ่มหรือแม่น้ำสลักหิน กำเนิดจากเทือกเขาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไหลผ่านอำเภอแม่แจ่ม ออกสู่แม่น้ำปิงที่อำเภอฮอด เป็นลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวคดเคี้ยวไประหว่างเนินเขาและหุบผา มีเกาะแก่งและหาดทรายเป็นช่วงๆ นักท่องเที่ยวนิยมไปล่องแพ จากบ้านอมขูดถึงบ้านท่าเรือในท้องที่อำเภอแม่แจ่มอยู่เป็นประจำ
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ข้อมูลทั่วไป :
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มเย็นสวย งาม โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดังที่มีชื่อว่ามีทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศไปเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมีเนื้อที่ประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.50 ไร่
อุทยานแห่งชาติแม่ปิงมีเนื้อที่ประมาณ 1,003 ตารางกิโลเมตร หรือ 626,875 ไร่ จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศไทย
การเดินทาง :
จากอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 107 และเข้าทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่มาลัย (อำเภอแม่แตง) ไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 (สายมาลัย-ปาย) จนถึงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางแยกขวามือซึ่งมีป้อมยามตั้งอยู่ทางเข้าถึงบริเวณห้วยน้ำดัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง แล้วเดินทางต่อไปอีกระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดชมวิวดอยช้าง ถ้าเดินทางต่อไปอีกตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 จากหลักกิโลเมตรที่ 66 ไปยังอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงบ้านแม่ปิง จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังของ รพช. หมายเลข มส. 11024 อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง
สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก :
อุทยานฯมีบ้านพักบริการ รวมทั้งสถานที่กางเต็นท์ ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติห้วย น้ำดัง หมู่ที่ 5 ต.กี๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร. 0 5347 1669 หรือ ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 5734, 0 2561 4292-3 ต่อ 724, 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
สภาพภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาและภูเขาสูงที่สลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ และอยู่ในแนวเดียวกันกับเทือกเขาเชียงดาว ภูเขาต่างๆในพื้นที่มีความสูงชันตั้งแต่ 500-1,962 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยแม่เย็นกลาง ห้วยแม่ฮี้ ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง ห้วยน้ำดัง เป็นต้น รวมกันไหลลงสู่แม่น้ำปาย แม่น้ำปิงน้อย แม่น้ำแตง
ลักษณะภูมิอากาศ :
สภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ จะมีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 9 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม-เมษายน จะมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา มีพันธุ์ไม้ได้แก่ ไม้ตะเคียน ยาง จำปีป่า ยมหอม มะม่วงป่า ยมป่า เสลา คงคำ แดง ประดู่ ตะแบก ตีนนก งิ้วป่า สนสองใบ สนสามใบ ไม้ก่อต่างๆ เต็ง รัง เป็นต้น
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ได้แก่ ช้างป่า กวาง เก้ง เลียงผา หมี เสือ หมูป่า ชะมด ลิง พังพอน เม่น ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกนานาชนิด อาทิเช่น นกเปล้า นกแก้ว นกขุนทอง นกขมิ้น นกปรอท และนกเหยี่ยว เป็นต้น
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม)
เป็นที่ตั้งของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากที่สุดและมีชื่อเสียงมากในด้านการท่องเที่ยวที่จะ ชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อคอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกอันกว้างใหญ่ในช่วงฤดูหนาว
สภาพธรรมชาติที่สวยงามของจุดชมวิวนี้ เมื่อยืนอยู่ที่บ้านพักของห้วยน้ำดังแล้วมองไปทางทิศตะวันออก ทำให้มองเห็นสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ทิวทัศน์ของทิวเขาอันสลับซับซ้อนซึ่งมีดอยหลวงเชียงดาวที่สูงที่สุดอยู่ใจ กลาง และในช่วงเช้าตรู่ของฤดูหนาวจะเกิดทัศนียภาพของทะเลหมอกที่สวยงาม ทางเข้าแยกจากถนนสายแม่มาลัย-ปาย ที่หลักกิโลเมตร 65-66 เป็นทางลูกรังประมาณ 6 กิโลเมตร
จุดชมวิวดอยช้าง
อยู่บนดอยช้างขึ้นไปทางเหนือของห้วยน้ำดัง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,962 เมตร เห็นสภาพธรรมชาติของทิวเขาสลับซับซ้อน และทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่
น้ำตกห้วยน้ำดัง
เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย มีความสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมากมีความสูง 3-4 ชั้น และสภาพโดยทั่วไปชุ่มชื้นไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น
โป่งร้อน
อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ท้องที่ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางเข้าโป่งร้อนเป็นทางลูกรัง โดยแยกเข้าทางบ้านแม่ปิง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพธรรมชาติของโป่งร้อนเป็นบ่อน้ำร้อนเปรียบเสมือนน้ำกำลังเดือดขึ้นเป็น ฟอง และมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อยๆทั่วบริเวณกว้าง บ่อน้ำร้อนแห่งนี้มีบ่อใหญ่ 2 บ่อ นอกนั้นมีลักษณะเป็นน้ำผุดบางจุด และรอบๆโป่งร้อนเป็นต้นสักที่สมบูรณ์มาก ความร้อนของน้ำประมาณ 80 องศาเซลเซียส
น้ำตกแม่เย็น
เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยแม่เย็นหลวง ซึ่งจะไหลลงมาสู่แม่น้ำปายต่อไป สภาพน้ำตกเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลตลอดปี
อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
ข้อมูลทั่วไป : อุทยานแห่งชาติศรีลานนามีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้อง ที่อำเภอเชียงดาว อำเภอพร้าว และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำแม่ปิงตอนบน มีสัตว์ป่านานาชนิด และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกตาดหิน อ่างเก็บน้ำ เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ใน 5 แห่ง ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,406 ตารางกิโลเมตร หรือ 878,750 ไร่
การเดินทาง :
การเดินทางสามารถใช้ได้ 4 เส้นทาง คือ
1. ทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ลัดเลาะเลียบแม่น้ำปิง ป่าเชียงดาวฝั่งซ้าย แม่น้ำปิงช่วงอำเภอเชียงดาว เป็นถนนลาดยางสภาพดี
2. ทางหลวงหมายเลข 1001 สายเชียงใหม่-พร้าว ผ่านป่าแม่แตง ป่าแม่งัด เป็นถนนลาดยางสภาพดี และตรงกิโลเมตรที่ 79 บ้านประดู่ ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว มีทางแยกเข้าอ่างเก็บน้ำชลประทานแม่แตงเข้าสู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และน้ำตกม่อนหินไหลได้
3. ทางหลวงหมายเลข 1150 สายปิงโค้ง เชียงดาว-พร้าว เป็นทางหลวงสายที่แยกจากทางหลวงหมายเลข 107 ผ่านป่าเชียงดาวตอนบนและป่าแม่งัดตอนบน
4. ทางหลวงหมายเลข 1150 สายเชียงใหม่-เชียงราย ผ่านอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านไปยังอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สภาพถนนลาดยางดีมาก
ลักษณะภูมิประเทศ :
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนติดต่อกันกว้างขวาง เป็นป่าผืนใหญ่ในแนวเหนือใต้ เป็นต้นน้ำลำธารของ ลำห้วยต่างๆที่ไหลลงสู่แม่น้ำแม่ปิงตอนบน น้ำแม่งัด น้ำแม่กวง และน้ำแม่ฝาง ส่วนใหญ่ดินจะมีลักษณะเป็นดินร่วน มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง บางส่วนเกิดจากการสลายตัวของหินทราย หินปูน และหินดินดาน
ลักษณะภูมิอากาศ :
สภาพอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ ไม้ยาง กะบาก ยมหอม อบเชย ตะเคียนทอง ตะแบก สัก แดง ประดู่ กะบก เต็ง รัง เหียง พลวง ชิงชัน เป็นต้น ไม้พื้นล่างจะเป็นไม้ไผ่หลายชนิด ปาล์มต่างๆ เฟิร์น และไม้ตระกูลก่อสกุลต่างๆ เช่น ก่อเดือน ก่อตาหนู เป็นต้น
สัตว์ป่า ประกอบด้วย เสือ เก้ง เลียงผา หมี หมูป่า ลิง กระต่ายป่า ไก่ป่า และนกนานาชนิด สำหรับบริเวณอ่างเก็บน้ำชลประทานแม่งัด จะมีนกสำคัญๆ เช่น นกเป็ดน้ำ นกกระยางขาว นกนางนวล
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
น้ำตกม่อนหินไหล
อยู่บริเวณป่าแม่งัดตอนห้วยแม่แพง ตำบลแม่ปั๋ง ตำบลแม่แวน ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตอนบนของลำห้วยแม่แพงเป็นน้ำตกมีความสูงถึง 6 ชั้น แต่ละชั้นสูงประมาณ 5.15 เมตร โดยเฉพาะน้ำตกชั้นที่ 1,2,3 เป็นตาดหินลาดตลอดลงมา มีความสูงประมาณ 40 เมตร ส่วนตอนล่างของลำห้วยแม่แพง ประกอบด้วย 3 ชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะเด่นที่แปลก ชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่สวยงามที่สุด มีความสูงประมาณ 100 เมตร ความกว้างของน้ำตกประมาณ 15 เมตร เป็นตาดหินลาดเทเป็นแนวตรงลงมา มีน้ำตกไหลตลอดปี
อ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานเขื่อนแม่งัด
เป็นอ่างเก็บน้ำที่ครอบคลุมอาณาเขตที่น้ำท่วมในบริเวณแม่แตง และป่าแม่งัด สภาพป่าธรรมชาติรอบๆอ่างเก็บน้ำ มีความสมบูรณ์มาก มีทิวทัศน์อันสวยงาม เหมาะที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำที่น่าสนใจ
สภาพป่าธรรมชาติ
มีทิวทัศน์สวยงามบริเวณเขตติดต่อระหว่างป่าแม่งัด อำเภอพร้าว และป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว เป็นป่าสองข้างทางหลวง หมายเลข 1150 ประกอบด้วยป่าดงดิบชื้นที่สมบูรณ์สลับกับป่าเบญจพรรณ และเทือกเขาหินปูนอันสูงชัน คือ เทือกเขาดอย เผาสามเส้า ปรากฏเด่นเป็นฉากหลังสูงๆ ต่ำๆสวยงามมาก
น้ำพุเย็น น้ำตกเย็น และถ้ำบวกตอง
ตั้งอยู่บริเวณ กม.ที่ 42 ของถนนสายเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นน้ำแร่มี CaCo3 พุพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน แล้วไหลเป็นลำธารและน้ำตกขนาดเล็ก พื้นลำธารแข็งเพราะมีสาร CaCo3 เคลือบอยู่แปลกตามาก
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
ข้อมูลทั่วไป :
อุทยาน แห่งชาติดอยเวียงผา ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 364,375 ไร่ หรือ 583 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามนโยบายป่าแห่งชาติ ที่ต้องสงวนพื้นที่อนุรักษ์ ให้ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง , ป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย
มีอาณาเขตติดต่อกับ
ทิศเหนือ จด แนวถนนทางหลวงหมายเลข 109 (ฝาง - แม่สรวย) ตำบลแม่คะ อำเภอแม่ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ จด แนวเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก จด แนวเขตหมู่บ้าน ตำบล ท่าก๊อ ตำบล ศรีถ้อย ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก จด แนวเขตหมู่บ้าน ตำบล ศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
การเดินทาง :
ระยะทางจากจังหวัด เชียงใหม่ ถึงอำเภอไชยปราการ ประมาณ 128 กิโลเมตร และ ระยะทางจากอำเภอไชยปราการ ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา 12 กิโลเมตร
สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง ประมาณ 128 กิโลเมตร และถนนลูกรัง 12 กิโลเมตร
สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก :
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถาม ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก และมีสถานที่กางเต้นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวท่านที่ต้องการค้างแรมใกล้ชิด กับธรรมชาติอีกด้วย
สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์อุทยานแห่งชาติภาดเหนือ สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 โทร. (053)818348 โทรสาร. (053) 818348
หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพักฝ่าย นันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5614292-4 ต่อ 724 , 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
ภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน วางตัวในแนวเหนือใต้ เป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำฝาง มียอดดอยเวียงผาสูงสุดในพื้นที่ มีความสูง 1,834 เมตรจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 400 เมตร และสูงสุด 1,834 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดสูงมากกว่า 35%
มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ได้แก่ น้ำแม่ฝาง ห้วยทราย น้ำแม่ฝางหลวง น้ำห้วยไคร้ น้ำแม่ยางมิ้น และน้ำแม่ต๋ำ
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีนกอยู่กว่า 20 ชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ที่เป็นลักษณะเด่นของอุทยาน คือ เวียงผา หมี เก้ง ส่วนสัตว์ที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ไก่ป่า และหมูป่า
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
อุทยานแห่งชาติ ดอยเวียงผา มีสถานที่ท่องเที่ยวและจุดเด่นที่น่าสนใจหลายที่ด้วยกัน อาทิ
น้ำตกแม่ฝางหลวง
น้ำตกดอยเวียงผา
น้ำตกห้วยหาน
น้ำตกตาดเหมย
จุดชมวิวบนดอยเวียงผา
นอกจากนี้ยังมีประเพณีสงกรานต์ และ ประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวเขาที่สวย แปลก และน่าแวะเที่ยวชมอีกด้วย
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
ข้อมูลทั่วไป :
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำปิง วัง ยม และ น่าน มีพันธุ์ไม้มีค่าและ สัตว์ป่าที่สำคัญหลายชนิด และประกอบด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก หน้าผา น้ำพุร้อน อ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่าง ๆ เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,229.8 ตารางกิโลเมตร หรือ 768,625 ไร่
การเดินทาง :
การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ใช้เส้นทางจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันกำแพง ตำบลทาเหนือ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร
สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก :
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์สำหรับผู้ต้องการมาตั้งแคมป์พักแรมไว้ นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์ไปเอง
ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่งานบริการบ้านพักฝ่าย นันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5614292-4 ต่อ 724 , 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงตั้งแต่ 400 - 1,947 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้น 1 อยู่ใน พื้นที่ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ภูเขาเป็นเขาหินปูน มีป่าเบญจพรรณขึ้นอยู่โดยทั่วไป และมีป่าดิบเขาขึ้นตามแนวลำห้วยขุนห้วย หุบเขา และบริเวณป่าต้นน้ำลำธารอย่างหนาแน่น
ลักษณะภูมิอากาศ :
สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
1. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม
2. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
3. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน
สัตว์ป่าประกอบด้วย หมูป่า ลิง ชะนี กวาง เก้ง เลียงผา เสือ กระต่าย ไก่ป่า นกยูง นกนานาชนิด เช่น นกแกง นกกระยาง นกเค้าแมว นกเก้ง เป็นต้น
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
อ่างเก็บน้ำและเขื่อนเก็บน้ำ
ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยผาแหน อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น อ่างเก็บน้ำห้วยบง อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ตะไคร้ เขื่อนเก็บน้ำแม่กวง เขื่อนห้วยแม่ออน
ถ้ำเมืองออน
ตั้งอยู่ที่อำเภอสันกำแพง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ มีปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนาอยู่เป็นอันมาก
สภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม มีลักษณะเด่นเป็นเขาหินปูน มีหินงอกหินย้อย ถ้ำ หน้าผา น้ำตก น้ำพุร้อน ลำห้วย และสภาพป่าที่สมบูรณ์
อุทยานแห่งชาติขุนขานข้อมูลทั่วไป :
อุทยานแห่งชาติขุนขาน ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่โดยประมาณ 248,125 ไร่ หรือ 397 ตารางกิโลเมตร อยู่ในลุ่มน้ำแม่ขาน และลุ่มน้ำแม่แจ่ม
ทิศเหนือ จด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ทิศใต้ จด เขตอุทยานแห่งชาติออบขาน ตำบลบ่อแก้ว ตำบลแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก จด เขตติดต่อ อำเภอแม่ริม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จด เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แจ่ม ตำบลแม่แดด ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
การเดินทาง :
เส้นทางคมนาคม ระยะทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอสะเมิง 51 กิโลเมตร และระยะทางจากอำเภอสะเมิง ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติขุนขาน 18 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก : อุทยานแห่งชาติขุนขาน มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถามให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก และมีสถานที่กางเต้นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยว 1 แห่ง พักได้ทั้งหมด 300 คน สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนขาน 111-1 หมู่ที่ 1 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ประสานงานอุทยานแห่งชาติ สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 เบอร์โทรศัพท์และโทรสาร (053) 818348 หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร.5797223 , 5795734 หรือโทร. 5614292 - 4 ต่อ 724 , 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประมาณ 80% ของพื้นที่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 500 เมตร และสูงสุด 1,708 เมตร สภาพของพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35% เป็นส่วนใหญ่ แม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ได้แก่ น้ำแม่สะเมิง น้ำแม่สาบ น้ำแม่ขาน น้ำอมลอง น้ำแม่โต๋ น้ำแม่บ่อแก้ว น้ำแม่อมแตง น้ำแม่ตาละ น้ำแม่สะงะ และน้ำแม่แจ่ม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
สัตว์ป่าที่เห็นได้โดยมาก ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า ลิง เม่น หมาไน กระต่ายป่า กระรอก อีเห็น และตะกวด ส่วนสัตว์ป่าที่เป็นจุดเด่น ได้แก่ นกนานาชนิด เสือโคร่ง และเลียงผา
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
อุทยานแห่งชาติขุนขาน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่นาเปอะ น้ำตกห้วยตาด น้ำตกห้วยฮ้อม น้ำตกอมลอง น้ำตกห้วยอมแตง หน้าผามาต๊ะ ถ้ำหลวงแม่สาบ บ่อน้ำร้อนท่าโต๋ ดอยซาง ดอยขุนแม่เอ๊าะ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานขุนขานได้ตลอดทั้งปี
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
ข้อมูลทั่วไป :
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่โดยประมาณ 722,075 ไร่ หรือ 1,155 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ จด สหภาพพม่า ตำบล เมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ทิศใต้ จด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ตำบล เมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก จด อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จด อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ได้แก่ ไม้สัก แดง ประดู่ ยาง จำปี ประดู่ส้ม เหียง พลวง รัง ดงดำ ตีนนก ไม้ชั้นล่างประกอบด้วย ไม้ไผ่ หวาย พง ก้อ เป็นต้น และจะมี สน 2 ใบ สน 3 ใบ ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามแนวสันเขาโดยทั่วไป
การเดินทาง :
ระยะทางจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงอำเภอเชียงดาว 79 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอเชียงดาว ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติเชียงดาว 24 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก : อุทยานแห่งชาติเชียงดาวมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถามให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก มีบ้านพักจำนวน 2 หลัง พักได้ทั้งหมด 12 คน และนอกจากนี้ยังมีสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้กางเต้นท์ 1 แห่ง พักได้ทั้งหมด 200 คน สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเชียงดาว บ้านนาหงาย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 50170 หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร.5797223 ,5795734 หรือ โทร.5614292-4 ต่อ 724 , 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
มีลักษณะเป็นพื้นราบและภูเขาสลับซับซ้อนกันหลายลูก มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุด 585 เมตร และสูงสุด 1,824 เมตร มีสภาพความลาดชันของพื้นที่เกินกว่า 35% ใช้ลำห้วยน้ำตกเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
สัตว์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก คือนกชนิดต่างๆ ที่มีประมาณ 40 ชนิด ส่วนสัตว์ป่าที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของอุทยานฯ คือ ไก่ป่า
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว มีภูเขาสลับซับซ้อนเป็นบริเวณกว้าง และยังมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ยังเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ และเป็นป่าที่ติดชายแดนไทยพม่า นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาร่วมฉลองเทศกาลขึ้นปีใหม่และประเพณีสงกรานต์ของ ชาวเขาเผ่าต่างๆ จุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำตกศรีสังวาลย์ น้ำตกทุ่งแก้ว ถ้ำแจ้ง - ป่าหก ถ้ำเมืองนะเหนือ ลำน้ำแม่ปิง ดอยถ้วย จุดชมทะเลหมอก ป่าบงงาม น้ำตกดอยเวียงผา นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวชมน้ำตก เดินป่า ขี่จักรยาน ฯ และสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
อุทยานแห่งชาติแม่โถ
ข้อมูลทั่วไป :
อุทยานแห่งชาติแม่โถ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 618,750 ไร่ หรือ 990 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ จด ห้วยแม่กึ๋ง , ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ทิศใต้ จด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก จด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 และอุทยานแห่งชาติออบหลวง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จด เส้นแบ่งเขตจังหวัดเชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอน
การเดินทาง :
ระยะทางจากจังหวัด เชียงใหม่ ถึงอำเภอ ฮอด 89.00 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอ ฮอด ถึง สำนักงานอุทยานแห่งชาติแม่โถ 71.50 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 147.00 กิโลเมตร และถนนลูกรัง 13.00 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก : อุทยานแห่งชาติแม่โถ มีบ้านพักไว้รองรับนักท่องเที่ยว จำนวน 8 หลัง พักได้ทั้งหมด 40 คน และมีสถานที่ไว้ให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการกางเต้นท์พักแรม สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ประสานงานอุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน กลุ่มนครพิงค์ สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 โทร. (053)818348 , 818348 โทรสาร. (053) 818348 หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5795734 หรือ โทร.5614292-4 ต่อ 724 , 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อน ทอดยาวตามแนวเหนือ - ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่จะมีความลาดชันมากกว่า 35% เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำแม่แจ่มซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำปิง สูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 400 เมตร และสูงสุด 1715 เมตร แหล่งน้ำอุปโภค ได้แก่ สระขุด ลำห้วย แม่น้ำแม่แจ่ม และน้ำซับ แหล่งน้ำบริโภค ได้แก่ น้ำฝน(ต้ม) น้ำซับ ลำห้วย(ต้ม)
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
อุทยานแห่งชาติแม่โถมีนกนานาพันธุ์อยู่ถึง 60 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกกว่า 24 ชนิด สัตว์ที่ถือเป็นจุดเด่นของอุทยาน ได้แก่ กระทิง กวาง และนกยูง และสัตว์ป่าที่มีเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ไก่ป่า และหมูป่า
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
จุดเด่นที่น่าสนใจของอุทยานแห่งชาติแม่โถ มีจุดชมวิว น้ำตก ถ้ำแม่น้ำ โตรกเขา หน้าผา ออบ และยังมีวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเขาที่ชวนให้ศึกษาและเรียนรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถประกอบกิจกรรมได้ที่อุทยานแห่ง ชาติแม่โถ ได้แก่ ล่องเรือหรือแพเพื่อชมธรรมชาติ พักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ อาบแดด เดินชมน้ำตก และเดินป่าเพื่อชมและศึกษาธรรมชาติทั่วไป อุทยานแห่งชาติแม่โถเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคม นักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางมาอุทยานแห่งชาติแม่โถ
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
ข้อมูลทั่วไป :
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 524 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนของทิวเขาผีปันน้ำ มีความสูงตั้งแต่ 400-2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีดอยสำคัญได้แก่ ดอยผ้าห่มปก ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม และดอยอ่างขาง สภาพป่าส่วนใหญ่ยังสมบูรณ์อยู่มาก ทั้งป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณในระดับเชิงเขา ป่าดิบแล้งบริเวณริมลำห้วยลำธาร ป่าสนเขาและป่าดิบเขาบนยอดเขาสูง ป่าผืนนี้เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำฝาง มีไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน มะไฟป่า ตะแบก สัก จำปีป่า ฯลฯ รวมทั้งพันธุ์ไม้ที่หายากของไทย เช่น เทียนหาง กุหลาบพันปี เป็นต้น ด้วยสภาพพื้นที่ที่ติดต่อกับป่าธรรมชาติในพม่า ทำให้มีสัตว์ป่าย้ายถิ่นเข้ามาอยู่เป็นประจำ ป่าแห่งนี้จึงชุกชุมด้วยสัตว์นานาชนิด เช่น เก้ง กวาง หมี หมูป่า เลียงผา ฯลฯ
ทิศเหนือ จด สาธารณรัฐเมียนมาร์ ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ทิศใต้ จด อุทยานแห่งชาติดอยเชียงดาว ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก จด จด ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลท่าตอน ตำบลเวียง ตำบลโป่งน้ำร้อน จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จด ประเทศสหภาพเมียนม่าร์
การเดินทาง :
ในอุทยานฯ ได้จัดเตรียมบ้านพัก ห้องอาบน้ำแร่ ห้องอบไอน้ำ ร้านอาหาร และ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก และลานกางเต็นท์ พร้อมเต็นท์และเครื่องนอนให้เช่าในราคา 250-800บาท / คืน (พักได้ 2-6 คน) และมีบริการให้เช่าชุดเครื่องนอนประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอนและชุดสนาม ในอัตรา 150 บาท/ชุด/คืน หรือชุดเครื่องนอนประกอบด้วยหมอนใหญ่ ที่นอน ผ้าห่มและชุดสนามในอัตรา 200 บาท/ชุด/คืน โดยติดต่อและชำระค่าธรรมเนียมได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ
สถานที่ติดต่อ อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ตู้ ปณ.39 ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110 โทร. 0 5345 1441 ต่อ 302 ส่วนอุทยานแห่งชาติ โทร.0 2579 7223, 0 2561 4293 ต่อ 724, 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
ประกอบไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ได้แก่ ดอยผ้าห่มปก ดอยอ่างยาว ดอยแหลม และดอยปู่หมื่น สูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 400 เมตร และสูงสุด 2,285 เมตร มีสภาพความลาดชันตั้งแต่ 35% - 100% โดยมีแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค คือ ห้วยแม่ใจ และ น้ำตกห้วยโป่งน้ำดังน้อย
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า : อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง มีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก จึงมีสัตว์ป่ามาก มายอาศัยอยู่ ได้แก่ ไก่ป่า หมูป่า นกต่างๆ ส่วนสัตว์ที่เป็นจุดเด่นที่น่าสน ใจได้แก่ ไก่ป่า หมูป่า งูเหลือม นกชนิดต่างๆ ค้างคาว และอื่นๆ อีกมากมาย
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
โป่งน้ำร้อนฝาง เกิดจากพลังงานความร้อนใต้ผิวโลก น้ำมีอุณหภูมิสูงถึง 90-130 องศาเซลเซียส มีน้ำแร่ทั้งปี บริเวณกว้างโปร่งตา โป่งน้ำร้อนฝางมีห้องบริการอาบน้ำแร่ ทั้งห้องอาบน้ำและอบไอน้ำ รวมทั้งบ่ออาบน้ำร้อนกลางแจ้ง เปิดให้บริการตั้งแต่ 08.00-20.00 น. โป่งน้ำร้อนอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ทำการฯ นอกจากนี้จากที่ทำการอุทยานฯ ยังมีเส้นทางเดินขึ้นเขาผ่านป่าเบญจพรรณมาถึงโป่งน้ำร้อนระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร ห่างจากบ่อน้ำร้อนประมาณ 300 เมตรจะมี ห้วยแม่ใจ ซึ่งมีน้ำไหลมากตลอดปี
น้ำตกโป่งน้ำดัง เป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็ก แต่มีเสน่ห์ไม่แพ้น้ำตกขนาดใหญ่ มีถ้ำเล็กๆ พอให้คนเข้าไปนั่งเล่นได้ 3-4 คน เพดานถ้ำมีน้ำหยดตลอดเวลาและเกิดเป็นหินงอกเล็กๆ ไปทั่ว
การเดินทาง จากอ.ฝาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 (ฝาง-เชียงใหม่) ไปประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงวัดแม่สูนหลวงเลี้ยวขวาข้างวัดเข้าไปตามทางอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติ มฝ. 3 จากนั้นต้องเดินตามเส้นทางป่าไปสู่น้ำตก ระยะทางไป-กลับประมาณ 1.5 กิโลเมตร ระหว่างทางผ่านป่าดิบแล้งที่ร่มครึ้มด้วยไม้ใหญ่ บางช่วงต้องเดินข้ามลำธารที่มีน้ำใสไหลเย็น
ดอยผ้าห่มปก มีความสูง 2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงมีเมฆหมอกปกคลุมยอดดอยและมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ดอยผ้าห่มปก คือหนึ่งในเทือกเขาแดนลาวที่ทอดตัวยาวตั้งแต่ทางตอนใต้ของยูนนานลงมาแบ่งชาย แดนไทย-พม่า ตั้งแต่เชียงรายไปจนถึงแม่ฮ่องสอนจนไปจรดกับเทือกเขาถนนธงชัย
บนดอยผ้าห่มปกมีนก และผีเสื้อที่น่าสนใจ เช่น นกปีกแพรสีม่วง นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปกซึ่งพบที่นี่แห่งเดียวเท่านั้นในประเทศไทย ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ เป็นต้น ในฤดูหนาวมีนกอพยพมาอาศัย เช่น นกเดินดงคอแดง นกเดินดงดำปีกเทา นกเดินดงสีน้ำตาลแดง เป็นต้น
นักท่องเที่ยวตั้งแค้มป์พักแรมได้ตรง บริเวณกิ่วลม เนื่องจากทางอุทยานแห่งชาติไม่อนุญาตให้พักแรมบนยอดดอยผ้าห่มปกซึ่งเป็น หน้าผาชันและอาจเกิดอันตรายได้ การเดินทางขึ้นยอดดอยผ้าห่มปกต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน 1 คืน ก่อนเดินทางควรติดต่อขออนุญาต ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ค่าเช่ารถขึ้นจากอุทยานไปส่งที่ทางขึ้นดอยไปส่ง-รับประมาณ 1,500 บาท สอบถามรายละเอียดที่อุทยานฯ โทร. 0 5345 1441 ต่อ 302
การเดินทาง จาก อ.ฝาง ใช้ทาง รพช. สายฝาง-บ้านห้วยบอน ไปจนถึงบ้านห้วยบอน ให้ตรงไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 5 กิโลเมตร มีทางแยกขวาขึ้นเขาชันไปประมาณ 13 กิโลเมตร จะพบหน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวง ตรงไปจนพบสามแยก ถ้าตรงไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาวถ้าไปทางแยกซ้ายประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงกิ่วลมซึ่งมีลักษณะเป็นเขาและมีลานสำหรับจอดรถได้ถ้าเดินทางต่อจากกิ่ว ลมไปอีก 5 กิโลเมตร จะถึงปางมงคล ผู้สนใจเดินทางขึ้นดอยผ้าห่มปกต้องติดต่อที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อนการ จะเดินทางขึ้นสู่จุดยอดดอยผ้าห่มปกนั้นต้องเตรียมตัวอย่างดีเพราะต้องเดิน ป่าปีนเขาอย่างสมบุกสมบันและที่นี่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมไปเอง
ถ้ำห้วยบอน เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ลึกประมาณ 300 เมตร ภายนอกถ้ำอาจดูไม่น่าสนใจนัก แต่เมื่อเข้าไปถึงประมาณกลางถ้ำ จะพบโถงถ้ำใหญ่ซึ่งจุคนได้ประมาณ 40-50 คน สภาพถ้ำเต็มไปด้วยเสาหินและหินงอกหินย้อยขนาดต่างๆ ซึ่งดูน่าตื่นตาตื่นใจมากถ้ำห้วยบอนเป็นถ้ำที่ยังมีการสะสมตัวของหินปูน สังเกตได้จากการมีน้ำหยดตามผนังถ้ำและหินงอกหินย้อยต่างๆ ตลอดเวลา การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไปกิ่วลมเพื่อขึ้นดอยผ้าห่มปก
อุทยานแห่งชาติออบขาน
ข้อมูลทั่วไป :
อุทยานแห่งชาติออบขาน มีเนื้อที่ 341,875 ไร่ หรือ 547 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ จด อำเภอสะเมิง ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ทิศใต้ จด น้ำแม่วาง อำเภอแม่วาง ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก จด ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1269 (หางดง - สะเมิง) ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จด ถนน ร.พ.ช. หมายเลข 12039 , 12040 (แม่วิน - บ่อแก้ว) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
การเดินทาง :
ระยะทางจากจังหวัด เชียงใหม่ ถึงอำเภอหางดง ประมาณ 40.00 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอหางดง ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติออบขาน 45.00 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 75 กิโลเมตร และถนนลูกรัง 15 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก : อุทยานแห่งชาติออบขานมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถามให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก มีสถานที่กางเต้นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยวจำนวน 3 แห่ง พักได้ทั้งหมด 1000 คนและร้านสวัสดิการอุทยานฯ บริการอาหาร เครื่องดื่ม
สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบขาน 34/1-2 ถนนเวียงบัว ซอยทานตะวัน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. (053) 215204 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร.5797223 , 5795734 หรือ โทร.5614292 - 4 ต่อ 724 , 725
ลักษณะภูมิประเทศ :
มีลักษณะเด่นตามธรรมชาติ ภูมิทัศน์สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 800 เมตร ถึง 1850 เมตร มีป่าธรรมชาติ และป่าสนสองและสามใบ ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ตอนล่างของพื้นที่มีความลาดชันตั้งแต่ 15 - 70 องศา ตอนล่างและตอนบนของพื้นที่ มีความลาดชัน 38 - 80 องศา มีหน้าผาสูงชันหลายแห่ง
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :
อุทยานแห่งชาติออบขาน มีสัตว์หลายชนิดด้วยกัน ที่นี่มีแมลงอยู่ถึง 6000 ชนิดด้วยกัน สัตว์ที่ถือว่าเป็นจุดเด่นคือ สัตว์จำพวกนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก เก้ง และสัตว์จำพวกแมงต่างๆ สัตว์ที่มีอยู่จำนวนมาก ได้แก่ แมลง นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กระต่าย กระรอก หมู่ป่า และหมาจิ้งจอก
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
อุทยานแห่งชาติออบขานมีสถานที่ที่เป็นจุดเด่นที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งมีออ บถ้ำน้ำตก น้ำพุร้อน ภูมิทัศน์อันสวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี มีชีวภาพอันหลากหลาย ในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีถ้ำเป็นที่อาศัยของมนุษย์ยุคหิน มีซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ และภาพลายแทงตามถ้ำ มีวัดเก่าและเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมของชาวพื้นราบที่เจริญรุ่งเรือง และความหลากหลายของชายไทยภูเขา
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ อ่างเก็บน้ำห้วยอีนูน อยู่บริเวณขุนน้ำแม่วาง น้ำตกแม่วาง อยู่บริเวณขุนห้วยแม่เตียน น้ำตกแม่เตียน อยู่บริเวณ ขุนห้วยแม่ป๋วย น้ำตกมรกต ติดเทือกเขาดอยอินทนนท์ ภูเขาเทือกอินทนนท์ อยู่บริเวณเทือกเขาดอยสะเมิง นอกจากนี้ยังมีภูเขาเทือกดอยสะเมิง หน้าผาดอยบ้านปง ภูเขาดอยบ่อแก้ว ถ้ำตั้กแตน หน้าผาดอยแม่วาง ดอยสะเมิง ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่ขาน น้ำพุร้อนแม่โต๋ ถ้ำผาลาย วัดหลวง เป็นต้น
กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมคือ การเดินป่า ถ่ายรูป ล่องเรือ เล่นน้ำตก และขี่จักรยาน เป็นต้น อุทยานแห่งชาติออบขานจะเหมาะกับการท่องเที่ยวในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนเมษายน
ดอยอ่างขาง
ข้อมูลทั่วไป :
อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม -มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว
การเดินทาง :
บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า
สิ่งอำนวยความสะดวก :
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีที่พักแรมได้ประมาณ 80 คน บริการอาหารวันละ 3 มื้อ/คน/วันคนละ 100 บาท เฉพาะกรณีที่สถานีฯมีความสะดวกในการรับบุคคลภายนอกเท่านั้น ติดต่อรายละเอียดโครงการหลวง 65 ถนนสุเทพเชียงใหม่ 50002 หรือ สถานีเกษตรหลวงอ่าวขาง ตู้ปณ.14 อำเภอฝาง เชียงใหม่ 50110
ที่พักเอกชนหน้าสถานีฯ ได้แก่ บ้านดอกเหมย, บ้านคนเมือง และร้านสามพี่น้อง มีที่พักเป็นหลังๆ พักได้ 4-8 คน อัตราค่าที่พัก 350-500 บาท/หลัง ติดต่อบ้านดอกเหมย บ้านสามพี่น้องที่ 62 หมู่ บ้านหลาจู ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง :
มีหลายอย่างที่สามารถจัดขึ้นได้ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขางริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวขึ้นที่นี่ ได้แก่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้น
ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมน้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี
เส้นทางจักรยานเสือภูเขา
จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และ จากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง
จุดชมนก
มีนกมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆรีสอร์ธรรมชาติอ่างขาง
การขี่ฬ่อล่องไพร
ชมความงดงามของธรรมชาติในบรรยากาศเย็นสบายรอบๆดอยอ่างขางด้วยการนั่งบนหลัง ฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้างเนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่าง การขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย
จุดเด่นที่น่าสนใจ :
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
เรื่องกำเนิดของสถานีฯแห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระ เจ้าอยู่หัวเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็น หลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นชาวเขา กลุ่มนี้ยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์จึงมีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯจึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ มีการจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล
สวนบอนไซ
อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
หมู่บ้านคุ้ม
ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็กๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว
จุดชมวิวกิ่วลม
อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่บ้านนอแล
ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า
หมู่บ้านขอบด้ง
เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอ ดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)
บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของ ชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มี โอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วน ตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อ ช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็กๆด้วย
หมู่บ้านหลวง
ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยู นานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ
เส้นทางแม่ริม-สะเมิง
(ทางหลวงหมายเลข 1096 แยกจากทางหลวงหมายเลข 107)
การเดินทาง ตามเส้นทางสายนี้มีรถสองแถวสายแม่ริม - สะเมิง ท่ารถอยู่ใกล้กับตลาดวโรรส
สวนกล้วยไม้และฟาร์มผีเสื้อ
ตามเส้นทางนี้มีอยู่หลายแห่งที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ที่แปลกและหาดูได้ยากไว้ด้วย อาทิ สายน้ำผึ้งพิพิธภัณฑ์กล้วยไม้ไทย ไปตามถนนสายแม่ริม-สะเมิง 2 กิโลเมตร และแยกซ้ายอีก 1 กิโลเมตร เป็นสวนกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ มีฟาร์มผีเสื้อ แมวไทย และสัตว์อื่นๆ ให้ชมด้วย โทร. (053) 297152, 298771-2 ตรงกันข้ามเป็น สวนกล้วยไม้เมาท์เท่น ออคิด โทร. (053) 297343 แม่แรมออร์คิด ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 5.5 มีการปลูกพันธุ์กล้วยไม้นานาชนิด สาธิตการปลูกกล้วยไม้ และจัดเป็นฟาร์มผีเสื้อด้วย จำหน่ายสินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องประดับ เช่น เข็มกลัด ต่างหู สร้อย ซึ่งทำจากกล้วยไม้ ใบไม้ และแมลงต่างๆ โทร. (053)298801-2
ฟาร์มงูแม่สา
ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 3 เส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง เป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์งูที่มีในเมืองไทยและศึกษาด้านการขยายพันธุ์ มีการแสดงของงูและการรีดพิษงูให้นักท่องเที่ยวชมทุกวัน แบ่งเป็นรอบๆ แต่ละรอบใช้เวลาแสดงประมาณ 30 นาที ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 860719
น้ำตกแม่สา
แยกเข้าทางซ้ายมือตรงกิโลเมตร ที่ 7 เข้าเขตวนอุทยาน น้ำตกแม่สาเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของอำเภอแม่ริม แบ่งเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามเชิงเขาถึง 8 ชั้น ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ ทำให้สภาพอากาศร่มรื่นเย็นสบายตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนที่ได้รับความนิยมมากทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว ต่างถิ่น
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ตั้ง อยู่ในพื้นที่จำนวน 3,500 ไร่ บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ท้องที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม ทางเข้าอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 12 สายแม่ริม-สะเมิง สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพ พื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมรอบๆได้ จุดที่แวะชมได้ คือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์เพาะกล้วยไม้ไทย อาคารพืชสมุนไพร พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร ศูนย์วิจัย และอาคารเรือนกระจก และมีเส้นทางเดินเท้าที่จัดไว้ 3 เส้น คือ 1. Rock Garden - Thai Orchid Nursery (สวนหิน-ศูนย์อนุบาลกล้วยไม้ไทย) ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที 2. Arboreta (เส้นทางศึกษาพรรณไม้) รวบรวมพรรณไม้ไว้มากกว่า 10 วงศ์ เช่น กล้วย ปาล์ม ไซแคด เฟิร์น ขิง เป็นต้น ใช้เวลา 45-60 นาที 3. Climber Collection (เส้นทางขึ้นเขา) ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30-16.00 น. ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถรวมทั้งคนขับ 50 บาท
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ ตู้ ปณ. 7 อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ 50180 โทร. (053) 298171-5 ต่อ 4736, 4739 โทรสาร 299754 กรุงเทพฯ ติดต่อได้ที่ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 280-2907
บ้านม้ง (แม้ว) แม่สาใหม่
เลี้ยวซ้ายมือ ตรงกิโลเมตรที่ 12 เข้าไปอีก 7 กิโลเมตร แต่สภาพทางเป็นลูกรังและสูงชัน ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น ชาวบ้านมีความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นจริงของการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ ตลอดจนงานศิลปหัตถกรรมของชาวเขา
บนเส้นทางสายนี้ยังมีรีสอร์ทหลายแห่งที่ประดับด้วย ดอกไม้และตกแต่งสวยงามพร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้วย เช่น แม่สาวาเลย์ แม่สารีสอร์ท (มีสนามกอล์ฟ 9 หลุม) ไร่กังสดาล เป็นต้น (ดูรายละเอียดในสถานที่พัก)
เส้นทางแม่มาลัย-ปาย
(ทางหลวงหมายเลข 1095 แยกจากทางหลวงหมายเลข 107)
โป่งเดือดป่าแป๋
อยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง ห่างจากเชียงใหม่ประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นน้ำร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินสูงเกือบ 4 เมตร นับว่าเป็นน้ำพุร้อนที่ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศ รอบๆ บริเวณซึ่งเป็นป่าทึบจะอบอวลไปด้วยกลิ่นกำมะถัน การเดินทาง ใช้ถนนสายแม่มาลัย-ปาย ไปประมาณ 35 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 6.5 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง สภาพยังไม่ดีนัก
น้ำตกหมอกฟ้า
ตั้งอยู่บนถนนสายแม่มาลัย-ปา ย กิโลเมตรที่ 20 แยกซ้ายยเข้าไปเป็นทางลูกรังอีกประมาณ 2 กิโลเมตรจึงจะถึงน้ำตก เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่มีน้ำไหลตลอดทั้งปีและมีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆใกล้เคียงอีก ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ โป่งน้ำร้อนท่าปาย น้ำตกแม่เย็น
ห้วยน้ำรูหรือดอยสามหมื่น
ตั้งอยู่ในเขต ท้องที่ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หมูบ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ทัศนียภาพที่สวยงาม และชมการปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาว มีที่พักและอาหารไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว เป็นบ้านพักรวม 4 หลัง แต่ละหลังมีเครื่องทำน้ำอุ่นไว้บริการ
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ห้วยน้ำดัง และเลยเข้าไปทางห้วยน้ำดังอีก 21 กิโลเมตร ทางยังไม่ลาดยางใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง มีบ้านพักแต่ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน ที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-7587
ป่าสนบ้านวัดจันทร์
ผืนดินแห่งนี้ชาวกะเหรี่ยง มูเส่คี (หมายถึง ต้นน้ำแม่แจ่ม) ได้พึ่งพาอาศัยดำรงชีวิตมานับร้อยปี พวกเขาช่วยกันดูแลรักษาผืนดินผืนป่าแห่งนี้อย่างดีเหมือนเป็นสามชิกครอบครัว เลยก็ว่าได้ ตามธรรมเนียมกะเหรี่ยงเมื่อมีเด็กเกิดใหม่จะนำสายสะดือของเด็กไปผูกไว้กับ ต้นไม้กำหนดว่าเป็นต้นไม้ของครอบครัวใครจะมาตัดไม่ได้
สนที่ขึ้นที่นี่เป็นสนเขาทั้งสนสองใบและสามใบที่จะ ขึ้นเฉพาะในที่สูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ยางสนนำไปใช้ประโยช์ได้หลายอย่าง เช่น เป็นตัวช่วยให้ฝืดโดยนำไปใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายได้ หรือนำไปสกัดเป็นน้ำมันสนที่ใช้ผสมกับสีน้ำมันช่วยให้สีแห้งเร็ว แต่เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของป่าที่นี่จึงไม่มีการทำยางสน ชาวบ้านได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงให้เลี้ยงไก่เบสซึ่งเป็นไก่เนื้อ พันธุ์ดีกิโลกรัมละหลายร้อยบาท
ผู้สนใจมาหาประสบการณ์ชีวิตจากที่นี่นำจักรยานมาปั่น ได้จะดีมากเพราะอากาศที่นี่เย็นสบายตลอดปี ทิวทัศน์เป็นป่าสนสวยงาม หรือจะนำเรือยางมาพายในทะเลสาบที่นี่ก็ได้ กิจกรรมแบบนี้นอกจากไม่ก่อมลพิษแล้วเรายังได้อยู่กับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ด้วย บ้านพักติดต่อที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) บ้านวัดจันทร์ โทร.(053) 249349
การเดินทาง มีหลายเส้นทางให้เลือกแต่ไม่ว่าจะเลือใช้ทางใดก็ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ เท่านั้น เส้นทางที่สะดวกที่สุดคือ สายแม่มาลัย-ปาย ประมาณ 80 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 40 กิโลเมตร สายสะเมิง-วัดจันทร์ เป็นทางลูกรังเช่นกันระยะทาง 80 กิโลเมตร อีกสองเส้นทางที่ลำบากกว่าสองทางแรกคือ อำเภอแม่แจ่ม-บ้านวัดจันทร์ และ อำเถเมืองแม่ฮ่องสอน-บ้านวัดจันทร์ เส้นทางหลังจะมีความงามมาก
เส้นทางบ้านเมืองงาย- อำเภอเวียงแหง
(ทางหลวงหมายเลข 1322 แยกจากทางหลวงหมายเลข 107)
พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์
อยู่ ที่บ้านเมืองงาย ประชาชนได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพระองค์เคยเสด็จมาประทับแแรม ที่เมืองงายแห่งนี้ก่อนที่จะกรีฑาทัพต่อไปยังเมืองอังวะของพม่า เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม ที่ฐานด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ละด้านของฐานเป็นแผ่นศิลาสลักเรื่องพระราชกรณียกิจของพระองค์ สลับกับแผ่นหินอ่อนที่เล่าพระราชประวัติ ประวัติการสร้างพระสถูป ด้านหลังเป็นค่ายหลวงจำลองที่ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระสุพรรณกัลยา
อำเภอเวียงแหง
เป็นเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทยพม่า มีคนหลายเชื้อชาติอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ทั้งชาวเขา ไทยใหญ่ จีนฮ่อ แต่ละกลุ่มต่างก็ยังดำรงชีวิตตามขนบธรรมเนียมเดิมของตนเอง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะปลูกข้าว เพราะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ใจกลางหุบเขา ชาวบ้านใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายเพราะความเจริญยังแพร่มาไม่มากนัก เนื่องจากการสัญจรไปมาต้องผ่านเส้นทางคดเคี้ยวสูงชันเลาะขุนเขาหลายลูกกว่า จะเข้าถึงได้ ปัจจุบันพึ่งมีถนนลาดยางตัดเข้าถึง จึงเหมือนเป็นการเปิดอำเภอนี้สู่โลกภายนอกอย่างแท้จริง
แต่ในขณะเดียวกันทางอำเภอมีนโยบายที่จะแบ่งเขตการ พัฒนา โดยตำบลเมืองแหงเป็นที่อยู่อาศัยและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี โบราณสถาน ตำบลแสนไหเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและการเกษตร ตำบลเปียงหลวงเป็นพื้นที่ธุรกิจการค้าขายชายแดน อำเภอนี้มีสิ่งที่น่าชมหลายอย่าง ได้แก่
พระบรมธาตุแสนไห
อยู่ที่ตำบลเมืองแหง จากบ้านเมืองายเข้ามา 55 กิโลเมตร เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแต่มาได้รับการบูรณะในพ.ศ. 2457 เป็นปฏิมากรรมผสมระหว่างพม่าและลานนาไทย ซึ่งการก่อสร้างทับพระธาตุเดิมที่มีขนาดเล็ก โดยของใหม่มีสันฐาน 8 เหลี่ยม สันนิษฐานว่าที่นี่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยกทัพไปยังเมืองอังวะของพม่าเมือปี พ.ศ. 2147 หลังจากประชุมพลที่เมืองงาย จึงเสด็จไปทางเมืองห้างหลวงซึ่งน่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบันเพราะมีคูเมือง ล้อมยาวกว่า 2 กิโลเมตร และเป็นเมืองเดียวที่อยู่ระหว่างเมืองงายกับเมืองอังวะของพม่า เชื่อว่าพระองค์น่าจะเสด็จมาพักทัพที่พระบรมธาตุแห่งนี้และสร้างบ่อน้ำใช้ ส่วนพระองค์และช้างศึกตรงบริเวณด้านหน้าเนินเขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำช้าง ประเพณีที่สำคัญของวัดนี้ คือ งานสรงน้ำพระบรมธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
วัดฟ้าเวียงอินทร์
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็น แบบไทยใหญ่ อยู่ที่บ้านหลักแต่งตรงชายแดนไทย-พม่าพอดีสมัยก่อนบริเวณบ้านหลักแต่งนี้ถือ เป็นเขตอิทธิพลของขุนส่า อาณาเขตของวัดนี้จึงนับเป็นดินแดนเดียวกันแต่เมื่อขุนส่ามอบตัวแก่รัฐบาล ทหารพม่า ดินแดนวัดถูกแยกเป็นสองส่วน มีเจดีย์สีเหลืองทองอร่ามอยู่ในแดนไทยและจะมองเห็นหลังคาโบสถ์สีแดงทรงไทย ใหญ่อยู่ในฝั่งพม่า ด้านหลังเป็นศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชชาวบ้านจะให้ความเคารพมาก และที่เชิงเขาด้านหลังเป็นสุสานนายพลโมเฮงอดีตผู้นำชาวไทยใหญ่ที่นี่
บ้านเปียงหลวง
อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า มีด่าน “ช่องหลักแต่ง” เป็นด่านชั่วคราวที่เปิดการค้าขายชายแดนในระดับท้องถิ่นในยามเหตุการณ์สงบ ด่านจะเปิดให้ชาวบ้านในละแวกข้ามมาค้าขายกันได้ ชาวบ้านในตำบลนี้เป็นจีนฮ่อและไทยใหญ่ โดยชาวจีนฮ่อนั้นอพยพเข้ามาในสมัยเจียงไคเช็คเป็นประธานประเทศ แต่ก็ยังไม่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิม ทุกคนจะเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมตอนเย็นโดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน
การเดินทาง หากจะเดินทางมาที่อำเภอนี้โดยรถยนตร์ส่วนตัวใช้ทางหลวง 107 และแยกซ้ายที่เมืองงายเข้าทางหลวง 1322 ระยะทาง 72 กิโลเมตร แต่หากมาโดยรถประจำทางขึ้นรถที่ท่ารถถนนช้างเผือก สายดาวทอง (เวียงแหง-เปียงหลวง) เป็นรถสองแถวสีขาว 6 ล้อ รถออก เวลา 8.00, 12.00 และ 15.00 น. จากเวียงแหงรถออกตรงหน้าตลาด เวลา 7.00, 8.00 และ 15.00 น. ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง ค่ารถ 70 บาท
เส้นทางหางดง-สะเมิง
(ทางหลวงหมายเลข 1269 แยกจากทางหลวงหมายเลข 108)
โครงการหลวงห้วยผักไผ่ (สวนกุหลาบหลวง)
ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ฮะ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง บนเส้นทางสายสะเมิง-หางดง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 17 แยกเข้าไปประมาณ 300 เมตร สามารถเดินทางจากเชียงใหม่ได้สองทาง คือ ตามทางสายเชียงใหม่-แม่ริม-สะเมิง-หางดง ระยะทาง 32 กิโลเมตร และเส้นทางสายเชียงใหม่-หางดง-สะเมิง ระยะทาง 43 กิโลเมตร งานหลักของโครงการฯ คือ การรวบรวม ศึกษา และขยายพันธุ์กุหลาบชนิดต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจคือ “สวนกุหลาบหลวง” ซึ่งเป็นแปลงกุหลาบในเนื้อที่12 ไร่ ปลูกไล่ไปตามไหล่เขา มองดูสวยงาม นับเป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์กุหลาบที่มากที่สุด ช่วงฤดูที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์
ตามเส้นทางสายนี้มีรีสอร์ท หลายแห่งที่มีการตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างสวยงามและเปิดให้นักท่อง เที่ยวเข้าชม หรือไปแค้มป์ปิ้งได้ เช่น กฤษดาดอย อุทยานล้านนา ดูรายละเอียดในข้อมูลที่พัก
เส้นทางสายเหนือ
(ทางหลวงหมายเลข 107 เชียงใหม่-ฝาง)
พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ตั้ง อยู่ในบริเวณสวนล้านนา ร.9 ถนนโชตนา อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางด้านชาติพันธุ์วิทยา จัดเก็บรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าบนที่สูง หรือ “ชาวเขา” ประกอบด้วยกลุ่มชนจำนวน 9 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ มูเซอ ลัวะ ถิ่น ขมุ และกลุ่มชนเล็กที่สุดอีกกลุ่มหนึ่งคือ มลาบรี หรือผีตองเหลือง มีลักษณะวัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างกันไป พิพิธภัณฑ์ชาวเขาได้จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวเขา ซึ่งถูกนำมาถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงทางวัตถุศิลป์ จัดเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวเขาที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้น คว้าสำหรับผู้สนใจทั่วไป
พิพิธภัณฑ์ชาวเขาแห่งนี้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและน่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เปิดทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น. ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 210872
โรงงานไทยศิลาดล
เป็น โรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผาแบบโบราณ ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร โรงงานเปิดจันทร์-เสาร์ เวลา 8.00-17.00 โทร. (053) 213245, 213541
ป่าเกี๊ยะหรือแม่ตะมาน
(เกี๊ยะ เป็นคำเมืองแปลว่า ต้นสน) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอเชียงดาว ขึ้นอยู่กับส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากหน่วยงานมองเห็นยอดดอยเชียงดาวและทะเลหมอกยามเช้า มีแปลงดอกไม้ และแปลงทดลองปลูกกาแฟ การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ประมาณ 67 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าหน่วยงานฯ อีกประมาณ 21 กิโลเมตรสภาพทางช่วงนี้ลำบากมากเป็นทางลูกรังและเป็นหลุมเป็นบ่อต้องใช้รถ ขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น
ถ้ำเชียงดาว
อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว การเดินทาง จากเชียงใหม่ไปยังอำเภอเชียงดาว ระยะทาง 72 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกเข้าไปจนถึงถ้ำอีก 5 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางจนถึงบริเวณถ้ำ มีบริเวณจอดรถกว้างขวาง ทางเข้าถ้ำเป็นบันไดมีหลังคามุงสังกะสี หน้าถ้ำมีธารน้ำไหลผ่านเต็มไปด้วยปลาหลายชนิด ด้านขวามือตรงกลางสระเป็นเรือสำเภาหิน เสียค่าเข้าชมคนละ 5 บาท หรือหากต้องการชมบริเวณถ้ำทั้งหมด ติดต่อคนนำทางได้บริเวณหน้าถ้ำโดยเสียค่าบริการพิเศษ
ดอยเชียงดาว
อยู่ใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ยอดสูงสุดของดอยเชียงดาว เรียกว่า ดอยหลวงเชียงดาว (เพี้ยนมาจากคำที่ชาวบ้านในละแวกเปรียบเทียบดอยนี้ว่าสูง "เพียงดาว") มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนรูปกรวยคว่ำสูง 2,195 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นยอดดอยที่สูงอันดับ 3 ของประเทศรองจากดอยอินทนนท์และผ้าห่มปก จากบนยอดดอยซึ่งเป็นที่ราบแคบๆ สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงามรอบด้าน คือ ทะเลหมอกด้านอำเภอเชียงดาว ดอยสามพี่น้อง เทือกดอยเชียงดาว ตลอดจนถึงยอดดอยอินทนนท์อันไกลลิบอากาศเย็น ลมแรง และสมบูรณ์ด้วยดอกไม้ป่าภูเขาที่หาชมได้ยากมากมายรวมทั้งนกและผีเสื้อด้วย (ไม่เหมาะที่จะขึ้นไปยืนบนยอดดอยทีละกลุ่มใหญ่ๆเพราะจะไปเหยีบย่ำทำลายพรรณ ไม้บนนั้นได้แม้จะโดยไม่ตั้งใจก็ตาม)
การเข้าไปใช้พื้นที่ต้องทำ หนังสือขออนุญาตถึงผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ อย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการเดินทาง รายละเอียด โทร. 561-2947
การเดินทางสู่ยอดดอยเชียงดาว เริ่มที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถติดต่อคนนำทาง ลูกหาบ รวมทั้งรถไปส่งที่จุดเริ่มเดินได้ โดยค่าเช่ารถประมาณ 900 บาท ค่าจ้างลูกหาบประมาณวันละ 300 บาทต่อลูกหาบหนึ่งคน บนดอยเชียงดาวไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมตัวไปด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน อาหาร และน้ำ
ส่วนเส้นทางลงนิยมใช้ทางสายบ้านถ้ำซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำเชียงดาว เพราะมีทางสูงชันสามารถลงได้รวดเร็วกว่าแต่ไม่เหมาะกับการขึ้น
โครงการหลวงห้วยลึก
ตั้ง อยู่ที่อำเภอเชียงดาวตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ 95 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 500 เมตร โครงการนี้ดำเนินการจัดพื้นที่ทำกินให้แก่ชาวเขาเผ่าแม้ว กะเหรี่ยง และคนเมืองในบริเวณพื้นที่ โดยทำการส่งเสริม วิจัย และเพาะพันธุ์ให้แก่เกษตรกร ผลิตผล ได้แก่ ผักจำพวกผักสลัด แคนตาลูป ฯลฯ ไม้ดอก เช่น เบญจมาศ พีค็อก ฯลฯ ไม้ผล เช่น ทับทิม ฝรั่งคั้นน้ำ เป็นต้น ฤดูท่องเที่ยวของที่นี่จะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เนื่องจากมีผลิตผลให้ชมและซื้อหาได้
วัดถ้ำตับเต่า
อยู่ ในเขตอำเภอไชยปราการ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเต่า มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเต่านี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน
บ่อน้ำร้อนฝาง
ตั้ง อยู่ห่างจากอำเภอฝางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร ในเขตตำบลบ้านปิน น้ำร้อนเกิดจากหินแกรนิตที่มีความร้อนเกือบเดือด หรือเดือดระหว่าง 90 - 100 องศาเซลเซียส มีมากกว่า 50 แห่ง บ่อใหญ่มีไอน้ำพุ่งขึ้นสูงส่งกลิ่นกำมะถันกระจายไปทั่ว
ดอยผ้าห่มปก
อยู่ใน เทือกแดนลาวที่ทอดตัวยาวมาตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศยูนนานลงมาแบ่งชายแดนไทย -พม่าตั้งแต่เชียงรายจนถึงแม่ฮ่องสอนจึงไปจรดกับเทือกเขาถนนธงชัย ดอยแห่งนี้มีความสูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ (2,297 เมตร) ดูจะสูงตระหง่านเสียดฟ้ามีเมฆหมอกปกคลุมอยู่ตลอดเวลาจึงมีผู้เปรียบเปรยว่า “ฟ้าห่มปก” การที่ขึ้นไปสัมผัสหมอกหนาวและไอเย็นที่นี่ นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพภาพอันสวยงามแล้ว ยังจะได้พบนกนานาชนิดที่อาศัยที่นี่เป็นทั้งที่พักพิงชั่งคราวและประจำ มีชนเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ที่นี่มานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้วคือมูเซอ การจะเดินทางขึ้นสู่จุดยอดดอยผ้าห่มปกนั้นต้องเตรียมตัวอย่างดีเพราะต้อง เดินป่าปีนเขาอย่างสมบุกสมบัน และก่อนเดินทางติดต่อขออนุญาตจากส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ โทร. 561-4292 ต่อ 736 และที่นี่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆนักท่องเที่ยวต้องเตรียมไปเอง
การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝางประมาณ 150 กิโลเมตร ฝาง-แม่อาย 9 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายที่ตลาดบ้านป่าซางอีก 14 กิโลเมตร ผ่านดอยปู่หมื่นไปจนถึงหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง สภาพทางยังเป็นลูกรัง มีเส้นทางต่อไปหน่วยย่อยอีก 5 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าต่อไปยอดดอย 8 กิโลเมตร
ท่าตอน-เชียงราย
ท่า ตอนเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตอำเภอแม่อาย เป็นที่ซึ่งแม่น้ำกกไหลผ่านลงไปถึงตัวอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แม่น้ำกกนี้เป็นแม่น้ำสายสำคัญในการคมนาคมระหว่าง 2 จังหวัด ปกติแล้วจะมีเรือหางยาวบริการรับส่งผู้โดยสารจากท่าตอนล่องไปตามแม่น้ำกกจน ถึงเชียงราย จะเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฟากฝั่งแม่น้ำกก ซึ่งเรือดังกล่าวออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ไปถึงเชียงรายประมาณ 16.00 น. (ค่าโดยสารเรือหางยาวคนละ 200 บาท เหมาลำละ1,600 บาท) สอบถามรายละเอียด โทร. (053) 459427
นอกจากนี้ยังมีทัวร์ล่องแพพา แวะเที่ยวบ่อน้ำพุร้อน บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอ นั่งช้างชมรอบหมู่บ้านและเดินป่าบริเวณใกล้เคียง ติดต่อที่ร้านจันทร์เกษม โทร. (053) 459313 คุณตาบทิพย์ วรรณรัตน์ โทร. (053) 459138 และท่าตอนทัวร์ โทร. (053) 373143
วัดท่าตอน
เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาต่อเนื่องกันหลายลูก มีเนื่อที่กว่า 400 ไร่ อยู่ติดริมแม่น้ำกก เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานได้จากวัตถุโบราณที่ค้นพบในบริเวณนี้ วัดท่าตอนยังเป็นสถาบันการศึกษาสำหรับพระภิกษุ สามเณร และเยาวชน เป็นศูนย์บำบัดยาเสพติด และสงเคราะห์ชาวเขา เป็นวัดที่มีทิวทัศน์งดงาม และเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ทางวัดได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างเจดีย์แก้วเฉลิมพระเกียรติไว้บนยอดเขา ด้านบนมีจุดชมวิวซึ่งจะมองเห็นชุมชน ทุ่งนา และแม่น้ำกกไหลคดเคี้ยวอยู่เบื้องล่าง
เส้นทางสายตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 1004)
สวนรุกขชาติห้วยแก้ว
อยู่ ข้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้นานาชนิดไว้ศึกษา เป็นสถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนและยังมีสวนสุขภาพสำหรับออกกำลังกาย
สวนสัตว์เชียงใหม่
อยู่ ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ได้รับการจัดสภาพอย่างดี บริเวณกว้างขวาง มีบรรยากาศร่มรื่น และมีสัตว์อยู่มากกว่า 2,000 ชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 5 บาท และยังมีร้านอาหาร สถานที่แค้มปิ้งพร้อมเต็นท์ ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อจองล่วงหน้าที่ โทร. (053) 221179, 222283
เส้นทางสายตะวันตกเฉียงใต้ (ทางหลวงหมายเลข 108)
หมู่บ้านทำเครื่องเงิน
อยู่ บริเวณถนนวัวลาย ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเครื่องเงิน เช่น หีบบุหรี่ ช้อนส้อม ถาดผลไม้ เชี่ยนหมาก ฯลฯ มีลวดลายประณีตบรรจง นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตเครื่องเงินอยู่บริเวณเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง และถนนช้างคลาน
ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
ตั้ง อยู่บนถนนสายเชียงใหม่-หางดง เป็นที่รวมศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนา เป็นหมู่เรือนไทยไม้สักประตูหน้าต่างประดับด้วยไม้แกะสลักอย่างสวยงาม มีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้าน และมีหมู่บ้านชาวเขาให้เที่ยวชม ส่วนในตอนกลางคืนมีบริการอาหารเย็นแบบ“ขันโตก” ซึ่งประกอบด้วยอาหารเหนือ เช่น แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง แคบหมู เป็นต้น โดยนักท่องเที่ยวจะรับประทานอาหารและชมการแสดงฟ้อนพื้นเมืองไปพร้อมๆ กัน
เมื่อเสร็จสิ้นการแสดงฟ้อนรำ พื้นเมืองแล้ว นักท่องเที่ยวจะได้ชมการแสดงของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง (แม้ว) อีก้อ มูเซอ เย้า และลีซอ อีกทั้งแต่ละเผ่ามีการแสดงที่ไม่เหมือนกัน โดยแสดงทุกวันตั้งแต่เวลา 19.00-22.00 น. รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. (053) 274540, 275097
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งที่ จัดกิจกรรมแบบนี้ เช่น คุ้มแก้วพาเลซ โทร. 214315 ขันโตกบ้านร้อยจันทร์ โรงแรมปางสวนแก้ว โทร. 224444 เป็นต้น
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง
ผลิตภัณฑ์มีหลายอย่างเช่น หม้อแกง หม้อน้ำ แจกัน โดยเฉพาะน้ำต้น(คนโทใส่น้ำที่ชาวเหนือนิยมวางไว้หน้าบ้านให้ผู้ผ่านไปมาได้ ดื่มดับกระหาย)นั้นเป็นที่นิยมทั่วไปแก่คนที่พบเห็น ปัจจุบันได้มีการพัฒนากรรมวิธีในการผลิตและรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาเพื่อให้ ผลิตภัณฑ์มีสีสันสดขึ้น แต่มีการทำเครื่องปั้นดินเผาในบางครัวเรือนเท่านั้น
การเดินทาง บ้านเหมืองกุงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางเชียงใหม่-หางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร และระยะทางห่างจากถนนสายวงแหวน (ทางหลวงหมายเลข 11 สนามบิน) ประมาณ 6 กิโลเมตร โดยอยู่ก่อนถึงทางแยกตัดใหม่สายหางดง-สะเมิงเพียงเล็กน้อย
บ้านถวาย
อยู่ถัด จากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 15 ถึงห้องสมุดประชาชนอำเภอหางดง จึงแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน มีโรงงานผลิตไม้แกะสลักเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง มีชื่อเสียงในการทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมการผลิตและซื้อเป็นสินค้าที่ระลึกได้
เวียงท่ากาน
เป็น เมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งในสมัยหริภุญชัย เชื่อว่าเมืองนี้คงจะเริ่มสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 สมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญชัยสืบต่อมาจนถึงสมัยพญามัง รายช่วงก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ โบราณสถานที่สำคัญอยู่บริเวณกลางเมืองในเขตโรงเรียน วัดท่ากาน และวัดต้นกอก โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปดินเผา พระพิมพ์จำนวนมาก ไหเคลือบสีน้ำตาลบรรจุกระดูก และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1823-1911)
ปัจจุบัน เวียงท่ากานอยู่ในเขตท้องที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 ประมาณ 34 กิโลเมตร ผ่านอำเภอสันป่าตองแล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านทุ่งเสี้ยว เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
จาก ตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด 58 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป ประะเพณีเด่นของวัดคือ “การแห่ไม้ค้ำโพธิ์” ซึ่งเป็นประเพณีของชาวลานนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระ พุทธศาสนา
วัดพระธาตุดอยน้อย
ตั้ง อยู่ที่ตำบลดอยหล่อ อำเภอจอมทอง ตามทางหลวงหมายเลข 108 ระหว่างกิโลเมตรที่ 43-44 หากมาจากเชียงใหม่จะอยู่ฝั่งซ้ายมือ ตามประวัติว่าสร้างโดยพระนางจามเทวี เมื่อปี พ.ศ. 1201 มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระบรมธาตุ โข่งพระ (กรุพระ) โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลัก ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่มากมาย บริเวณวัดตั้งอยู่บนภูเขาติดลำน้ำปิง มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกทิศ มีบันไดนาคขึ้นไป 241 ขั้น
วัดพุทธเอิ้น
ตั้งอยู่ที่ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม ตามประวัติกล่าวว่า วัดพุทธเอิ้นก่อสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว มีโบราณสถานซึ่งขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรแล้วคือ “โบสถ์น้ำ” คือมีน้ำล้อมรอบเป็น “อุทกสีมา” มีความหมายเหมือนกับ “ขันทสีมา” ของโบสถ์บนบกบริเวณด้านหลังโบสถ์น้ำมีวิหารเก่าแก่ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่เลือนลางไปมากแล้ว
บ้านไร่ไผ่งาม
เป็น หมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายทอมือแบบโบราณที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงของจังหวัด เชียงใหม่ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 69-70 ตามเส้นทางเชียงใหม่-ฮอด และเลี้ยวซ้ายเข้าไปหมู่บ้านอีกประมาณ 1 กม. ทางเข้าหมู่บ้านร่มรื่นด้วยเงาไม้ไผ่สองข้างทาง ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านซึ่งได้รับการถ่ายทอดการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสี ธรรมชาติ จากคุณป้าแสงดา บันสิทธิ์ ศิลปินแห่งชาติ รวมกลุ่มกันผลิตที่บ้านป้าแสงดา ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำปิง ปัจจุบันได้จัดทำเป็น “พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าดา” เพื่อรำลึกถึงผลงานของท่าน และยังแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านในสมัยก่อนด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 361231 โทรสาร (053) 361230 สถานที่ติดต่อในเมืองเชียงใหม่ โทร. (053) 273625
สถานีทดลองปลูกพรรณไม้บ่อแก้ว (สวนสนบ่อแก้ว)
ตามเส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง กิโลเมตรที่ 36 สถานีฯเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจวัตถุดิบเพื่อทำเยื่อกระดาษ เป็นแปลงทดลองปลูกพืชจำพวกสน และยูคาลิบตัส ในเนื้อที่ทั้งหมด 2,072 ไร่ อากาศของที่นี่ชื้นและเย็นตลอดปี งามด้วยทิวสนที่ปลูกอย่างเป็นระเบียบงามตาจึงทำให้บริเวณสถานีกลายเป็นสถาน ที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
การเดินทาง หากไม่มีรถยนตร์ส่วนตัวสามารถนั่งรถประจำทางสีฟ้าสายเชียงใหม่-ฮอด-ดอยเต่ามาลงที่หน้าสถานีฯ
อุทยานแห่งชาติแม่โถ
อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 160 กิโลเมตร ครอบคลุม พื้นที่ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด ตามเส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ถึงกิโลเมตรที่ 55 แล้วแยกเข้าเส้นทางไปแม่โถอีก 16 กิโลเมตร ช่วงนี้สภาพถนนลาดยางสลับลูกรัง ลาดชันและคดเคี้ยวจึงควรใช้รถที่มีกำลังและสภาพดี จากที่ทำการมองลงมายังหุบบเขาเบื้องล่างจะเห็นนาข้าวขั้นบันไดของชาวเขาเผ่า กะเหรี่ยง เป็นเส้นคดเคี้ยวดูคล้ายแม่น้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนนาข้าวจะเขียวขจีชุ่มชื้น หากอากาศปลอดโปร่งจะมองเห็นยอดดอยอินทนนท์ ตอนเช้าหมอกจะหนามาก และอากาศเย็นตลอดปี ทางอุทยานฯกำลังจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ คาดว่าอีก 3-4 ปีจึงจะเปิดเป็นทางการ แต่หากต้องการจะขอเข้าไปศึกษาธรรมชาจิตอนนี้ติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ ที่ทำการฯ
หากต้องการมาพักแรมตรงที่ทำ การฯ ซึ่งปัจจุบันมีบ้านพัก 7 หลัง แต่ต้องเตรียมเครื่องนอน และอาหารมาเอง สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์ประสานงานนอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานกลุ่มนคร พิงค์ โทร. (053) 818384
ทะเลสาบดอยเต่า
อยู่ ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเชียงใหม่-ฮอด-ดอยเต่า ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร ที่ดอยเต่ามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล เคยใช้ในการเกษตรกรรมการประมง
ในบริเวณอ่างเก็บน้ำ หากมีน้ำมากพอ (โดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน) จะมีบริการแพพัก ราคา 1,000-1,500 บาท และเรือนำเที่ยวไปยังเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ค่าเช่าเหมาเรือประมาณ 3,000-4,000 บาท รายละเอียดติดต่อ บริษัท เพชรสุวรรณ โทร. 469069 หรือ บริษัท ท่องนที จำกัด โทร. (02) 457-6873-4, 457-3428 นำเที่ยวจากเขื่อนภูมิพล มายังอ่างเก็บน้ำดอยเต่า
เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
(ทางหลวงหมายเลข 1001 เชียงใหม่-พร้าว)
อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
จัด เป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยสัตว์ป่าและสภาพป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ครอบคลุมเนื้อที่ป่าแม่งัด ป่าแม่แตง และป่าเชียงดาว ในท้องที่อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง และอำเภอเชียงดาว รวมเนื้อที่ 652,000 ไร่ ลักษณะเป็นป่าดิบเขา ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดตัวเป็นแนวเหนือใต้ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ไหลสู่แม่น้ำปิง
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
น้ำตกม่อนหินไหล
ตั้งอยู่บริเวณป่าแม่งัด อำเภอพร้าว ใช้เส้นทางเชียงใหม่-พร้าวประมาณ 85 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าน้ำตก 14 กิโลเมตรซึ่งเป็นทางลูกรังจึงต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น น้ำตกมี 9 ชั้น เป็นตาดหินลาดเขาตรง น้ำไหลตลอดปี แต่ละชั้นมีลักษณะเด่นที่แปลกตา และบนชั้นที่ 9 คือยอดดอยม่อนหินไหลเป็นจุดชมวิวมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของอำเภอพร้าว
อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
โครงการชลประทานเขื่อนแม่งัด-สมบูรณ์ชล ตั้งอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 41 บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 11 กิโลเมตร ทิวทัศน์ประกอบด้วยป่าเขารอบข้างสวยงาม มีแพที่พักพร้อมอาหารของเอกชนเปิดบริการตลอดปี
นอกจากนั้นยังมีสถานที่น่า สนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกห้วยแม่ระงอง น้ำตกห้วยป่าพลู ถ้ำผาแดง เทือกเขาหินปูน เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบริเวณดอยแม่วะห่าง (จากที่ทำการประมาณ 4 กิโลเมตร)
การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง และแยกขวาเข้าเส้นทางสู่เขื่อนแม่งัด-สมบูรณ์ชล ประมาณ 12 กิโลเมตร (ระหว่างทางจะมีแผงขายมะนาวน้ำหอมซึ่งมีรสหวานกลมกล่อมผู้ผผ่านมานิยมแวะซิ มกัน) ที่อุทยานฯ ยังไม่มีบ้านพักแต่มีจุดพักแรมห้วยกุ่ม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงติดกับหน่วยพิทักษ์ที่ ศล.6 ห้วยกุ่ม ประมาณกิโลเมตรที่ 260 เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50150
น้ำตกบัวตอง และน้ำพุเจ็ดสี (น้ำพุเย็น น้ำตกเย็น)
ตั้งอยู่บริเวณแยกกิโลเมตรที่ 42 สายเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหอพระ อำเภอแม่แตง เป็นน้ำแร่ซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอเนตพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน แล้วไหลเป็นลำธารและน้ำตกขนาดเล็ก มีพื้นดินที่ใต้ลำธารแข็งสีขาวเป็นประกาย เพราะมีแคลเซียบคาร์บอเนตเคลือบอยู่ ดูแปลกตา
วัดดอยแม่ปั๋ง
อยู่หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทางสายเชียงใหม่-แม่โจ้-พร้าว (ทางหลวงหมายเลข 1001) เป็นระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นวัดที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยจำพรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงมรณภาพในปี พ.ศ. 2528 ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารไม้ กุฏิหลวงปู่แหวน กุฏิไม้ที่เรียกว่า “โรงย่างกิเลส” หรือ “โรงไฟ” และวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง
เส้นทางสายตะวันออก
(ทางหลวงหมายเลข 118 และ 1006)
สันกำแพง
สันกำแพงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออก 13 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเยือนเชียงใหม่ มักจะไปเที่ยวที่อำเภอสันกำแพง เพราะผ้าไหมและผ้าฝ้ายซึ่งทอมาจากอำเภอนี้ มีคุณภาพดี ราคาถูก เหมาะสำหรับเป็นของที่ระลึกแก่ญาติสนิทมิตรสหาย นอกจากนั้นยังมีโรงงานทอผ้าให้นักท่องเที่ยวได้ชมวิธีการทอ รวมทั้งการเลี้ยงตัวไหมให้ชมด้วย และระหว่างเส้นทางจากอำเภอเมืองถึงอำเภอสันกำแพง (ระยะทาง 13 ก.ม.) ยังมีโรงงานและร้านค้าของที่ระลึกเป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องเงิน เครื่องเขิน เครื่องหนัง เครื่องปั้นดินเผา และผ้าฝ้าย ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและเลือกซื้ออีกด้วย
วัดป่าตึง
ตั้งอยู่ ในเขตตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง เดิมเป็นวัดร้าง คู่กับวัดเชียงแสน ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้นมาได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่ามากมายหลายอย่าง อาทิ วัตถุโบราณ พระพุทธรูป เครื่องถ้วยชามสังคโลก ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ใน พิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยชาม ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัด ในศาลาการเปรียญเป็นที่ตั้งศพของเกจิอาจารย์ชื่อดัง คือหลวงปู่หล้าซึ่งไม่เน่าเปื่อย ให้ผู้ที่มีศรัทธาได้บูชา
บ่อน้ำพุร้อน
ตาม เส้นทางนี้มีบ่อน้ำพุร้อนอยู่สองแห่งตกแต่งสถานที่ด้วยสวนดอกไม้สวยงาม มีห้องอาบน้ำแร่ ที่พัก สถานที่กางเต็นท์ ร้านอาหาร ได้แก่ น้ำพุร้อนสันกำแพง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 34 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 ทางด้วยกัน คือ เส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก-น้ำพุร้อน (เส้นทางนี้จะผ่านถ้ำเมืองคอน ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำพุร้อน 4 กิโลเมตร) หรือเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-หมู่บ้านออนหลวย-น้ำพุร้อน หากเดินทางโดยรถประจำทางขึ้นรถจากสถานีขนส่งช้างเผือกไปยังสันกำแพง และเช่าเหมารถสองแถวจากสันกำแพงไปน้ำพุร้อนในราคาประมาณ 200 บาทต่อคัน สำรองที่พักล่วงหน้าที่ ธุรกิจน้ำพุร้อนสันกำแพงหมู่บ้านสหกรณ์ โทร. (053) 929077 และรุ่งอรุณน้ำพุร้อน รายละเอียดติดต่อ โทร. (053) 248475
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2525 เพื่อศึกษาด้านการพัฒนาป่าไม้และด้านการเกษตรที่เหมาะกับบริเวณต้นน้ำลำธาร ของภาคเหนือ ในศูนย์แห่งนี้ประกอบด้วย งานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำ ปศุสัตว์และโคนม การประมง งานปลูกหญ้าแฝก และการดำเนินงานหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ห้วยฮ่องไคร้ โดยจัดเป็นเขตต่างๆ นับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาเกี่ยวกับนิเวศน์วิทยาได้เป็นอย่างดี ผู้ที่สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. หากต้องการวิทยากรนำชมติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. (053) 248004, 248483 และที่นี่มีบ้านพักรับรอง หรือกางเต็นท์พักแรมได้แต่ต้องนำอุปกรณ์มาเองโดยติดต่อขออนุญาตล่วงหน้า
การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย ประมาณ 23 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าศูนย์อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดกับรัฐเชียงตุงของประเทศพม่า
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดลำพูน และ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัด เชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอและ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหางดง อำเภอแม่แตง อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเชียงดาว อำเภอสันทราย อำเภอฝาง อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย อำเภอพร้าว อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่อาย อำเภอดอยเต่า อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ อำเภอแม่วาง กิ่งอำเภอแม่ออน และกิ่งอำเภอดอยหล่อ
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร | อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร |
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 053) | |
งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท. | 02-694-1222 ต่อ 8 , 02-282-9773 |
ททท.ภาคเหนือ เขต 1 (เชียงใหม่) | 053-248-604 , 053-248-607 |
ประชาสัมพันธ์จังหวัด | 053-219-092 , 053-219-291 |
สำนักงานท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงใหม่ | 053-252-557 , 053-233-178 |
ตำรวจท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ | 053-278-798 , 053-248-974 , 053-242-966 , 053-248-130 |
ตำรวจทางหลวง | 053-242-441 |
สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ | 053-814-313-4 |
สภ.อ.จอมทอง | 053-341-193-4 |
สภ.อ.ช้างเผือก | 053-218-443 |
สภ.อ.เชียงดาว | 053-455-081-3 |
สภ.อ.ดอยสะเก็ด | 053-495-491-3 |
สภ.อ.ดอยเต่า | 053-469-019 |
สภ.อ.ฝาง | 053-451-148 |
สภ.อ.พร้าว | 053-475-312 |
สภ.อ.ภูพิงค์ราชนิเวศน์ | 053-211-750 |
สภ.อ.แม่แจ่ม | 053-485-110 |
สภ.อ.แม่แตง | 053-471-317 |
สภ.อ.แม่ปิง | 053-272-212 |
สภ.อ.แม่ริม | 053-297-040 |
สภ.กิ่ง อ.แม่วาง | 053-928-028 |
สภ.กิ่ง อ.แม่ออน | 053-859-452 |
สภ.อ.แม่อาย | 053-459-033 |
สภ.อ.เวียงแหง | 053-477-066 |
สภ.อ.สะเมิง | 053-487-090 |
สภ.อ.สันกำแพง | 053-332-452 , 053-331-191 |
สภ.อ.สันทราย | 053-491-949 |
สภ.อ.สันป่าตอง | 053-311-122-3 |
สภ.อ.สารภี | 053-322-997 |
สภ.อ.หางดง | 053-441-801-3 |
สภ.อ.อมก๋อย | 053-467-003 |
สภ.อ.ฮอด | 053-461-101 |
รพ.จินดา | 053-244-140 , 053-243-673 |
รพ.ช้างเผือก | 053-220-022 |
รพ.เชียงใหม่ เซ็นทรัล เมมโมเรียล | 053-277-090-3 |
รพ.เชียงใหม่ราม | 053-852-590-6 |
รพ.เซนต์ปีเตอร์ อาย | 053-225-011-5 |
รพ.ดารารัศมี | 053-297-207 |
รพ.ประชาเวศ เชียงใหม่ | 053-801-999 |
รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) | 053-221-122 |
รพ.แมคคอร์มิค | 053-262-200-19 |
รพ.ลานนา | 053-357-234-53 |
รพ.รวมแพทย์ | 053-273-576-7 |
รพ.นครพิงค์ | 053-890-755-64 |
รพ.ดอยสะเก็ด | 053-495-505 |
รพ.แม่อาย | 053-459-036 |
รพ.สะเมิง | 053-487-124-5 |
รพ.ฮอด | 053-831-443 |
รพ.แม่แจ่ม | 053-485-073 |
รพ.ดอยเต่า | 053-833-098 |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น