• จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางภาคเหนือบนฝั่งแม่น้ำยม เป็นนครแห่งวรรณกรรมอมตะลิลิตพระลอที่รู้จักกันทั่วไป แพร่เริ่มก่อตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีแล้ว ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงกล่าวว่า แพร่เคยเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรสุโขทัย มีชื่อเรียกกันหลายชื่อว่า พลนคร เมืองพล เมืองแพล ในสมัยที่ขอมมีอำนาจระหว่าง ปี พ.ศ. 1470–1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบครองในเขตลานนาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็น โกศัยนคร หรือ เวียงโกศัย ซึ่งแปลว่าผ้าแพร แล้วมาเปลี่ยนเป็นเมืองแพร่ในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน
• จังหวัดแพร่มีพื้นที่ประมาณ 6,538 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำยมไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีที่ราบในหุบเขาอยู่ตอนกลางของจังหวัด แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง และอำเภอหนองม่วงไข่
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลำปาง น่าน และพะเยา
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัย
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดน่าน และอุตรดิตถ์
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำปาง
การเดินทาง
• รถยนต์ จังหวัดแพร่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 555 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 11 ที่อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่
• รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยว เวลา 20.00 น., 22.00 น. แต่ต้องนั่งรถไฟไปลงที่อำเภอเด่นชัย แล้วต่อรถประจำทางเข้าตัวเมืองแพร่ ซึ่งอยู่ห่างจากเด่นชัยประมาณ 20 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 223-7010, 223-7020
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และปรับอากาศบริการ ทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยว เวลา 10.00 น., 22.30 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีเดินรถสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ขนส่งหมอชิต โทร. 537-8055, 936-2852–66 บริษัท ขนส่ง จำกัด จังหวัดแพร่ โทร. (054) 511276
• สำหรับบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดแพร่มีบริการทุกวัน ๆ ละ 1 เที่ยว เวลา 20.30 น. ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. 936-0199, บริษัท แพร่ ทัวร์ โทร. 936-3720 สาขาแพร่ โทร. (054) 511392 และ บริษัท สมบัติ ทัวร์ มีบริการทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยว เวลา 08.00 น., 20.30 น.โทร. 936-2496, 936–2498 สาขาแพร่ โทร. (054) 511421
จากตัวจังหวัดแพร่มีรถประจำทางไปจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง ลำพูน น่าน เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีเดินรถโดยสารประจำทางจังหวัดแพร่ ถนนยันตรกิจโกศล โทร. (054) 511800
• เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด มีบริการเที่ยวบินที่บินตรงระหว่าง กรุงเทพฯ-แพร่ ทุกวันพุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สำหรับวันจันทร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์จะเป็นเที่ยวบินกรุงเทพฯ-น่าน-พิษณุโลก-แพร่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1566, 280-0060, 628-2000 สำนักงานแพร่ โทร. (054) 511123, 511184
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอใกล้เคียง
อ.เมือง - อ.สูงเม่น 11 กิโลเมตร
อ.เมือง - อ.หนองม่วงไข่ 20 กิโลเมตร
อ.เมือง - อ.เด่นชัย 24 กิโลเมตร
อ.เมือง - อ.ร้องกวาง 29 กิโลเมตร
อ.เมือง - อ.ลอง 40 กิโลเมตร
อ.เมือง - อ.สอง 48 กิโลเมตร
อ.เมือง - อ.วังชิ้น 49 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ สำนักงานจังหวัดแพร่ โทร. 0 5451 1411
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5451 1089, 0 5452 2536
โรงพยาบาลแพร่ โทร. 0 5453 3492-4
ป่าไม่จังหวัดแพร่ โทร. 0 5451 1638
หอการค้าแพร่ โทร. 0 5452 2830
อำเภอเมือง
วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนคำลือ ซอย 1 ตำบลในเวียง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ วัดนี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุคหลายสมัย สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ วิหารหลวงพลนคร วิหารเก่าแก่สร้างพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือพระเจ้าแสนหลวง สร้างโดยเจ้าเมืององค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2057
พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ พระเจดีย์ศิลปะเชียงแสน ประดิษฐานพระธาตุที่นำมาจากเมืองหงสาวดี
พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ เป็นสถานที่รวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ที่มีอายุเกือบ 500 ปี และโบราณวัตถุต่าง ๆ ของเมืองแพร่ นอกจากนี้ยังมี คุ้มพระลอ ซึ่งเป็นการจัดแสดงตัวอย่างบ้านแบบล้านนาโบราณ
หอวัฒนธรรม จังหวัดแพร่ เป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมากมาย
วัดพระนอน อยู่ใกล้วัดหลวงบนถนนพระนอนเหนือ มีพระอุโบสถแบบเชียงแสนคือไม่มีหน้าต่างแต่ทำเป็นช่องรับแสงแทน ส่วนหน้าบันแกะสลักอย่างงดงามเป็นลายก้านขด มีภาพรามเกียรติ์ประกอบ ส่วนวิหารตกแต่งชายคาด้วยไม้ฉลุโดยรอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นยาว 9 เมตร ลงรักปิดทองตลอดองค์
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนเจริญเมือง ใกล้ศาลากลางจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2498 โดยรวมวัดโบราณ 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือ วัดพระบาท และวัดมิ่งเมือง ปัจจุบันวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด และมี พระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ภายใน และเป็นที่ตั้งของมูลนิธิยาขอบอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง “ยาขอบ”หรือนายโชติ แพร่พันธุ์ นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้วซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย
หลักเมืองจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่บนถนนคุ้มเดิมย่านกลางเมือง เป็นหลักใหม่สร้างตามนโยบายมหาดไทย ปี 2535 ตั้งอยู่คู่กับหลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง สมัยรามคำแหงมหาราช ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัด อักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม
บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น) ตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 13 ตำบลป่าแมต ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 (แพร่-ลอง) สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นบ้านไม้สักทั้งหลัง โดยใช้ไม้สักท่อนขนาดใหญ่ ตั้งเป็นเสาบ้านรวม 130 ต้น แต่ละเสามีอายุประมาณ 300 ปี แกะสลักอย่างประณีตวิจิตรบรรจง ตัวบ้านเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ มีเนื้อที่ถึง 1 ไร่เศษ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย 15 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท นอกจากนี้ผู้เข้าชมสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. (054) 511008, 511282
บ้านวงศ์บุรี ตั้งอยู่ที่ถนนคำลือ เป็นบ้านของเจ้าพรหมเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยช่างชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้ง เป็นบ้านแบบยุโรปประยุกต์ หลังคาสูง ทรงปั้นหยา 2 ชั้น ฐานก่ออิฐถือปูน สูงจากพื้น 1 เมตร มีลวดลาย เถาว์ไม้แกะสลักประดับตัวบ้านอยู่ทั่วไป เช่น หน้าจั่ว ช่องลม ชายน้ำ ประตู หน้าต่าง ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุ ได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ใช้เป็นสถานที่ถ่านทำภาพยนต์เรื่องหยุดโลกเพื่อเธอ, เจ้านาง และตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00–17.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย ราคา 15 บาท ชาวต่างประเทศ ราคา 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (054) 620153
วัดสระบ่อแก้ว ตั้งอยู่บนถนนน้ำคือ ริมคูเมือง สร้างขึ้นสมัยเดียวกับวัดจอมสวรรค์ เดิมชื่อ วัดจองกลาง เป็นวัดศิลปะแบบพม่าที่สวยงามแปลกตา ทั้งศาลาการเปรียญ โบสถ์ และเจดีย์ มีพระพุทธรูปหินอ่อนทรงเครื่องแบบพม่า สร้างอย่างสวยงามวิจิตรพิสดารมาก วัดแห่งนี้ยังเป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์พม่าที่เดินทางเข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยในประเทศไทย
วัดจอมสวรรค์ ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ตำบลทุ่งกวาว ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดไทยใหญ่ สร้างแบบสถาปัตยกรรมพม่า หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้นประดับประดาลวดลายฉลุ อารามเป็นไม้สัก ใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิ ภายในอารามแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดาน และเสาฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม โบราณวัตถุภายในวัด ได้แก่ หลวงพ่อสาน เป็นพระพุทธรูปที่สร้างโดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นองค์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้าง ซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า คัมภีร์งาช้าง หรือคัมภีร์ปาติโมกข์ โดยนำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบาง ๆ เขียนลงรักแดง จารึกเป็นอักษรพม่า และยังมี บุษบก ลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน
หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายแพร่-น่าน) เป็นแหล่งผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าม่อฮ่อมดั้งเดิมของจังหวัดแพร่
วนอุทยานแพะเมืองผี ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่-น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร แพะเมืองผีอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆ เช่น ดอกเห็ด หน้าผา ดูแล้วแปลกตา ชื่อ แพะเมืองผี น่าจะมาจากภาษาพื้นเมือง แพะ แปลว่า ป่าละเมาะ ส่วนคำว่า เมืองผี แปลว่า เงียบเหงา วังเวงอาจเกิดจากสภาพภูมิประเทศที่ดูเร้นลับน่ากลัว สถานที่แห่งนี้ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524
น้ำตกแม่แคม หรือ น้ำตกสวนเขื่อน อยู่ในเขตตำบลสวนเขื่อน จากสี่แยกบ้านทุ่งข้ามสะพานข้ามคลองแม่สาย แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายป่าแดง-ทุ่งโฮ้ง 4 กิโลเมตร จะมีป้ายแยกทางไปน้ำตกแม่แคมอีก 12 กิโลเมตร น้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มี 2 ชั้น น้ำไหลแรงตลอดปี สภาพทั่วไปเป็นป่า เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่า
น้ำตกตาดหมอก หรือ น้ำตกแม่คอย อยู่ที่ตำบลสวนเขื่อน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 3 ชั้น สวยงามมาก แต่ต้องเดินทางเท้าเข้าไปอีกราว 1 กิโลเมตร
วัดพระธาตุช่อแฮ อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879-1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ- ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี
วัดพระธาตุจอมแจ้ง อยู่ในท้องที่ตำบลช่อแฮ เลยพระธาตุช่อแฮไป 1 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดราว 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 1331 ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง องค์พระธาตุจอมแจ้งสีทอง สูง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร เดิมเรียกว่า พระธาตุจวนแจ้ง เนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่นี้จวนสว่างพอดี ต่อมาเพี้ยนเป็นจอมแจ้ง เชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า ที่นี่มีศาลาเรียกว่าพิพิธภัณฑ์ตำบลป่าแดง หรือพิพิธภัณฑ์ของจังหวัด รวบรวมสิ่งของโบราณที่หาดูได้ยาก
คุ้มเจ้าหลวง อยู่ ที่ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารที่หรูหราสง่างาม และโอ่โถง คือ มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ รอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดขั้นลหุโทษ คุ้มเจ้าหลวงเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15–17 มีนาคม 2501 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้ เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบัน และสาธารณะ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536 เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมล่วงหน้า ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ หรือติดต่อทางโทรศัพท์แจ้งล่วงหน้าได้ที่ สำนักงานจังหวัดแพร่ โทร. (054) 511411
อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ 4 กิโลเมตร ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 101 พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ รับราชการระหว่าง พ.ศ. 2440-2445 ในปี พ.ศ. 2445 พวกเงี้ยวในเมืองแพร่ก่อการกบฏ ท่านถูกพวกเงี้ยวฆ่าตาย เนื่องจากไม่ยอมลงนามยกเมืองแพร่ให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทหารมาปราบพวกเงี้ยว แล้วสร้างอนุสาวรีย์ให้กับพระยาไชยบูรณ์เป็นอนุสรณ์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชฤทธานนท์พหลพลภักดี
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแพร่-สูงเม่น ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณเดียวกับสวนอาหารบ้านฝ้าย ถนนยันตรกิจโกศล เป็นสถานที่จำลองชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบอาคารบ้านเรือน และของใช้ในครัวเรือนของชาวเมือง เมื่อราว 100 กว่าปีมาแล้ว เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00–22.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (054) 523114
ตลาดหัวดง อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร ถนนสายแพร่-สูงเม่น เส้นทางหลวงหมายเลข 101 เป็นแหล่งรวมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ และหวาย เช่น เฟอร์นิเจอร์ และของใช้ในครัวเรือนต่าง ๆ
วัดพระหลวงธาตุเนิ้ง อยู่ที่ตำบลดอนมูล เลี้ยวซ้ายที่บ้านหัวดงเข้าไป 700 เมตร มีเจดีย์เก่าศิลปะสุโขทัย ชาวบ้านเรียกว่า “ธาตุเนิ้ง” มีความหมายว่า เอียง เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง
อำเภอเด่นชัย
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี ห่าง จากอำเภอเด่นชัย 10 กิโลเมตร สิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ ศาลาพิพิธภัณฑ์สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังรูปทรงล้านนา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุมีค่าของหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้มากมาย เช่นพระพุทธรูปต่าง ๆ เครื่องเขิน เครื่องดนตรีล้านนา อาวุธโบราณ รูปภาพเจ้านายฝ่ายเหนือ และภาพเหตุการณ์ในอดีตต่าง ๆ
อำเภอลอง
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 112,500 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา และหน้าผาสูงเป็นแหล่งกำเนิดของลำธาร ลำห้วยไหลลงสู่แม่น้ำยม สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณมีพันธุ์ไม้ที่สวยงาม เช่น จันทน์ผา กล้วยผา กล้วยไม้ดิน และสมุนไพร สัตว์ป่าที่พบ เช่น เลียงผา หมี เก้ง ไก่ป่า หมูป่า ชะมด และนกชนิดต่าง ๆ ที่ทำการอุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 20 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 1023 ระหว่างกิโลเมตรที่ 19–20 สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ ได้แก่
ภูเขาหินปะการัง อยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 18–19 ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก และการชะล้างพังทลายของหินที่ใช้เวลาหลายล้านปี มีลักษณะคล้ายปะการัง มีสถานที่พักแรม และสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับนักท่องเที่ยว
สวนหินมหาราช ขึ้นอยู่กับป่าไม้เขตแพร่ จากแพร่ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 เส้นทางสายแพร่-ลอง สวนหินมหาราชอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 19-20 ทางซ้ายมือ เป็นบริเวณกว้างโล่ง มีก้อนหินขนาดใหญ่วางเรียงอยู่ มีศาลาพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยว และมีบริการบ้านพักรับรองไว้บริการนักท่องเที่ยว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข่าวอุทยานฯ จังหวัดแพร่ โทร. (054) 522097
แก่งหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่ปาน ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 11 ประมาณ 63 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีโขดหินใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ในแม่น้ำยม ซึ่งเมื่อน้ำไหลมาปะทะจะเกิดฟองฝอยสาดกระเซ็นสวยงาม เหมาะสำหรับจัดกิจกรรมนั่งแพ และล่องแก่ง
ถ้ำเอราวัณ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับแก่งหลวง เป็นถ้ำที่สวยงามที่สุดของจังหวัดแพร่ มีความลึกประมาณ 200 เมตร ภายในถ้ำมีห้องโถงกว้าง มีหินงอก หินย้อยอยู่ทั่วไปรูปร่างคล้ายช้างเอราวัณ และหญิงอุ้มท้องตามตำนานของถ้ำแห่งนี้
วัดพระธาตุศรีดอนคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดห้วยอ้อ” อยู่เลยที่ว่าการอำเภอลองไปเล็กน้อย ห่างจากตัวเมืองแพร่ 45 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1023 เป็นพระธาตุเก่าแก่ขนาดใหญ่ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1078 คราวพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ไปเมืองหริภุญชัย พระธาตุแห่งนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้ง ปัจจุบันมีฐานเป็นปูน ส่วนบนประดับด้วยแผ่นโลหะสีทอง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมตำนานพระพุทธรูป และมีพระพุทธรูปศิลปะพม่า ที่ทำจากไม้เรียกว่า “พระเจ้าพร้าโต้” ตลอดจนคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งเก็บไว้ในหอไตรของวัด
หมู่บ้านทอผ้าตีนจก ผ้าตีนจกของอำเภอลองเป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง มีความประณีตสวยงาม ทอด้วยผ้าไหม และผ้าฝ้าย โดยเน้นสีดำแดงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านนาตุ้ม บ้านหัวทุ่งบ้านนามน
อำเภอวังชิ้น
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ของอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 256,250 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2524 ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ปกคลุมด้วยป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ตามยอดเขาสูงมีป่าสน และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ และลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ้ง แม่จอก แม่สิน มีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น หมูป่า ไก่ป่า หมี อีเห็น เสือโคร่ง เลียงผา และนกชนิดต่าง ๆ อุทยานฯ นี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตร การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 จากตัวจังหวัด เมื่อเลยอำเภอเด่นชัยไป 10 กิโลเมตร แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 11 เส้นทางสายแพร่-ลำปาง ไปอีกประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอำเภอวังชิ้น เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 13 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาไปที่ทำการอุทยานฯ อีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่
น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง และแม่เกิ๋งน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงามไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ คล้ายขั้นบันไดลงมาจากดอยแม่เกิ๋ง คำว่า “แม่เกิ๋ง” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง “ขั้นบันได” น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนน้ำตกแม่เกิ๋งน้อยต้องเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไปประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกทั้งสองสายนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านสบเกิ๋ง อำเภอวังชิ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่สิน น้ำตกแม่จอก น้ำตกแม่ป้าก น้ำตกแม่รัง น้ำตกขุนห้วย เป็นต้น
บ่อน้ำร้อนแม่จอก ตั้ง อยู่ในเขตบ้านแม่จอก หมู่ 5 ตำบลแม่ป้าก การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายลอง-วังชิ้น ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ราว 3 กิโลเมตร จนกระทั่งเข้าเขตบ้านแม่จอก จะพบโรงเรียนแม่จอกอยู่ขวามือ บริเวณสนามหน้าโรงเรียนจะมีบ่อน้ำแร่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในเนื้อที่กว้างประมาณ 10 ไร่ เป็นบ่อน้ำแร่กำมะถันที่ร้อนจัดถึง 80 องศา ในตอนเช้าจะมีหมอกควันที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็ม ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม
สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีเรือนพักสำหรับนักท่องเที่ยว แต่หากต้องการตั้งแคมป์พักแรมในป่า จะต้องนำเต็นท์ หรือเปลสนามไปเอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติ เวียงโกศัย ตู้ปณ. 1 อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160 หรือที่ศูนย์ข่าวอุทยานฯ จังหวัดแพร่
ถ้ำจำปู อยู่ที่ตำบลน้ำรัด ห่างจากตัวเมืองแพร่ 17 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 40 เมตร ลึก 40 เมตร ภายในเป็นห้องโถงใหญ่ ลักษณะคล้ายโรงละครกลางแจ้ง มีอุโมงค์เชื่อมไปยังมุมต่าง ๆ ติดต่อกันเป็นห้องโถงประมาณ 6-7 ห้อง ซึ่งแต่ละห้องมีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป มีหินงอกหินย้อยคล้ายเกล็ดแก้วระยิบระยับสวยงาม
อำเภอร้องกวาง
พระธาตุปูแจ ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเวียง ห่างจากอำเภอร้องกวาง 20 กิโลเมตร มีงานนมัสการพระธาตุ หรืองานขึ้นพระธาตุตรงกับวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
น้ำตกตาดซาววา อยู่ห่างจากตัวเมือง 35 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงสวยงามมาก อยู่ในเขตอำเภอร้องกวาง ทางคมนาคมเข้าไปยังลำบากอยู่ และต้องเดินเท้าเข้าไปชม
ถ้ำผานางคอย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่-ร้องกวาง (ทางหลวงหมายเลข 101) ถึงกิโลเมตรที่ 58-59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร ถึงหน้าถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนหน้าผาสูง 50 เมตร เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร กว้าง 10 เมตร ลักษณะของถ้ำโค้งงอเป็นข้อศอกไปทางซ้าย และทางขวาเป็น 3 ตอนด้วยกัน ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยลักษณะต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเกล็ดหินประกายระยิบระยับ หรือเป็นชะง่อนหินยาวถึงพื้นถ้ำ สุดทางของถ้ำมีก้อนหินรูปร่างคล้ายหญิงสาวนั่งอุ้มลูกน้อยรอคอยคนรัก ชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า “หินนางคอย” ตามตำนานพื้นบ้านของถ้ำแห่งนี้ เบื้องหน้าของหินนางคอยมีหินย้อย ลักษณะคล้ายรูปหัวใจดูแปลกตาสวยงาม นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นที่เคารพสักการะของชาวแพร่
น้ำตกห้วยโรง หรือ น้ำตกห้วยลง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเหนือ 60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถนนสายแพร่-ร้องกวาง ถึงกิโลเมตรที่ 78 เลี้ยวซ้ายอีก 4 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูง 2 ชั้น สภาพโดยรอบเป็นป่าโปร่งร่มรื่น
พระธาตุพระลอ อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเหนือประมาณ 45 กิโลเมตร การเดินทาง ไปตามเส้นทางหลวงหมาย 101 ประมาณ 24 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 อีกราว 18 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาสู่อำเภอสองใช้เส้นทางหมายเลข 1154 จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตรถึงพระธาตุพระลอ (พระธาตุหินล้ม) เป็นพระธาตุที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 400 ปี มีสถูปบรรจุพระอัฐิของพระลอ พระเพื่อน พระแพง และมีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระลอ พระเพื่อน พระแพงหันหน้าไปทางแม่น้ำกาหลง (แม่น้ำสอง)โดยกรมศิลปากร เป็นอนุสรณ์สถานของนครแมนสรวง และเมืองสรวงที่จูงใจให้น้อมรำลึกถึงความรักอมตะของพระลอ และพระเพื่อน พระแพง โดยรอบบริเวณตกแต่งเป็นสวนสาธารณะร่มรื่นสวยงาม
อุทยานลิลิตพระลอ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ในเส้นทางไปพระธาตุพระลอสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมือง สรองมาก่อนเพราะยังปรากฏเนินดินเป็นแนวกำแพงให้เห็น มีแม่น้ำกาหลงไหลผ่าน ปัจจุบันแม่น้ำนี้ได้ตื้นเขินไปแล้วจนเกือบไม่เหลือสภาพเดิม
พิพิธภัณฑ์เงินตราสยามเวียงสรอง อยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 103 ตรงหลังกิโลเมตรที่ 14 ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 39 กิโลเมตร มีพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ของครอบครัวอุปวรรณ ที่เก็บรวบรวมเงินตรา และเหรียญกษาปณ์ต่าง ๆ ของไทยตลอดจนเงินสกุลอื่น ๆ ตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันที่หายากไว้มากมาย นอกจากนี้ยังมีสิ่งของเครื่องใช้วัตถุโบราณ เช่น ถ้วยชามสังคโลก และเอกสารต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จัดแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30–16.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนละ 30 บาท หากเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (054) 634237, 634395
อุทยานแห่งชาติแม่ยม มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ของอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภองาว จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 284,218 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529 ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสองฝั่งแม่น้ำยม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง ได้แก่ ทางรถยนต์ ใช้เส้นทางเดียวกับพระธาตุพระลอ เมื่อถึงอำเภอสอง เดินทางไปตามเส้นทางสายสอง-งาว (สายเก่า) ประมาณ 20 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ รวมระยะทางจากแพร่ถึงอุทยานฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร ทางรถประจำทาง นักท่องเที่ยวสามารถเหมารถประจำทางได้ที่ตลาดในอำเภอเมืองแพร่ หรือจะเหมารถได้ที่ตัวตลาดอำเภอสองไปยังอุทยานฯ แม่ยม สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่
ดงสักงาม ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร ต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น ลักษณะเป็นกลุ่มของดงไม้สักทองที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นกว่า 20,000 ไร่ ตามริมฝั่งแม่น้ำยม ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า ไม้สักที่ขึ้นอยู่นี้มีขนาดสูงใหญ่ ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จะมีดอกสักสีเหลืองอร่ามบานอยู่ทั่วบริเวณดูร่มรื่น
แก่งเสือเต้น อยู่หน้าที่ทำการอุทยานฯ เป็นเกาะแก่งธรรมชาติในแม่น้ำยม มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ชื่อของแก่งเสือเต้นนี้มีความเป็นมาจากลักษณะธรรมชาติของหินก้อนหนึ่งในแก่งนี้ ซึ่งมีลักษณะรอยเท้าเสือปรากฏอยู่ บริเวณแก่งเสือเต้นมีหาดทรายอยู่ทั่วไป เหมาะแก่การกางเต็นท์เพื่อสัมผัสธรรมชาติที่งดงาม โดยนักท่องเที่ยวจะต้องนำเต็นท์มาเอง เสียค่าพื้นที่คนละ 50 บาท/คืน และที่แก่งเสือเต้นนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การล่องแก่ง จัดในราวเดือนตุลาคม-มกราคม (นักท่องเที่ยวจะต้องนำอุปกรณ์การล่องแก่งมาเอง) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข่าวอุทยานจังหวัดแพร่ โทร. (054) 522097
หล่มด้ง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 เมตร อยู่บนยอดเขาสูง มีน้ำตลอดปี เป็นแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่าในบริเวณนั้น มีลักษณะที่แปลก คือ ไม่มีต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ และน้ำในบึงก็ไม่เคยเพิ่ม หรือลดลง สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการสะสมของน้ำฝน หรือน้ำซับ และบริเวณใกล้เคียงกันมีดงต้นตะแบก มีลานสำหรับกางเต็นท์ มีจุดชมทิวทัศน์ป่าสักที่งดงาม และชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตก
ช่วงฤดูที่เหมาะสมจะมาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนพฤษภาคม ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงน้ำหลากในแม่น้ำยม และทางคมนาคมไม่สะดวก ทางอุทยานฯ ได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์สำหรับผู้ที่นำเต็นท์ไปเอง และมีเรือนแพของเอกชนในแม่น้ำยมไว้บริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติ แม่ยม ตู้ ปณ. 4 อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 54000 โทร. (054) 522097
ข้อมูลเทศกาลงานประเพณี
งานประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 9-15 ค่ำ เดือนสี่ มีการแห่ผ้าขึ้นไปห่มองค์พระธาตุ มีขบวนแห่แบบล้านนา โดยผู้ร่วมงานทุกคนจะแต่งกายแบบพื้นเมืองล้านนา มีมหรสพสมโภชทุกคืน รุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ จะมีการทำบุญตักบาตร กลางคืนมีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ และพระวิหาร
งานแอ่วสงกรานต์น้ำใจเมืองแป้ นุ่งม่อฮ่อมแต๊งามตา จัดงานบริเวณศูนย์หัตถกรรม เวียงโกศัย 13-17 เมษายน ของทุกปี ในงานจะมีการแต่งกายด้วยชุดม่อฮ่อมล้อมวงกินขันโตก และเล่นสงกรานต์กัน
งานตานก๋วยสลาก คล้ายประเพณีถวายสลากภัตของภาคกลางนั่นเอง โดยชาวบ้านจะจัดเครื่องไทยทาน เขียนสลากชื่อของตนติดไว้แล้วนำไปรวมกันที่หน้าพระประธาน พระสงฆ์จะจับสลากขึ้นมาให้มรรคทายกประกาศ เจ้าของสลากก็จะนำเครื่องไทยทานของตนไปถวายแด่พระสงฆ์ โดยงานนี้จะจัดขึ้นตามวัดต่างๆ ช่วงเดือนกันยายน ของทุกปี
งานเทศกาลลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟพะเนียงเวียงโกศัย จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 บริเวณท่าน้ำศรีชุม ภายในงานมีการจัดงานล้อมวงกินขันโตกแต่งกายด้วยชุดม่อฮ่อม
วัดพระธาตุช่อแฮ อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879-1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ- ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี
หมายเหตุ พระธาตุช่อแฮ ประธาตุประจำปีเกิดปีขาลของชาวล้านนา
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศอุทยานแห่งชาติแม่ยมโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง ทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดลงมายังฝั่งแม่ยมซึ่งไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ ซึ่งเทือกเขาสูงดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดต้นน้ำที่สำคัญไหลลงสู่แม่น้ำยม อาทิ ห้วยแม่ปุง ห้วยเด็ด ห้วยปุง ห้วยเลิม ห้วยแม่เต้น ห้วยแม่สะกิ๋น และห้วยแม่ปู๊ เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่ยม แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
1. ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน
2. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม
3. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
บริเวณป่าแห่งนี้ประกอบด้วยพันธุ์ไม้แตกต่างกันไป ในแถบหุบเขาลำห้วยและแม่น้ำซึ่งมีความสูงชัน เป็นพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น เช่น ไม้ยาง กระบาก ยมหอม ตะแบก ฯลฯ สูงขึ้นไปจาก หุบเขา ลำห้วย จะเป็นป่าดิบเขา พันธุ์ไม้จะเป็นพวกไม้สน และไม้ก่อ เช่น สนสามใบ ก่อเดือย ก่อตาหนู ฯลฯ ป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งในฤดูแล้งไม้ทุกชนิดจะผลัดใบ ได้แก่ มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะแบก และไม้สักซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น สำหรับป่าเต็งรังและป่าแพะจะมีมากบริเวณที่เป็นเนินเขา และที่ราบสูงบางส่วน พันธุ์ไม้ ได้แก่ ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง
เนื่องจากป่าบางตอนเป็นป่าปิดการทำไม้และป่าที่ยังไม่ผ่านการทำไม้ ตลอดจนยังไม่มีราษฎรบุกรุก จึงเหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์ป่า จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่เหลืออยู่บ้าง เช่น ช้างป่า เก้ง เลียงผา หมีควาย หมูป่า และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระต่ายป่า ไก่ป่า นางอายและนกชนิดต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ
ทางอุทยานฯ จัดสถานที่กางเต้นท์ไว้อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
ดงสักงาม มีลักษณะเป็นกลุ่มของไม้สักที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามริมฝั่งแม่น้ำยมในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า ไม้สักที่ขึ้นอยู่นี้มีขนาดใหญ่งดงามมาก คล้ายกับไม้สักที่ปลูกในสวนป่า และหากได้เข้าไปในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะพบกับความร่มรื่นและดอกสักที่เหลืองอร่ามไปหมด บริเวณดงสักงามนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยมประมาณ 6 กิโลเมตร การเดินทางไปยังจุดนี้ต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น
แก่งเสือเต้น เป็น เกาะแก่งธรรมชาติในแม่น้ำยม มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร ชื่อของแก่งเสือเต้นมีความเป็นมาจากลักษณะของหินธรรมชาติก้อนหนึ่งในแก่ง แห่งนี้ลักษณะรอยเท้าเสือปรากฏอยู่ตามริมแม่น้ำยม ในช่วงที่เป็นแก่งเสือเต้นนั้นจะมีหาดทรายปรากฏอยู่โดยทั่วไปเหมาะในการกาง เต็นท์เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติที่งดงาม โดยมีเสียงน้ำไหลผ่านเกาะแก่งเป็นส่วนประกอบ และแก่งเสือเต้นนี้จะอยู่หน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยมพอดี
หล่มด้ง เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 เมตรปรากฏอยู่บนยอดเขาสูงมีน้ำตลอดปี สันนิษฐานว่าแหล่งน้ำนี้เกิดจากการยุบตัวของดินในบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่และมีน้ำขังอยู่ กลายเป็นแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่าในบริเวณนั้น หล่มด้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยม ประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้กับหล่มด้งนี้จะมีเหมืองแร่เก่าซึ่งผ่านการทำแร่แบไรต์มาแล้ว มีลานสำหรับกางเต็นท์ และมีจุดชมทิวทัศน์ป่าสักที่งดงามและชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้อีกด้วย
การเดินทาง
รถยนต์ การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต้องเริ่มจากจังหวัดแพร่ ไปตามถนนสายแพร่-น่าน ไปถึงสี่แยกอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางร้องกวาง-งาว ประมาณ 26 กิโลเมตร จะถึงอำเภอสอง และจากอำเภอสองเดินทางไปตามเส้นทางสายสอง-งาว (สายเก่า) ประมาณ 20 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยม รวมระยะทางจากจังหวัดแพร่ถึงอุทยานแห่งชาติแม่ยม ประมาณ 70 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติแม่ยม ตู้ ปณ. 4 อ.สอง จ.แพร่ 54120
ลักษณะภูมิประเทศ
ในพื้นที่บริเวณนี้มีสภาพป่าสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ หรือลำน้ำน่าน ซึ่งประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และสัตว์ป่าหลายชนิด
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่ในเขตมรสุมซึ่งมีสภาพอากาศร้อนชื้น อากาศอบอ้าว โดยมีอากาศร้อนจัดในเวลากลางวัน ฤดูฝนอยู่ระหว่าง เดือน พฤษภาคม - ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 1,440 มิลลิเมตร/ปี ฤดูหนาวในบริเวณยอดดอยและเทือกเขามีอากาศหนาวจัด ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยว
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าเหนือเขื่อนสิริกิติ์ พบว่ามีอยู่ 4 ประเภท คือ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าหญ้า มีพรรณไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาทิเช่น ไม้สัก ไม้มะค่าโมง ไม้แดง ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ
ในเขตอุทยานแห่งชาติมีสัตว์ป่าและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ หลายประเภท เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จะพบสัตว์ป่า คือ กวาง เลียงผา หมูป่า หมีควาย หมีคน อีเห็น ลิง เม่น เสือปลา ไก่ฟ้า ไก่ป่า เต่าภูเขา งูชนิดต่าง ๆ และนกไม่น้อยกว่า 200 ชนิด
บ้านพัก-บริการ
บ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกเชิงทอง เป็นน้ำตกขนาดเล็กริมถนน อยู่ห่างจากพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ประมาณ 9 กม.มีน้ำไหลตลอดปี และมีทางเดินตามลำห้วยมุ่นต่อขึ้นไปยังน้ำตกห้วยมุ่นและน้ำตกดอยผาหมอก ซึ่งสูงและไหลลดหลั่นลงมาหลายชั้น
เส้นทางสายเชิงทอง-กิ่วเคียน จากน้ำตกเชิงทอง เมื่อไปตามเส้นทางสายเชิงทอง - กิ่วเคียน จะผ่านไปท่ามกลางผืนป่าอันชุ่มชื้น และมีหมู่บ้านชาวไทยภูเขาตั้งอยู่เป็นระยะ เส้นทางจะลัดเลาะไปตามเทือกเขาสลับซับซ้อน และมีจุดชมทิวทัศน์อยู่ระหว่างทางหลายแห่งตลอดเส้นทางจะพบกับป่าดิบแล้งและ ป่าดิบเขาสภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อขึ้นสู่พื้นที่ระดับสูง สภาพบรรยากาศจะมีความร่มรื่นและเย็นสบาย ริมทางหนาแน่นไปด้วยพันธุ์ไม้ของป่าดิบเขา เช่น นางพญาเสือโคร่ง เฟิร์น และกล้วยไม้นานาชนิด บางช่วงมีเฟิร์นต้น (Tree-fern) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละต้นล้วนสูงใหญ่อย่างน่ามหัศจรรย์ สำหรับผู้ที่ชอบดูนกเส้นทางนี้มีนกบนเขาสูงให้ชมมากมาย และสามารถเดินดูนกได้ตามริมถนน
ภูพยาพ่อ เป็น จุดสูงสุดบนเส้นทางสายเชิงทอง-กิ่วเคียน สูง 1,350 เมตร จากระดับน้ำทะเล และยังเป็นยอดเขาสูงสุดที่แบ่งเขตแดนระหว่างแพร่กับอุตรดิตถ์ บนภูพญาพ่อ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านในท้องถิ่น บริเวณนี้เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มองเห็นเขาและผืนป่ากว้างไกลไปจนสุดสายตาที่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิต์ เส้นทางช่วงต่อไปถนนจะไต่ระดับลงจากเขาจนไปสิ้นสุดที่ อ.ท่าปลา และสามารถเดินทางต่อไปถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติได้
อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ขวางกั้นลำน้ำน่าน ภายในอ่างเก็บน้ำปรากฏเกาะแก่งอยู่มากมาย จึงมีทัศนียภาพงดงาม เหมาะสำหรับการล่องเรือชมทิวทัศน์ และสามารถล่องเรือไปได้ไกลจนถึง จ.น่าน ซึ่งเขตติดต่อกับพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน การเดินทางใช้เส้นทางหวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ผ่านสามแยกร่วมจิต (ทางเข้า อ.ท่าปลา) ไปจนถึงบ้านห้วยเจริญ มีป้ายอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เข้าไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 4 กม. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์
การเดินทาง
รถยนต์ ใช้เส้นทางหวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ผ่านสามแยกร่วมจิต (ทางเข้า อ.ท่าปลา) ไปจนถึงบ้านห้วยเจริญ มีป้ายอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เข้าไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 4 กม. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อ.เมือง จ.แพร่
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย จังหวัดแพร่
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดแพร่ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทิวทัศน์และน้ำตกสวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง น้ำตกแม่เกิ๋งน้อย และมีบ่อน้ำแร่แม่จอก ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อน ทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เนื้อที่ประมาณ 410 ตารางกิโลเมตร หรือ 256,250 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็น "อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย" เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2524
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ความลาดชันโดยเฉลี่ยประมาณ 80 องศา จุดสูงสุดจากระดับน้ำทะเล 1,267 เมตร ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเป็นเทือกเขาที่เขียวชอุ่ม มีหน้าผาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ๋ง แม่จอก แม่สิน แม่ป้าก และภูเขาเป็นภูเขาหินทราย ทำให้ดินที่เกิดจากการผุสลายของภูเขาเป็นดินร่อนปนทราย มีการระบายน้ำดี บริเวณที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นลูกรัง โดยเฉลี่ยดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีมาก
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 13 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าตอนบนของเทือกเขามีลักษณะเป็นป่าดิบแล้งส่วนตอนล่างมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมง ยาง ดำดง ตะแบก ประดู่ แดง และไม้สัก ซึ่งขึ้นอยู่ปะปนบ้าง ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ปาล์ม หวาย และเอื้องดิน เป็นต้น
สัตว์ป่าที่เคยพบอาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้มี กวาง เสือ และช้างป่า แต่ถูกลักลอบเข้ามาล่าอย่างหนัก เหลือแต่สัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต และนกชนิดต่าง ๆ มีชุกชุมอยู่ในบริเวณหุบเขา และแหล่งน้ำต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ
อุทยานแห่งชาติเวียงโกสัย มีบ้านพัก ห้องประชุมและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
ดงตะเคียน มีลักษณะเป็นกลุ่มของไม้ตะเคียนทองที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น อายุ 100 กว่าปี มีขนาดใหญ่สุด 3-4 คนโอบ อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 15 กม. โดยใช้ทางเดินเท้า
น้ำตกปันเจน เป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่บนลำห้วยแม่เกิ๋งเช่นเดียวกับน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงเดินทางต่อจากที่ทำการอุทยานฯไป 1 กม. จะพบทางแยกขวาข้างโรงเรียนบ้านค้างใจ ไปตามทางอีก 6 กม. จะถึงน้ำตก
น้ำตกแม่เกิ๋งหลวงและแม่เกิ๋งน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงาม น้ำตกไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ รวม 5 ชั้น คล้ายชั้นบันได ลงมาจากยอดดอยแม่เกิ๋ง ซึ่งคำว่า “แม่เกิ๋ง” เป็นภาษาพื้นเมืองหมายถึง “ชั้นบันได” น้ำตกทั้งสองสายนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านสบเกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
น้ำตกแม่สิน เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีน้ำไหลตลอดปีท่านสามารถเดินทางโดยเท้าจากที่ทำการอุทยานฯระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
บ่อน้ำร้อนแม่จอก อยู่ติดกับโรงเรียนบ้านแม่จอก ต.แม่ป้าก อ.วังชิ้น จ.แพร่ เป็นบ่อน้ำร้อนที่ผุดขึ้นมาจากพื้นที่บริเวณนั้นมีอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส มีลักษณะที่แปลกและสวยงามมาก โดยเฉพาะในตอนเช้าจะมีหมอกควันที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็ม ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม
เถาวัลย์ยักษ์ เป็นเถาสบ้าขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 1 กม.
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯผ่านจังหวัดนครสวรรค์ – พิษณุโลก – ถึงอำเภอเด่นชัย จ.แพร่ ระยะทางประมาณ 530 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามเส้นทางแพร่-ลำปาง อีกประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ แยกเข้าตามเส้นทางอำเภอวังชิ้น ประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงแยกเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงและแม่เกิ๋งน้อย ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ตู้ ปณ. 1 อ.วังชิ้น จ.แพร่ 54160
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง อยู่ในท้องที่อำเภอลอง อำเภอเมือง และอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประกอบด้วยพื้นที่เป็นเขาสูงชัน บางแห่งพื้นที่ราบบนเขามีหินโผล่จากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อน เป็นหินปูน และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม คือสวนสินมหาราช จะมีหินโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อนน่าอัศจรรย์ ประกอบกับบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก และมีเทือกเขาดอยผากลองเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักอุทยานแห่งชาติดอยผากลอง มีเนื้อที่ประมาณ 125 ตารางกิโลเมตร หรือ 78,125 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน บางแห่งเป็นที่ราบบนภูเขามีหินโผล่จากพื้นดินตามธรรมชาติ และพื้นที่บางส่วนสำนักงานป่าไม้เขตแพร่ ได้ทำการปลูกป่าไม้สัก เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณที่สำรวจเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยม ซึ่งประกอบด้วยห้วยที่สำคัญคือ ห้วยขมิ้น ห้วยผาคำ ห้วยเบี้ย ห้วยน้ำริน ห้วยแม่ต้า และห้วยแม่สาง
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน และมีพันธุ์ไม้นานาชนิด ฤดูหนาวจึงค่อนข้างหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 8-12 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนไม่ร้อนจัดอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีฝนตกชุก ซึ่งเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม และจะสิ้นสุดเดือนตุลาคม ยังไม่มีการเก็บข้อมูลทางด้านปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยในเขตพื้นที่สำรวจ
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมาก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้กระพี้เขาควาย ชิงชัน กระเจาะ กระพี้จั่น ตะเคียนทอง ตะแบก โมกมัน และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่มักพบอยู่เสมอคือ เต็ง รัง เหียง พลวง กระโดน ตะค้อ มะกอกป่า เป็นต้น
ส่วนสัตว์ป่าจากการสำรวจสภาพพื้นที่จริง และสอบถามราษฎรในท้องถิ่นใกล้เคียง พบว่ามีสัตว์ป่า อาศัยอยู่มากมาย ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจง หมูป่า ลิงลม อีเห็น กระต่าย กระรอก กระแต ตุ่น หนู งู นกชนิดต่างๆ และปลา
บ้านพัก-บริการ
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว
ถ้ำจันทร์ผา เป็นถ้ำค้างคาวมีขนาดใหญ่พอสมควร มีมูลค้างคาวเป็นจำนวนมาก อยู่ทางทิศเหนือ ของสวนหิน เป็นถ้ำหินงอกหินย้อยสวยงาม
ภูเขาหินปะการัง เป็นลักษณะของภูเขาหินปูนที่สวยงาม ซึ่งทางอุทยาน ฯ ได้จัดทำเส้นทางเดินขึ้นไปชม ตลอดเส้นทางจะมีต้นจันผาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก หินปูนที่ถูกธรรมชาติจัดแต่งมีความคล้ายคลึงกับสวนหินคุณหมิง ของประเทศจีน แต่มีขนาดเล็กกว่า
สวนหินมหาราช เป็นบริเวณที่มีหินโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อนน่าอัศจรรย์ บ้างคล้ายจระเข้ ไดโนเสาร์และสัตว์ดึกดำบรรพ์ มองแล้วทำให้เกิดจิตนาการเหมือนอยู่ในเทพนิยาย บางก้อนเป็นถ้ำเล็กๆ ลึกเข้าไปข้างใน หินก้อนใหญ่อยู่บนหินก้อนเล็ก ดูน่าหวาดเสียวคล้ายจะหล่นแต่ก็สามารถทานน้ำหนักได้ ประกอบกับบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ปัจจุบันคนนิยมไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางสะดวกเพราะอยู่ติดกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1023 กิโลเมตร ที่ 25 จากจังหวัดแพร่-อำเภอลอง
การเดินทาง
รถยนต์ ออกจากจังหวัดแพร่ เดินทางโดยรถยนต์ตามถนนสายแพร่-อำเภอลอง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1023) เดินทางตามถนนสายนี้ระยะทาง 25 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณสวนหินมหาราช ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยาน ฯ เป็นถนนลาดยางทั้งหมด เส้นทางนี้สามารถใช้ได้ตลอดปีและมีรถยนต์โดยสารประจำทางสายแพร่-อำเภอลองผ่าน
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง 84 ถ.คุ้มเดิม ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ 54000
ลักษณะภูมิประเทศ
วนอุทยานแพะเมืองผีมีสภาพเป็นป่าบนที่ราบลอนคลื่นบริเวณรอบนอกมีความลาดเทของพื้นที่น้อย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200-210 เมตร
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าไม้เป็นป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางเหียง พะยอม งิ้ว เปล้า สะแก ไผ่ไร่ และป่าที่ปลูกเพิ่มเติม ได้แก่ กระถินณรงค์ กัลปพฤกษ์ หางนกยูง
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ งู กิ้งก่า แย้ กระต่ายป่า และนกชนิดต่าง ๆ
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานแพะเมืองผี ไม่มีที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเองแล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานแพะเมืองผีโดย ตรง หรือสำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) โทร. 0-5351-1162 หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900 โทร.0-2561-4292-3 ต่อ 719 ในวันและเวลาราชการ
แหล่งท่องเที่ยว
แพะเมืองผี เป็นพื้นที่เนินเขาซึ่งสูงกว่าส่วนอื่น เกิดจากการพังทลายโดยการกัดเซาะตามธรรมชาติ โดยกระแสน้ำเป็นเวลานาน ทำให้พื้นที่บางส่วนเป็นที่สูงต่ำสลับกันไป หน้าผาและเสาดินมีรูปทรงแตกต่างกัน ก่อให้เกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น
การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางจากจังหวัดแพร่ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระหว่างจังหวัดแพร่-จังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือไปวนอุทยานแพะเมืองผีอีก 3 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอด ถ้าหากไม่มีรถไปเองก็ติดต่อว่าจ้างเหมาะรถโดยสารจากสถานีบ.ข.ส.จังหวัดแพร่ หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างก็ได้ รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ วนอุทยานแพะเมืองผี
สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) ต.น้ำชำ อ.เมือง จ.แพร่
แพะเมืองผี : ผืนดินแห่งตำนาน
แพะเมืองผี ตั้ง อยู่ระหว่างตำบลทุ่งโฮ้ง และตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร บนเส้นทางสายแพร่ – ร้องกวาง แยกตรงกิโลเมตรที่ 9 เข้าไปอีก 6 กิโลเมตร โดยสถานที่ตั้งของแพเมืองผีมีลำธารสายเล็กๆ ไหลผ่าน ในสมัยโบราณเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านตำบลทุ่งโฮ้ง และใกล้เคียงให้ความนับถือมาก เพราะมีประวัติความเป็นมาที่ลึกลับโดยคนโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่า มียายแก่เข้าไปเที่ยวในป่าหาผักหน่อไม้มาเป็นอาหาร ได้หลงไปในที่แห่งนี้แล้วพบหลุมเงินหลุมทองจึงเอาเงินเอาทองใส่หาบจนเต็ม แล้วยกใส่บ่าเพื่อจะหาบกลับบ้านแต่ก็หลงไปหลงมาในป่าแห่งนั้น เพราะเทวดาเจ้าถิ่นนั้นไม่ให้เอาไป เพียงแต่เอามาอวดให้เห็น ยายผู้นั้นจึงหาหนทางเอาหาบนั้นกลับบ้านไม่ได้ จึงได้วางหาบนั้นไว้แล้วจัดแจงตัดไม้มาคาดทำเป็นราว แต่ก็ยังไม่สามารถนำหาบเงินหาบทองนั้นออกมาได้สักที ยิ่งยกเท้าไปข้างหน้าก็ยิ่งเหมือนยกถอยหลังไปอีกเหมือนหนึ่งว่ามีคนดึงหาบ นั้นไว้ ยายแก่จึงวางหาบไว้ที่นั่นแล้วรีบไปบอกชาวบ้านให้มาดูหาบเงินหาบทองนั้น พอชาวบ้านหลั่งไหลไปเป็นจำนวนมาก ครั้นเมื่อไปถึงเงินทองนั้นกลับหายไปตามป่านั้น เมื่อพบรอยเท้าจึงสะกดจามรอยเท้าไปจนถึงเสาเมโร และไม่มีรอยปรากฏไปทางอื่นเลย ยายแก่กับชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า “แพะเมืองผี”
แพะ หมายถึง ป่าละเมาะ
เมืองผี หมายถึง ความเงียบเหงาเหมือนเมืองผี
เสาเมโร หมายถึง เสารูปเหมือนปราสาทศพผู้ตายทางภาคเหนือ
ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จมาที่อ่างเก็บน้ำห้วยเป๊าะ ท้องที่ หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพื่อทรงเปิดอ่างและทรงปล่อยปลา เมื่อเสร็จพิธีเรียบร้อยแล้วสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงตรัสถามราษฎรที่ เข้าเฝ้ารับเสด็จว่ามีป่าอยู่ไกลไหม และสัตว์ป่ายังมีอยู่หรือไม่ อะไรบ้าง ราษฎรที่ถูกถามก็ตอบว่า ป่าอยู่ไม่ไกล และสัตว์ป่าก็บังมีอยู่มาก สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงดดำริว่า อยากให้รักษาป่าและสัตว์ป่าแห่งนี้ให้เป็นการถาวร เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารเพื่อการกสิกรรมของราษฎรต่อไป หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงส่งราชเลขาส่วนพระองค์มาหาราย ละเอียดเกี่ยวกับป่าแหล่งนี้ และส่งให้จังหวัดดำเนินการ ทางจังหวัดดำเนินการ ทางจังหวัดได้เสนอเรื่องราวไปยังกรมป่าไม้เพื่อให้ดำเนินการจัดตั้งตาม โครงการพระราชประสงค์
สถานที่ตั้งและอาณาเขต
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง อยู่ในท้องที่ ตำลบ้านกลาง และตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ประมาณ 97 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60,625 ไร่ พื้นที่รับผิดชอบอยู่ในแผนที่สภาพภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 หมายเลขระวาง 5046III
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันสลับซ้อน มีเทือกเขายางติดต่อกันชั้นๆ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 300-1,189 ม. มีความลากชันตั้งแต่ 35-40 องศา
ลักษณะภูมิอากาศ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง ตั้งอยู่ในเขตลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีฤดู 3 ฤดูกาล ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน มีอากาศร้อนอบอ้าว ประมาณ 35-38 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน มีฝนตกชุกประมาณ 800-1,000 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม มีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิประมาณ 10-17 องศาเซลเซียส
ชนิดป่าและพรรณไม้
ป่าดอยหลวงเป็นป่าที่สมบูรณ์มาก มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่สภาพป่า ถูกรบกวนน้อยมาก แบ่งชนิดของป่าได้ ดังนี้
1.ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarps Forest) ป่าชนิดนี้จะพบได้ตามยอดเขาและสันเขาโดยเฉพาะบนสันเขา ดอยหลวง พรรณไม้ที่ข้อยู่ได้แก่ รัง เต็ง เหียง หลวง รกฟ้า ฯลฯ พวกไม้พื้นล่างเป็นพวกหญ้า เพค ปรง เป็ง ฯลฯ
2.ป่าเบ็ญจพรรณชื้น (Mixed Deciduous Forest) ป่าชนิดนี้มีความชุ่มชื้นมากกว่าป่าเต็งรังอยู่ถัดจากป่าเต็งรังลงมาถึง บริเวณลำห้วย พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ประดู่ แดง มะค่าโมง มะค่าแต้ ตะแบกใหญ่ ชิ่งชัน ยมหิน อ้อยช้าง ปออีเก้ง เสลา อินทนิน ตะเคียนหิน ซ่านและไผ่ต่างๆ
3. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ป่าชนิดนี้จะพบตามบริเวณขุนห้วย ซึ่งพื้นดินมีความชุ่มชื้นสูงมาก พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่จะเป็นไม้ไผ่ผลัดใบ ได้แก่ ตะเคียนหมู ตะเคียนทอง มะไฟป่า ยาง จำปีป่า และหวาย นอกจากนี้ บริเวณสันเขาเขตติดต่อจังหวัดลำปางมีความสูงมากบางช่วงมีสนสองใบสนสามใบขึ้นอยู่
สัตว์ป่า
สภาพป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงมีหลากหลายชนิด เช่น ป่าทึบ ป่าโปร่ง ป่าไผ่ มีไม้ที่ให้ผลและใบซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ป่า กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงทำให้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ค่าง ลิงวอก หมีควาย ชะนี อีเห็น เก้ง หมูป่า เลียงผา กระจง ลิ่น ตุ่น กระรอก เต่า งู นกชนิดต่าง ๆ ไก่ป่า
แหล่งความงามตามธรรมชาติ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง มีสถานที่น่าสนใจ คือ
1.ถ้ำผาแง่แดง อยู่ห่างจากที่ทำการเขตฯ ดอยหลวง ประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนหุบเขาสูงภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย สวยงามมาก ความลึกของถ้ำประมาณ 30 เมตร ความกว้างประมาณ 12 เมตร
2. ถ้ำผาปก ตั้งอยู่ยอดเขาสูง ใกล้กับหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยหม้าย ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร จากหน่วยฯ สามารถมองเห็รทิวทัศน์ของอำเภอสอง ถ้ำผาปกเป็นถ้ำขนาดเล็ก แต่มีความลึกมากและมีประวัติอันยาวนาน
3. น้ำตกห้วยจันทร์ อยูห่างจากที่ทำการเขตฯ ประมาณ 4 กม. มีความสูงประมาณ 7-10 เมตร
4. บ่อน้ำร้อน ตั้งอยู่กลางลำห้วยโป่ง ในบริเวณที่ทำการเขตฯ ดอยหลวง
เส้นทางคมนาคม
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดแพร่ เดินทางได้ 3 ทาง คือรถยนต์, รถไฟและทางเครื่องบิน
ทางรถยนต์ มีรถยนต์โดยสารประจำทางปรับอากาศจากสถานีขนส่งหมอชิต กรุงเทพฯ ถึงสถานีขนส่งจังหวัดแพร่ ระยะทางประมาณ 570 กม.
ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย ต่อรถโดยสารรับจ้างหรือรถยนต์โดยสารประจำทางไปสถานีขนส่งแพร่ ต่อรถยนต์โดยสารประจำทางถึงอำเภอสอง จากนั้นต้องจ้างเหมารถยนต์รับจ้าง หรือรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้าไปยังที่ทำการเขตฯ ราคาประมาณ 50-100 บาท
การติดต่อ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง ตู้ปณ. 5 อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 54120
สำนักงานป่าไม้เขตแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000 โทร. 0 - 545 1116
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยพระครูวิฑิตพิพัฒนาภรณ์ หรือ พระครูบามนตรี ธมฺมเมธี เจ้าอาวาส ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยน้ำพริก หมู่ที่ 5 ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ห่างจากรุงเทพมหานคร 527 กิโลเมตร อยู่ริมถนนหมายเลข 101 เด่นชัย-ลำปาง ห่างจากสามแยกเด่นชัยประมาณ 5 กิโลเมตร ผ่านค่ายทหาร ม.พันสิบสองหรือค่ายพญาไชยบูรณ์ เป็นวัดบนยอดม่อนโทนสูงราว 20 เมตร เนื้อที่ราว 25 ไร่ ที่นี่เป็นที่รวมยอดงานศิลปะ และจำลองงานศิลป์ชั้นยอดของล้านนา จากหลายแหล่งหลายจังหวัดทั้งในไทยและสิบสองปันนาในมณฑลยูนานของจีน มารวมไว้ในที่เดียว น่าทึ่งไปกว่านั้น งานรวบรวมและจำลองของใหม่ เกิดจากแรงผลักดันของเจ้าอาวาสพระครูบามนตรี ธมฺมเมธี ผู้มีฝีมือเก่งกาจงานศิลปะล้านนา ทั้งการหล่อพระ การปั้นและแกะสลักไม้ การไปเยือนวัดนี้จึงดูประหนึ่งไหว้พระในวัดบนเขา และชมของดีเมืองเหนือที่ได้รวบรวมไว้อย่างน่าทึ่ง วิจิตรงดงาม เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเกินกว่าจะประเมินค่าได้
ช้อปปิ้ง ของฝากจากเมืองแพร่
เสื้อม่อฮ่อม เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่ นับเป็นสินค้าที่มีคุณภาพจากแหล่งคุณภาพทั้งในด้านการทอ การย้อม ฝีมือการตัดเย็บ และได้รับความนิยมจากคนทั่วไป แหล่งผลิตใหญ่อยู่บริเวณบ้านทุ่งโฮ้ง ถนนยันตรกิจโกศล อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 101 ถนนสายแพร่-น่าน
ชุดกีฬาผ้าร่ม และเสื้อกันหนาว ตัดเย็บประณีตออกแบบสีสันหลากสี มีราคาไม่แพง แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านร่องฟอง อำเภอเมือง และยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องมือเกษตรที่ทำจากเหล็กเก่า เช่น จอบ เสียม มีด พร้า เคียว และชมวิธีการตีเหล็ก
ผ้าตีนจก หัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความสวยงามมีรูปแบบการทอที่ประณีต มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าแล้วปัจจุบันนิยมนำมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ เช่น กระเป๋าถือ รองเท้า เครื่องประดับตกแต่งบ้าน แหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่ อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น และ อำเภอเด่นชัย
ผ้าบาติก ผลิตโดยการนำผ้าไหมชั้นดีมาเขียนลายระบายสีด้วยฝีมือของช่างผู้ชำนาญ ผืนผ้างดงามด้วยลวดลาย และสีสันอันกลมกลืน เป็นสินค้าที่มีความโดดเด่นน่าซื้อหา แหล่งผลิตอยู่ที่ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง
ผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ งาน หัตถกรรมที่เน้นฝีมือการประดิษฐ์ นำผ้ามาต่อกัน บุด้วยฟองน้ำ และด้นทับด้วยมือทั้งผืน ทำให้ลวดลายบนผ้านูนเด่นลวดลายแต่ละผืนจะไม่ซ้ำกัน ผลิตภัณฑ์จะมีทั้งผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ปลอกหมอน หรือแม้กระทั่งผืนผ้าที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ประดับตกแต่งผนังอาคารบ้าน เรือน แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ และ อำเภอร้องกวาง
ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย และผ้าซาติน เป็นงานหัตกรรมฝีมือการประดิษฐ์ตัดเย็บที่ปราณีตมีหลายรูปแบบ เช่น หมอนรูปหัวใจ
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากล้อเกวียน ตั้งอยู่ที่สวนไซทอง หมู่ 10 ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำล้อเกวียนเก่ามาแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ชนิดต่าง ๆ เช่น โคมไฟ ชิงช้า เก้าอี้สามขา โซฟาเกวียน ไม้ที่ใช้ทำได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า และล้อเกวียนเก่าที่มีคุณภาพดี ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 500–70,000 บาท และนอกจากนั้นภายในสวนไซทองยังมีล้อเกวียนเก่า ไหหมักเมี่ยง (ชาวบ้านนำมาหมักไว้เพื่อเคี่ยว ทำให้ไม่ง่วง และขยันทำงาน) เครื่องใช้ไม้สอยที่ทำจากไม้ในอดีตที่สะสมรวบรวมไว้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สวนไซทอง โทร. (054) 613458
ผลิตภัณฑ์จักสานเถาวัลย์ โดยนำเอาเถาวัลย์มาประดิษฐ์สานเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และของใช้ประดับบ้านเป็นที่นิยมอยู่ทั่วไป แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านวังชิ้น
ผลิตภัณฑ์ตอกไม้ไผ่ นำตอกไม้ไผ่มาสานเย็บต่อกัน ตกแต่ง และเพิ่มความอ่อนหวานด้วยผ้าลูกไม้ และริบบิ้น เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านบ้านห้วยม้า อำเภอเมือง และ อำเภอร้องกวาง
หัตถกรรมฝุ่นไม้ แกะสลักเป็นรูปมังกร และรูปสัตว์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับนำไปตกแต่งบ้านเรือนอย่างภูมิฐาน แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านแม่ยางหลวง บ้านแม่ยางเปรี้ยว อำเภอร้องกวาง
ดอกไม้แห้งปรุงกลิ่น งานฝีมือพื้นบ้านที่นิยมในท้องตลาด โดยการนำดอกไม้มาตากแห้ง และอบกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ใส่ในภาชนะสวยงาม เหมาะสำหรับตกแต่งบ้าน หรือมอบเป็นของที่ระลึก แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านฝ้าย อำเภอมือง และ อำเภอวังชิ้น
หมู่บ้านโป่งศรี ตั้งอยู่ที่ตำบลถิ่น เป็นหมู่บ้านซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุเก่าเก็บ ทั้งที่เป็นของมีค่า และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นของเก่า เช่น เฟอร์นิเจอร์จากล้อเกวียน นอกจากนั้นยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเงินโบราณ และมีโรงงานผลิตผ้าบาติกด้วย
อำเภอเมือง
ขนมครกแม่หล่าย 73 ม. 2 ต. แม่หล่าย ถ. สายแพร่-ร้องกวาง ห่างจากตัวเมืองแพร่ 10 กิโลเมตร
นกน้อย 6/3 ถ. ยันตรกิจโกศล
บ้านประทับใจ 81/1 หมู่ 7 ต. ป่าแมต โทร. 511282, 511008
บายศรีครีเอชั่น 124/5 เหมืองหม้อ ถ. ทุ่งโฮ้ง-ป่าแดง โทร.522494, 524509
ปอแก้ว 64-66 ถ. เ จริญเมือง
พ. วงศ์ไชยวัฒน์ 385 ถ. เจริญเมือง
พาณี ถ. เจริญเมือง
ม่อฮ่อมแม่หนู 60 ถ. เจริญเมือง โทร. 522772
ม่อฮ่อมเพชรา 330/1 หมู่ 2 ต. โฮ้ง
มะขามแก้วมุกดา ถ. เจริญเมือง
ร้านดอกแก้ว 69/3 ถ. ยันตรกิจโกศล โทร. 511996
สุจินต์ หมูยอ ถ. เจริญเมือง
อ. กาญจนประดิษฐ์ ถ. เจริญเมือง
อาเนียร 36 ถ. เจริญเมือง โทร. 522038
อำเภอสูงเม่น
คอทเท็จ อินดัสตรี อุตสาหกรรมในครัวเรือน ต. ดอนมูล
อำเภอลอง
กลุ่มศิลปาชีพบ้านประนอม โทร. 581441
โกมลผ้าโบราณ ตรงข้ามโรงเรียนลองวิทยา โทร. 581532
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น