23:00

จังหวัดลำปาง

ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก

http://flash-mini.com/thailand/main/%C5%D3%BB%D2%A7/logo.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

ลำปาง เป็นแหล่งอารยธรรมล้านนาไทยที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าจังหวัดใดๆ ชาวลำปางมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมท้องถิ่น รถม้าพาหนะคู่เมือง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่คงความบริสุทธิ์สวยงาม มีอุทยานแห่งชาติที่มีการจัดการที่ดี และควบคู่กันไปกับเมืองที่เคยเป็นแหล่งทำไม้ในอดีต ช้างที่เคยทำหน้าที่ลากซุงจึงเป็นสัตว์อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของ เมือง เครื่องปั้นดินเผาที่ทำจากดินขาวขึ้นชื่อ สิ่งเหล่านี้ทำให้นครลำปางกลายเป็นจุดหมายที่นักเดินทางมักแวะมาเยี่ยมชม

ลำปาง หรือเขลางค์นครในอดีต เป็นเมืองที่มีรถม้าเป็นสัญลักษณ์ มีวัดวาอาราม ที่เป็นศิลปะแบบพม่า และลานนาไทย มีโรงเรียนฝึกลูกช้าง ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ลำปางมีเนื้อที่ ๑๒,๕๓๓.๙๖๑ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก อำเภอเกาะคา อำเภองาว อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ อำเภอแม่ทะ อำเภอสบปราบ อำเภอเสริมงาม อำเภอห้างฉัตร อำเภอแม่เมาะ และอำเภอเมืองปาน

ลำปาง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทาง ๕๙๙ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๑ หรือ ทางหลวงสายเอเซีย ๓๒ จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ถึงลำปางใช้เวลาเดินทางประมาณ ๗ ชั่วโมง


ประวัติความเป็นมา :

แต่อดีตมาเมืองลำปาง มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น ศรีดอนชัย ลัมภะกัมปะนคร เขลางค์นคร และกุกกุฏนคร (นครไก่) คำว่า ลำปาง นั้นหมายถึงไม้ป้าง ตำนานเล่าว่าเป็นไม้ข้าวหลามที่ลัวะอ้ายกอนใช้หาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าว มะตูม มาถวายพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จมายังบริเวณนี้ ก่อนจะปักไม้เอาทางปลายลงเกิดเป็นต้นขะจาวที่เห็นอยู่ข้างวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นขะจาวนี้มีลักษณะผิดแผกจากไม้อื่นด้วยกิ่งก้านจะชี้ลงดิน เป็นไม้มงคลประจำจังหวัดลำปางที่มีอายุกว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว

ส่วนคำว่า เขลางค์นคร เป็นภาษาบาลี ปรากฏอยู่ในตำนานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 13 คำว่าลครซึ่งกลายมาจากนคร จึงเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกเมืองเขลางค์ ทั้งยังปรากฏใช้ในศิลาจารึกและพงศาวดารในรุ่นต่อมา ส่วนภาษาพูดจะออกเสียงว่าละกอน มีความหมายเดียวกับคำว่าเมืองลคร หรือ เวียงละกอน

นอกจากนี้บางตำนานยังเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระ พุทธเจ้าเสด็จออกโปรดสัตว์มาจนถึงเมืองนี้ พระอินทร์ได้ทราบก็เกรงว่าชาวเมืองจะตื่นไม่ทันทำบุญกับพระพุทธองค์ จึงแปลงกายเป็นไก่สีขาวขันปลุกชาวเมืองให้ตื่นทันออกมาทำบุญตักบาตร ด้วยเหตุนี้เมืองลำปางจึงได้ชื่อว่า กุกกุฏนคร อันหมายถึงเมืองไก่ขาว ไก่ขาวจึงเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่เราจะพบตามป้ายชื่อถนน บนสะพาน หรือตามตึกต่างๆแม้แต่ในชามตราไก่ที่ขึ้นชื่อ

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ใน พื้นที่ของนครลำปางมากว่า 3,000 ปีล่วงมาแล้ว มีการค้นพบภาพเขียนสีและโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ตลอดจนชิ้นส่วนภาชนะดินเผาในสมัยหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง

เวียงเมืองหรือเมืองเขลางค์นครเก่าตั้งอยู่ในบริเวณ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองปัจจุบัน ฝั่งเหนือของแม่น้ำวัง มีการพัฒนามาแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญไชยยังดำรงอยู่ เวียง คือ เมืองที่มีการกำหนดเขตรั้วรอบขอบชิด โดยการขุดคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ เมืองเขลางค์นครนี้มีฐานะเป็นเมืองหลวงคู่แฝดของอาณาจักรหริภุญไชย มีพระเจ้าอนันตยศหนึ่งในพระราชโอรสแฝดของพระนางจามเทวีผู้ครองอาณาจักรหริ ภุญไชยเคยเสด็จมาปกครองนครแห่งนี้ มีพื้นที่เมืองประมาณ 600 ไร่ และยังพบเวียงบริวารในอำเภอต่างๆ สำหรับเวียงบริวารที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือเวียงพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นเวียงทางพระพุทธศาสนา อยู่ที่อำเภอเกาะคาห่างจากตัวจังหวัดลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร สัณฐานของเวียงนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก มีร่องรอยของกำแพงดิน 3 ชั้น ระหว่างกำแพงดินเป็นคูน้ำคู่ขนานโอบล้อมเวียงไว้ แต่ปัจจุบันคูน้ำคันดินได้ถูกไถแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมไปตามกาลเวลา จนแทบจะมองไม่ออกว่าเป็นลักษณะเวียง

เมืองเขลางค์นครแห่งอาณาจักรหริภุญไชยนี้ มีผู้ปกครองสืบต่อกันมาตลอด ก่อนที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรล้านนาของพระยามังรายที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่ น้ำกกทางตอนเหนือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 พระยามังรายขยายอิทธิพลยกทัพล้ำเขตเข้ามาโจมตีอาณาจักรหริภุญชัย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อันมีเขลางค์นครเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กัน ในที่สุดได้ยึดเมืองทั้งสองไว้ได้และ มีการแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้น เป็นการเปลี่ยนวงศ์ผู้ครองเมืองมาเป็นสายของพระยามังราย ระหว่างนั้นได้สร้างเมืองเขลางค์นครขึ้นใหม่ในฐานะของเมืองหน้าด่าน ของอาณาจักรล้านนาสืบมา

อาณาจักรล้านาเจริญรุ่งเรืองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ อ่อนแอลงและถูกพม่ายึดอำนาจได้เมื่อปี พ.ศ. 2101 และตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ารวมระยะเวลานานถึง 200 ปี แต่ในบางครั้งก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งอยู่ทางตอนใต้ ร่องรอยอดีตที่แสดงถึงการขยายแผ่อิทธิพลด้านศิลปกรรม คือ รูปแบบของศิลปที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

ในสมัยที่พม่าครอบครองเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือตอนบนพม่าได้ส่งเจ้านายมาปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเชียงใหม่ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2275 ท้าวมหายศผู้ครอบครองเมืองหริภุญไชย ได้ยกทัพมาปราบผู้ที่คิดกอบกู้ชาติบ้านเมืองให้เป็นอิสระจากพม่า ได้ตั้งทัพอยู่บริเวณเวียงธาตุลำปางหลวง ชาวเมืองได้ติดต่อกับหนานทิพย์ช้างพรานป่าผู้กล้าให้ช่วยกู้เอกราชให้แก่ ลำปาง ในครั้งนั้นหนานทิพย์ช้างได้ยิงท้าวมหายศตายด้วยปืนใหญ่ ณ บริเวณวิหารหลวง ปัจจุบันหลังพระวิหารหลวงที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระเจดีย์ยังมีรอยรูกระสุน ปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่

ความเจริญของนครลำปางก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนกระทั่งใน ช่วงยุคทองช่วงหนึ่งในปี พ.ศ. 2425-2440 สมัยเจ้านรนันทชัยชวลิต เจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 9 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นครลำปางมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ในฐานะของศูนย์กลางการค้าไม้สักภาคเหนือ โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดเก่า ซึ่งมีอาคารพาณิชย์ ร้านค้า บ้านพักอาศัยของคหบดี ในสมัยนั้นโดยมากแล้วเป็นชาวพม่าที่เข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ และได้ตั้งชุมชนที่ท่ามะโอ ณ ตำบลเวียงเหนือ ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้สร้างวัดแบบศิลปะพม่าไว้หลายแห่ง

ศิลปะ อาจเนื่องมาจากการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ศิลปะที่พบในจังหวัดลำปางจึงล้วนแต่เป็นศิลปะสมัยล้านนาไม่พบศิลปะสมัยหริ ภุญชัย ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่มักพบเห็นได้ตามวัดต่างๆ ในลำปาง มี 3 แบบ คือ แบบพม่า แบบพม่าผสมเชียงใหม่ และแบบล้านนา

สถาปัตยกรรมแบบพม่า นั้นได้เข้ามามีอิทธิพลในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ซึ่งชาวพม่าได้เข้ามาผูกขาดการทำไม้ในภาคเหนือ และส่งไม้ไปขายยังภาคกลางและต่างประเทศ

ชาวพม่ามีคติอยู่ว่าเมื่อรวยแล้วต้องสร้างวัดหรือ บูรณะวัดเก่าเพื่ออุทิศให้รุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ในไม้ใหญ่อันถูกโค่นเพื่อ เป็นการล้างบาป วัดแบบพม่าที่พบในลำปาง ได้แก่ วัดศรีชุม วัดป่าฝาง วัดม่อนจำศีล วัดม่อนปู่ยักษ์ และวัดศรีรองเมือง ซึ่งสร้างวิหารเป็นรูปยอดปราสาทแบบเดียวที่เมืองมัณฑะเลย์ในพม่า ดังเช่นวิหารใหญ่วัดศรีรองเมือง เป็นต้น เป็นวิหารจำหลักไม้ทำยอดหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ มีลวดลายจำหลักไม้ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าเรือนไทยติดลูกไม้ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า แบบขนมปังขิง (Ginger Bread) คือไม้ฉลุที่ชายคาเป็นลายย้อย ลูกไม้ช่องลมก็ฉลุปรุเป็นลายเช่นกันและยังมีลายฉลุตามส่วนต่างๆของอาคารอีก มากมาย เช่น ทางขึ้นวิหารวัดศรีชุม ฉลุลายใต้หน้าจั่วได้อย่างวิจิตร เป็นการอวดฝีมือของช่างฉลุในยุคนั้นว่าทำงานอย่างประณีต ซึ่งเป็นศิลปะพม่าผสมฝรั่งที่นิยมทำกันมากในภาคเหนือ

สถาปัตยกรรมแบบเชียงใหม่ ที่ลำปางจะเก่าแก่ยิ่งกว่าที่พบในเชียงใหม่ เพราะสถาปัตยกรรมไม้ในเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นจากรูปแบบ เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ส่วนที่ลำปางล้วนเป็นของเก่าทั้งสิ้น ดังเช่น วิหารน้ำแต้มที่วัดพระธาตุลำปางหลวง มีภาพเขียนรุ่นเก่าร่วมสมัยกับอยุธยา ประตูใหญ่ด้านหน้าวัดมีลวดลายปูนปั้นประดับเป็นศิลปะเชียงใหม่รุ่นเก่า ซุ้มประตูวัดไหล่หิน และ ประตูวัดบ้านเวียง กลางเมืองเถินในลำปาง ก็เป็นศิลปะแบบเชียงใหม่เช่นกัน และยังมีประตูวัดล้อมแรด ซึ่งเป็นศิลปะดั้งเดิมของล้านนาที่สมควรจะถนอมรักษาไว้อย่างดีที่สุด

สถาปัตยกรรมแบบล้านนา พระวิหารหลวงวัดไหล่หิน และวัดปงยางคก เป็นพระวิหารรุ่นเก่าขนาดย่อม ลักษณะโปร่งด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนด้านหลังทึบ ประดิษฐานมณฑปหรือพระพุทธรูป เป็นวิหารเก่าแก่ของล้านนาที่กะทัดรัดแต่งดงามน่าดูยิ่ง

สำหรับผู้ที่สนใจทางศิลปะ ควรจะแวะวัดลำปางหลวงและวัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งได้รวบรวมศิลปะวัตถุจากที่ต่างๆ และจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัด ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวงจะมีศิลปะวัตถุแบบล้านนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องเขิน ตะลุ่มแบบโบราณรูปทรงแปลกๆ สังเค็ด ธรรมาสน์ คานหาบ ตู้พระไตรปิฎก และแบบจำลองปราสาทงานไม้รูปสัตว์ต่างๆ พิพิธภัณฑ์ของวัดพระแก้วดอนเต้าส่วนใหญ่มีรูปจำหลักไม้เทวดาและม้านั่งแปลกๆ ส่วนศิลปะล้านนามีแบบจำลองวิหารเจดีย์กับเตียงตั่งรูปและลายแปลกๆ


อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อเชียงรายและพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อสุโขทัย และตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อแพร่
ทิศตะวันตก ติดต่อเชียงใหม่ และลำพูน

รวมเนื้อที่ทังหมด 12,533 ตารางกิโลเมตร

ลำปางเป็นเมืองในหุบเขารูปแอ่งกระทะรายล้อมด้วยเทือกเขาสูงชัน บางส่วนผุดเป็นแนวหินแกรนิตบนเทือกเขาผีปันน้ำด้านตะวันตก ในบางยุคเกิดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดแอ่งที่ราบ ขนาดใหญ่และทิวเขามากมายทับซ้อนกัน เมื่อผ่านกาลเวลามายาวนานส่วนที่เป็นแอ่งก็กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดการทับถมของตะกอนดินและซากพืชซากสัตว์จนเป็นผืนดินที่ราบ แหล่งน้ำมัน และถ่านหินลิกไนต์แทรกตัวอยู่ในอำเภอแม่เมาะ บริเวณตอนกลางของเมืองลำปาง

บริเวณที่ราบภูเขาสูงและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่ราบดิน ตะกอนเก่า ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และมีแม่น้ำวังไหลผ่านทำให้บริเวณตอนกลางของจังหวัด อำเภอแม่พริก อำเภอเถิน และบางส่วนของอำเภอสบปราบเป็นแหล่งทำเกษตรกรรมตลอดทั้งปี ส่วนบริเวณอำเภอเมือง อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ อำเภองาว อำเภอห้างฉัตร และบริเวณตอนกลางของอำเภอแจ้ห่มจะเป็นที่ราบสูงและภูเขาสลับซับซ้อน บริเวณตอนบนและพื้นที่โดยรอบจังหวัด ด้านอำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว และบริเวณตอนใต้ของอำเภอแจ้ห่มส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ปกคลุมด้วยผืนป่าอุดมสมบูรณ์อันเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเมืองลำปาง

ด้วยลักษณะพื้นที่ซึ่งเป็นแอ่งก้นกระทะดังกล่าว จึงทำให้มีอากาศอบอ้าวแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีอากาศแตกต่างกันมากตามฤดูกาล ฤดูหนาวค่อนข้างหนาวจัด ฤดูร้อนยาวนาน

ที่เที่ยว

อุทยานแห่งชาติดอยจง

http://www.tourvtthai.com/home/images/stories/76/north/oottayahn/np216t1p2.jpg http://na-yang.com/image/DJ-Maehad.jpg อุทยานแห่งชาติดอยจง ลำปาง

http://www.tourvtthai.com/home/images/stories/76/north/oottayahn/np216t1p4.jpg http://www.pantown.com/data/9116/board1/20.jpg http://www.hamanan.com/tour/lampang/image/rodma.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติดอยจง มีอาณาเขตดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ จด อำเภอเกาะกา ศูนย์ศิลปาชีพแม่ต๋ำ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ จด อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก จด แม่น้ำวัง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก จด อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

การเดินทาง :

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง การเดินทางเริ่มจาก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธินลงไปทางใต้ประมาณ 54 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอสบปราบ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนกรมโยธาธิการสายบ้านหล่าย – บ้านแก่น เมื่อถึงบ้านนาไม้แดงจากถนนพหลโยธิน ประมาณ 8 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติดอยจง รวมระยะทางจากอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจงประมาณ 68 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ :

มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศตะวันตดเฉียงใต้ มีเทือกเขาขนาดใหญ่เล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ระหว่าง 270 – 1300 เมตร เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดลำห้วยหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำวัง ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญของจังหวัดลำปาง และยังเป็นแหล่งต้นน้ำสำหรับอ่างเก็บน้ำหลายแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำแม่ปราบ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปู อ่างเก็บน้ำแม่ยอง อ่างเก็บน้ำแม่ทาย อ่างเก็บน้ำแม่กาด อ่างเก็บน้ำแม่อาบฯ โดยน้ำจากอ่างเก็บน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำวัง เป็นประโยชน์ทางการเกษตรในอำเภอสบปราบ อำเภอเถินและอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหิน มีแร่รัตนชาติ สังกะสี หินแกรนิต หินอ่อน อยู่โดยทั่วไป

ลักษณะภูมิอากาศ :

ในพื้นที่ระดับต่ำตามเชิงเขามีสภาพอากาศใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคเหนือ มีอุณหภูมิต่ำสุด 9.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 43.1 องศาเซลเซียส ส่วนสภาพอากาศบนยอดเขาอุณหภูมิแตกต่างจากอากาศในพื้นที่ราบ มีอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 4 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยวัดได้ 893.6 มิลลิเมตรต่อปี

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่า ประกอบด้วยป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา

สัตว์ป่า มีสัตว์ป่าที่พบหลายชนิด เช่น หมีควาย เก้ง สิงชนิดต่างๆ หมูป่า กระแต กระรอก พังพอน อีเห็น นกชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ เป็นต้น

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

แหล่งท่องเที่ยวบนยอดดอยจง โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาต่างๆ ใช้เส้นทางเดินเท้าเพียงอย่างเดียวจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถึงบริเวณยอดดอยจง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า และจุดชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นได้ สวยงามมาก น่าประทับใจ มองเห็นทัศนียภาพรอบด้านได้ 360 องศา

-เป็นจุดชมวิวมองเห็นบริเวณป่าของพื้นที่ มีเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนลดหลั่นกันมากมาย

-จุดที่สูง 1,339 เมตร จากระดับน้ำทะเลจะมีอากาศหนาวเย็นสบายตลอดทั้งปี

-บริเวณยอดเขามีกล้วยไม้ชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมากให้ได้ชม โดยเฉพาะกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยจะมีสีสวยงามมาก แปลกกว่าที่อื่นๆ จะออกดอกในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี

-อ่างเก็บน้ำต่างๆ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ตั้งอยู่โดยรอบเขตอุทยานแห่งชาติ มีทัศนียภาพสวยงามเป็นอ่างเก็บน้ำแม่ทาย อ่างเก็บน้ำแม่ยอง อ่างเก็บน้ำแม่อาบ

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/23/web/A-yowe_clip_image001_0001.jpg อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ลำปาง http://www.123thailandtravel.com/images/northern/Tham%20Pha%20Thai%20National%20Park.jpg

npc84.jpg http://lpa.nfe.go.th/tunghang/picture/100_3775.jpg


ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ทั้งหมด โดยประมาณ 758,750 ไร่ หรือ 1,214 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเนื่องจากถ้ำผาไท เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดลำปาง มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำแม่น้ำวัง และแม่น้ำงาว เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่งาวฝั่งขวา , ป่าแม่โป่ง , ป่าขุนวัง , แปลงที่หนึ่ง , ป่าแม่แจ้ฟ้า , ป่าแม่เมาะ , ป่าแม่ต๋า และป่าแม่มาย , ป่าแม่ยาง และป่าแม่อาง

มีอาณาเขตติดต่อกับ
ทิศเหนือ จด อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ทิศใต้ จด ศาลเจ้าพ่อประตูผา ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก จด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) อำเภองาว จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก จด แม่น้ำวัง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

การเดินทาง :

ระยะทางจากจังหวัดลำปาง ถึงอำเภองาว และ จากอำเภองาว ถึงสำนักงานถ้ำผาไท 65 กิโลเมตร มีสภาพถนนเป็นถนนลาด ยางตลอดเส้นทาง

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำ ในการติดต่อสอบถาม ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก

มีบ้านพักจำนวน 3 หลัง พักได้ทั้งหมด 30 คน และมีสถานที่ให้กางเต้นท์ จำนวน 1 แห่ง พักได้ทั้งหมด 100 คน และร้านสวัสดิการอุทยานฯ บริการอาหาร เครื่องดื่ม

สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง 52110

หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพักฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5614292-4 ต่อ 724 , 725

ลักษณะภูมิประเทศ :

เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 330 เมตร และสูงสุด 1,202 เมตร โดยแหล่งน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค ได้จาก แม่น้ำงาว ห้วยแม่พลึง น้ำแม่ห้าง ลุ่มน้ำแม่เจ้าฟ้า น้ำแม่เมา และห้วยแม่หยวก

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
มีเทือกเขาที่สลับซับซ้อน มีเทือกเขาสูงชัน เนื่องจากสภาพภูเขาที่เป็นหินปูน ทำให้ถ้ำมีขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก และมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกหลายแห่ง สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่ น้ำตกตาดเหมย น้ำตกห้วยตาดน้อย น้ำตกแม่ส้าน น้ำตกแม่แก้ ถ้ำผาไท ถ้ำโจร ถ้ำราชคฤห์ หล่มภูเขียว

นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาพักผ่อน เที่ยวชมธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทได้ตลอดทั้งปี โดยที่ท่านสามารถเลือกสัมผัสธรรมชาติได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ปิคนิค เล่นน้ำตก เดินป่า ส่องสัตว์ เที่ยวถ้ำ เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติแม่วัง

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติแม่วัง มีเนื้อที่ 314,375 ไร่ หรือ 503 ตารางกิโลเมตร เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ปราบ ป่าแม่อาบ ป่าแม่พริก ป่าแม่ลี้ และป่าขุนแม่ลี้

ทิศเหนือ จด ศูนย์ศิลปาชีพแม่ต๋ำ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ จด ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่พริก ตำบล แม่พริก อำเภอ แม่พริก จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก จด ป่าสงวนแห่งชาติแม่ปราบ ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก จด ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลี้ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

การเดินทาง :

ระยะทางจากจังหวัด ลำปาง ถึง อำเภอ สบปราบ 60.00 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอ สบปราบ ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติแม่วัง 14.00 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 7.50 กิโลเมตร และถนนลูกรัง(ชั่วคราว) 6.50 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติแม่วัง มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถามให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติแม่วัง มีสถานที่ให้นักท่องเที่ยวกางเต้นท์

สนใจติดต่อได้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วัง หมู่ที่ 6 ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง 52170 หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร.5797223 , 5795734 หรือ โทร.5614292-4 ต่อ 724 , 725

ลักษณะภูมิประเทศ :

เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนทอดตัวยาวและแนวเหนือใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 270 เมตร และสูงสุด 1339 เมตร มีความลาดชันประมาณ 70% ของพื้นที่ แหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ได้แก่ ลำห้วยแม่ยอง และลำห้วยแม่งาช้าง ทรัพยากรในพื้นดิน ได้แก่ แร่รัตนชาติ สังกะสี หินแกรนิต และ หินอ่อน นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานอยู่เกือบโดยรอบของพื้นที่อุทยาน

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

อุทยานแห่งชาติแม่วังมีนกอยู่ถึง 30 ชนิดด้วยกัน สัตว์ที่เป็นจุดเด่น คือ หมีควาย และที่มีเป็นจำนวนมาก ได้แก่ หมูป่า และเก้ง

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

อุทยานแห่งชาติแม่วัง เป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน มีหน้าผาและถ้ำที่สวยงาม และคงความเป็นธรรมชาติไว้ได้อย่างสมบูรณ์ มีที่ราบบนยอดเขา ป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์บริเวณยอดเขา ทุ่งหญ้าและน้ำตกที่จะมีเฉพาะในฤดูฝน ช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยาน คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

http://www.teedindd.com/home/components/com_joomlaboard/uploaded/images/_______-272b453f227c9a22bc2ac158ef9ef2a6.JPG

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิด และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตก แอ่งน้ำอุ่น บ่อน้ำพุร้อน ซึ่งสามารถเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงว่าใต้พื้นโลกเรายังมีความร้อนระอุอยู่

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ประมาณ 592 ตารางกิโลเมตร หรือ 370,000 ไร่

การเดินทาง :

น้ำตกแจ้ซ้อน อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำปางประมาณ 75 กิโลเมตร การเดินทางเริ่มต้นจากตัวเมืองลำปาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 1035 สายลำปาง-แจ้ห่ม ซึ่งเป็นทางลาดยาง ระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าไปยังกิ่งอำเภอเมืองปาน ไปตามเส้นทางอีกประมาณ 17 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกแจ้ซ้อน ปัจจุบันนี้สามารถเดินทางโดยรถยนต์ได้ทุกฤดูกาล

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยาน แห่งชาติแจ้ซ้อน ครั้งยังเป็นวนอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนได้รับความอนุเคราะห์จาก หลายหน่วยงานจำนวนมาก ได้ร่วมกันพัฒนาจัดตกแต่งอุทยานเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ มีสิ่งอำนวยความสะดวกประกอบด้วยบ้านพักรับรอง 1 หลัง ศาลาพักร้อน ศาลาเอนกประสงค์สำหรับการจัดกิจกรรม ห้องอาบน้ำรวม 10 ห้อง และห้องน้ำสำหรับนักท่องเที่ยว ค่าเช่าห้องประชุม 100 คน/ห้อง ราคา 1,000 บาท/วัน ค่าอาบน้ำแร่ ผู้ใหญ่ 20 บาท/ครึ่งชั่วโมง เด็ก 10 บาท/ครึ่งชั่วโมง

อุทยานมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 4 หลัง ดังนี้
บ้านคำดอย พักได้ 6 คน ราคาห้องละ 700 บาท/คืน
บ้านคำขาว พักได้ 6 คน ราคาห้องละ 700 บาท/คืน
บ้านคำแสด พักได้ 6 คน ราคาห้องละ 700 บาท/คืน
บ้านคำปอง พักได้ 6 คน ราคาห้องละ 700 บาท/คืน

ลักษณะภูมิประเทศ :

สภาพภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ติดต่อกับสันปันน้ำซึ่งเป็นเขตแบ่งระหว่างลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,700 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบริเวณป่าต้นน้ำลำธาร และเป็นแหล่งต้นกำเนิดของลำห้วยใหญ่ๆ ที่สำคัญเป็นสาขาของแม่น้ำวัง เช่น แม่น้ำสอย ห้วยแม่กา ห้วยแม่ปาน

ลักษณะภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย 3 ฤดู คือ
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นช่วงที่อากาศร้อนมาก

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดงดิบ ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ มะค่าโมง ยมหิน ยมหอม ดำดง ตะแบกยางขาว สนสองใบ สนสามใบ ประดู่ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น

สัตว์ป่าประกอบด้วย เก้ง กระจง หมูป่า เสือไฟ กระต่ายป่า เลียงผา บ่าง ลิง ค่าง เม่น หมี กระรอก กระแต และนกนานาชนิด เช่น นกกางเขนดง ไก่ป่า นกหัวขวาน นกเขา เป็นต้น ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี จะมีจั๊กจั่นป่ามารวมตัวกันบริเวณน้ำพุร้อน ซึ่งเชื่อกันว่า จั๊กจั่นป่าเหล่านี้มาดื่มน้ำแร่

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

จากลักษณะพื้นที่ที่เป็นป่าผืนใหญ่ ประกอบด้วย เทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารสายสำคัญ ทำให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงามมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ประกอบด้วย

น้ำตกแจ้ซ้อน
เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลใสสะอาดตลอดทั้งปี เป็นน้ำตกที่มีแอ่งน้ำรองรับอยู่ตลอดสายลงมาเป็นขั้นๆ มีความสูง 6 ชั้น

น้ำตกแม่มอน
เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลรุนแรงจากชะง่อนผาสูงลงไปยังหุบเหวเบื้องล่าง

น้ำตกแม่ขุน
เป็นต้นน้ำที่สายยาว สูงจากยอดเขาประมาณ 100 เมตร ไหลมาพบกับน้ำตกแม่มอน

บ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่
เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่มีสภาพการเกิดทางธรณีวิทยาน่าสนใจ น้ำพุร้อนผุดจากบ่อเล็กถึง 9 บ่อ ในบริเวณราว 3 ไร่ เต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ นอกจากนี้ยังมีน้ำพุร้อนที่มีกลิ่นกำมะถันค่อนข้างอ่อนอยู่ตามบริเวณใกล้ เคียง มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 73 องศาเซลเซียส

แอ่งน้ำอุ่น
เป็นแอ่งน้ำที่เกิดจากการไหลของน้ำพุร้อนมาพบกับน้ำเย็นที่มาจากน้ำตกแจ้ ซ้อน ทำให้เกิดแอ่งน้ำที่มีทั้งน้ำร้อนน้ำเย็นผสมกัน เหมาะแก่การแช่อาบเป็นอย่างยิ่ง หลายคนเชื่อว่าการได้อาบน้ำอุ่นเป็นการบำบัดความเมื่อยล้าของร่างกายเป็น อย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว

อุทยานแห่งชาติแม่วะ

http://images.thaiza.com/110/110_200810051359152..jpg http://elearning.tws.ac.th/student50/%A7%D2%B9%C142549/m40249/tanaporn402/kamt21/images/maewa1%5B1%5D.jpg http://elearning.tws.ac.th/student50/m403/vern403/images/m3.jpg

np170t1p23.jpg อุทยานแห่งชาติแม่วะ ลำปาง http://www.123thailandtravel.com/images/northern/Mae%20Wa%20National%20Park.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยาน แห่งชาติแม่วะ ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ 368,125 ไร่ หรือ 589 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้น เพราะการเรียกร้องของราษฎรในตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่วะ , ป่าแม่เลิม และป่าแม่ปะ , ป่าแม่มอก , ป่าแม่สลิด และป่าโป่งแดง

ทิศเหนือ จด ทางหลวงแผ่นดินสายเถิน - ทุ่งเหลี่ยม ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ จด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่สลิด - โป่งแดง ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก จด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วะ ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก จด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วะ ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 97 กิโลเมตร และถนนลูกรัง (ชั่วคราว) ประมาณ 3 กิโลเมตร

การเดินทาง :

ระยะทางจากจังหวัดลำปาง ถึงอำเภอเถิน ประมาณ 80 กิโลเมตร และระยะทางจากอำเภอเถิน ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติแม่วะ ประมาณ 20 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยาง 97 กิโลเมตร และ ถนนลูกรัง (ชั่วคราว) 3 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

อุทยานแห่งชาติแม่วะ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ประจำในการติดต่อสอบถาม ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

มีเส้นทางเดินไพรศึกษาธรรมชาติ โดยเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก มีร้านขายของที่ระลึก และมีสถานที่กางเต้นท์ไว้รองรับนักท่องเที่ยว พักได้ ประมาณ 50 คน

สนใจติดต่อที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วะ หมู่ 2 ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 52230 โทร. (054) 296009

หรือติดต่อสอบถามได้ที่งานบริการบ้านพักฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 5797223 , 5614292-4 ต่อ 724 , 725

ลักษณะภูมิประเทศ :

ภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวตามแนวยาวจากเหนือลงใต้ ความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร ความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก ประมาณ 30 กิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเล ต่ำสุด 100 เมตร และสูงสุด 1,020 เมตร มีสภาพความลาดชันของพื้นที่ตั้งแต่ 30 - 80 องศา

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

อุทยานแห่งชาติแม่วะ พรั่งพร้อมไปด้วยสัตว์ป่านานาพันธุ์ ทั้งนก สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม และประเภทอื่นๆ สัตวที่เป็นลักษณะเด่น คือ ผีเสื้อ หลากสีสัน หลากชนิด และสัตว์ป่าที่มีจำนวนมาก ได้แก่ ไก่ป่า หมูป่า หมาป่า และแมวป่า

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

อุทยานแห่งชาติแม่วะ
มีสถานที่และจุดเด่นที่น่าสนใจหลายที่ด้วยกัน อาทิ น้ำตกแม่วะหลวง ทุ่งปางมะนาว ทุ่งปางห้วยโค้ง ดอยลาน ผาแดง ถ้ำน้ำผ่าผางาม ถ้ำเจดีย์ - ช้าง ลำห้วยแม่วะ ดอยผาก้อนดอยตอเฮีย

นักท่องเที่ยวสามารถขับรถ เดินป่า หรือถ่ายภาพเพื่อความบันเทิงและ การศึกษา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ปีนเขา เล่นน้ำตกและ ตั้งแคมป์ เป็นต้น จะเหมาะกับการท่องเที่ยวในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง เดือน เมษายน ของแต่ละปี

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
http://www.km-travels.com/information/photo/4_1.jpg http://www.lks.ac.th/kukiat/student/Different/project/npc8.jpg Image6
Image3 Image4 Image5

Image7
Image8
Image9


Image11
Image10 Image13


ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอห้างฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สภาพพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นบรรยากาศที่เงียบสงบ และมีอุโมงค์ขุนตาลซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยชาวเยอรมัน อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลมีเนื้อที่ประมาณ 255.29 ตารางกิโลเมตร หรือ 159,556.25 ไร่

การเดินทาง :

การเดินทางขึ้นไปบนดอยขุนตาล ไปได้ 2 ทางคือ ทางรถไฟสายเหนือ ลงที่สถานีขุนตาลแล้วเดินเท้าไปที่ทำการอีกประมาณ 1.3 กิโลเมตร เป็นทางที่สะดวกที่สุด

หรืออีกเส้นทางหนึ่งคือทางรถยนต์โดยเลี้ยวขวาตรงหลัก กิโลเมตรที่ 47 (เส้นทางสายลำปาง-ลำพูน) เข้าไปตามทางลูกรังอีก 18 กิโลเมตร ซึ่งสภาพถนนช่วงนี้ไม่ดีนัก บางช่วงก็ชันมากจึงควรใช้รถสภาพดี

สิ่งอำนวยความสะดวก :

ย. 1
ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานฯ ราว 1,100 เมตร เมื่อเดินทางขึ้นไปถึง ย. 1 จะพบพลับพลาที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาประทับ 1 หลัง และที่พักของการรถไฟฯ 3 หลัง คิดค่าที่พักหลังละ 450-600 บาท (บวกภาษีอีก 7 %) ติดต่อจองที่พักได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 225-6964

ย. 2
ตั้งอยู่ห่างจาก ย. 1 ไปราว 800 เมตร เมื่อไปถึงจะเห็นสวนลิ้นจี่และต้นไม้เมืองหนาว เช่น ลูกแพร์ ลูกพลับและทุ่งสน แต่สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวก็คือ บ้านพักของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่ว่าไม่เปิดรับรองแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป บริเวณ ย. 2 จะมีที่ทำการของอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล และมีเรือนพักรับรอง 6 หลัง ราคา 600-1,200 บาท ผู้สนใจติดต่อจองบ้านพักได้ที่ โทร. 579-0529 และ 579-4842

บ้านพักบริการนักท่องเที่ยวจำนวน 6 หลัง คือ
บ้านขุนตาล 7(ชมดารา) มี 2 ห้อง พักได้ 6 คน ค่าธรรมเนียมห้องละ 600 บาท
บ้านขุนตาล 8(ชมอัศดง)มี 2 ห้อง พักได้ 6 คน ค่าธรรมเนียมห้องละ 600 บาท
บ้านขุนตาล 9(ชมดอย)มี 3 ห้อง พักได้ 9 คน ค่าธรรมเนียมห้องละ 900 บาท
บ้านขุนตาล 10(ชมดง)มี 3 ห้อง พักได้ 9 คน ค่าธรรมเนียมห้องละ 900 บาท
บ้านขุนตาล 11(ชมไพร)มี 3 ห้อง พักได้ 9 คน ค่าธรรมเนียมห้องละ 1,200 บาท
บ้านขุนตาล 12(ชมอาทิตย์) มี 2 ห้อง พักได้ 9 คน ค่าธรรมเนียมห้องละ 1,200 บาท

ย. 3
อยู่ถัดจาก ย. 2 ขึ้นไปประมาณ 3,600 เมตร เป็นที่ตั้งของบ้านพักมิชชั่นนารี คิดค่าที่พักคนละ 70 บาท ลักษณะที่พักเป็นบ้านไม้หลังใหญ่ จำนวน 8 หลัง ติดต่อจองบ้านพักได้ที่ คณะกรรมการขุนตาล วิทยาลัยภาคพายัพ ตู้ ปณ. 161 เชียงใหม่ 50000 โทร. (053) 241255

ลักษณะภูมิประเทศ :

สภาพทั่วไป เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบอยู่บ้างตามสันเขา เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เช่นห้วยแม่ตาล ห้วยแม่ไทร เป็นต้น มีดอยขุนตาลเป็นยอดเขาสูงสุด ประมาณ 1,304 เมตร ประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ คือป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ขึ้นอยู่ในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ป่าสนเขาและป่าเบญจพรรณอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตรขึ้นไป

ลักษณะภูมิอากาศ : อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลแบ่งออกเป็น 3 ฤดูคือ
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน บนยอดดอยขุนตาลในฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายไม่ร้อนอบอ้าว
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในระยะเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม อากาศค่อนข้างหนาวจัดตลอดทั้งวัน

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้สัก ไม้มะค่าโมง ยมหอม กะบาก ตะแบก จำปาป่า มะม่วงป่า สนสามใบ สนสองใบ กว้าง ประดู่ ตะคร้อ ไม้ไผ่ต่างๆ ฯลฯ

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประกอบด้วย เก้ง กวาง หมูป่า ลิง ค่าง กระรอกบิน ไก่ป่า และนกนานาชนิด

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

อุโมงค์ขุนตาล
เป็นอุโมงค์ทางรถไฟรอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทยคือ ยาว 1,352 ฟุต มีสวนดอกไม้ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ศาลเจ้าพ่อขุนตาล และอนุสาวรีย์ ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์แก่ชาวเยอรมันผู้ดำเนินการควบคุมการก่อสร้าง

ตามยอดเขาสูง
เป็นจุดเด่นที่เหมาะสำหรับการพักค้างแรมเป็นอย่างยิ่ง เช่น จากที่ทำการอุทยานฯเดินทางเท้า ระยะทางประมาณ 1,100 เมตร จะถึง ย.1 เป็นที่ตั้งบ้านพักรับรองของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีเรือนพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว ย.2 มีสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้บริเวณนั้นมีความร่มเย็นสวยงามตามธรรมชาติ บริเวณที่ใกล้ยอดเขามีบ้านพักรับรอง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีรั้วรอบ ภายในบริเวณบ้านปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว และจัดตกแต่งสถานที่สวยงาม มีสวนลิ้นจี่ซึ่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จไปพักผ่อนอิริยบทที่เรือนรับรองนี้ 2 ครั้ง ส่วน ย.3 ห่างจาก ย.2 ประมาณ 3,600 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ของเทือกเขาขุนตาล(ม่อนส่งกล่อง) สามารถมองเห็นทัศนียภาพตัวเมืองลำปางได้อย่างชัดเจน ก่อนถึงยอดเขานี้จะผ่านป่าธรรมชาติที่ร่มรื่นและเย็นสบายตลอดทาง และจะผ่านบ้านพักของมิชชันนารีจำนวน 7 หลัง ซึ่งสามารถติดต่อขอเช่าได้ที่ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่

น้ำตกแม่ลอง
อยู่ทางสถานีขุนตาลทางทิศใต้ ห่างไปประมาณ 10 กิโลเมตร โดยลงรถไฟที่สถานีแม่ตาลน้อย แล้วเดินทางไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีน้ำตลอดปี และอากาศเย็นสบายตลอดปี

น้ำตกตาดเหมย
อยู่แยกจากเส้นทางด้านซ้ายมือ ระหว่างทางจาก ย.ที่ 2 ไป ย.ที่ 3 โดยต้องเดินทางลงไปในหุบเขาแม่ยอนหวาย ประมาณ 300 เมตร

นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกหลายแห่ง คือ น้ำตกแม่ผาตูบ น้ำตกห้วยแม่ไพร

ย. 4
อยู่ถัดจาก ย. 3 ขึ้นไปอีกราว 1,500 เมตร เป็นยอดสูงที่สุดของดอยแห่งนี้ แม้ระยะจะไม่ไกลกันนักแต่เป็นช่วงที่ชันมาก เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางถึงบนยอด ย. 4 แล้ว สามารถ มองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้เป็นมุมกว้าง ส่วนมากมักนิยมไปเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าซึ่งมีความสวยงามน่าประทับใจ

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย

http://www.hotelsguidethailand.com/images/attraction/ta0750/0750_1.jpg อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย

http://www.onlinemoneyusd.ws/images/travel/Phetchabun/Tard-Mok.jpg

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของจังหวัดแพร่ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสมปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีสภาพเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทิวทัศน์และน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ประกอบด้วย น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง น้ำตกแม่เกิ๋งน้อย และมีบ่อน้ำแร่แม่จอก ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อน ทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย มีเนื้อที่ประมาณ 410 ตารางกิโลเมตร หรือ 256,250 ไร่

การเดินทาง :

เริ่มต้น จากกรุงเทพฯผ่านจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก ถึงอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ระยะทางประมาณ 530 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามเส้นทางแพร่-ลำปาง อีกประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เข้าตามเส้นทางสู่อำเภอวังชิ้นประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าอุทยานฯบริเวณน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงและแม่เกิ๋งน้อย ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

ทางอุทยานฯ มีเรือนพักสำหรับนักท่องเที่ยว สนใจติดต่ออุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ หรือ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-7223, 579-5734 หรือหากต้องการตั้งแคมป์พักแรมในป่า นักท่องเที่ยวต้องนำเต็นท์ หรือเปลสนามไปเอง

ลักษณะภูมิประเทศ :

มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีความลาดชันโดยเฉลี่ยประมาณ 80 องศา มีจุดสูงที่สุดจากระดับน้ำทะเล 1,267 เมตร ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 800 เมตร ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ เป็นเทือกเขาที่เขียวชอุ่ม มีหน้าผาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น แม่เกิ๋ง แม่จอก แม่สิน แม่ป้าก และภูเขาเป็นภูเขาหินทราย ทำให้ดินที่เกิดจากการผุสลายของภูเขาเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี บริเวณที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นดินลูกรัง โดยเฉลี่ยดินมีความสมบูรณ์ดีมาก

ลักษณะภูมิอากาศ : ภูมิอากาศของอุทยานฯแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาลคือ
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน
ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิประมาณ 13 องศาเซลเซียส

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่า ตอนบนของเทือกเขาเป็นป่าดิบแล้ง ส่วนตอนล่างมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง ยาง ดำดง ตะแบก ประดู่ แดง และไม้สัก ซึ่งขึ้นอยู่ปะปนบ้าง ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ปาล์ม หวายและเอื้องดิน เป็นต้น

สัตว์ป่า ที่เคยพบอาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้มี กวาง เสือ และช้างป่า แต่ถูกลักลอบเข้ามาล่าอย่างหนัก คงเหลือแต่สัตว์เล็กๆเท่านั้น เช่น เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต และนกชนิดต่างๆ มีชุกชุมอยู่ในบริเวณหุบเขาและแหล่งน้ำต่างๆ

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

น้ำตกแม่เกิ๋งหลวงและแม่เกิ๋งน้อย
เป็นน้ำตกที่สวยงามไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ คล้ายขั้นบันไดลงมาจากดอยแม่เกิ๋ง คำว่า “แม่เกิ๋ง” เป็นภาษาพื้นเมืองหมายถึง “ขั้นบันได” น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง รถยนต์สามารถเข้าถึง ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนน้ำตกแม่เกิ๋งน้อยต้องเดินเท้าจากที่ทำการฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกทั้งสองสายนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านสบเกิ๋ง อำเภอวังชิ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่สิน น้ำตกแม่จอก น้ำตกแม่ป้าก น้ำตกแม่รัง น้ำตกขุนห้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ดอยขุนเขียด ดอยม่อนขาเซา ดอยแปเมือง ดอยแม่เกิ๋ง ดอยอ่าง ดอยกิ่วคอเมือง เป็นต้น

บ่อน้ำร้อนแม่จอก
ตั้งอยู่ในเขตบ้านแม่จอก หมู่ 5 ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น การเดินทางไปตามเส้นทางลอง-วังชิ้น ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ราว 3 กิโลเมตร จนกระทั่งเข้าเขตบ้านแม่จอก จะพบโรงเรียนแม่จอกอยู่ขวามือ บริเวณสนามหน้าโรงเรียนจะมีบ่อน้ำแร่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในเนื้อที่กว้างประมาณ 10 ไร่ เป็นบ่อน้ำแร่กำมะถันที่ร้อนจัดถึง 80 องศา ในตอนเช้าจะมีหมอกควันที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็ม ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม

อุทยานแห่งชาติแม่ยม

Image Image18 Image20

Image21 Image22 Image23

Image24 Image25 Image26

Image27 Image28 Image29
Image6
Image7
Image8

Image9 Image10 Image11

Image12
Image13
Image14

Image15 Image16 Image17

ข้อมูลทั่วไป :

อุทยานแห่งชาติแม่ยม มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สองของจังหวัดแพร่ (แห่งแรกคืออุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย) มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าสักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่งดงามมาก นับได้ว่าเป็นตัวแทนป่าไม้สักของภาคเหนือได้อย่างดียิ่ง รวมทั้งไม้ที่มีค่าต่างๆจำนวนมาก และทิวทัศน์ที่สวยงาม

อุทยานแห่งชาติแม่ยม มีเนื้อที่ประมาณ 454.75 ตารางกิโลเมตร หรือ 284,218.75 ไร่

การเดินทาง :

การเดินทาง ไปยังอุทยานแห่งชาติแม่ยม ต้องเริ่มจากจังหวัดแพร่ ไปตามถนนสายแพร่-น่าน ไปถึงสี่แยกอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางร้องกวาง-งาวประมาณ 26 กิโลเมตร จะถึงอำเภอสอง และจากอำเภอสองเดินทางไปตามเส้นทางสายสอง-งาว(สายเก่า) ประมาณ 20 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยม รวมระยะทางจากจังหวัดแพร่ถึงอุทยานแห่งชาติแม่ยม ประมาณ 70 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก :

ทางอุทยานฯ ได้จัดเตรียมสถานที่กางเต๊นท์สำหรับผู้ที่นำเต๊นท์ไปเอง และมีเรือนแพของเอกชนในแม่น้ำยมไว้บริการ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-7223, 579-5734

ลักษณะภูมิประเทศ :

อุทยานแห่งชาติแม่ยมโดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดลงมายังฝั่งแม่น้ำยมซึ่งไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ ซึ่งเทือกเขาสูงดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดต้นน้ำที่สำคัญไหลลงสู่แม่น้ำยม อาทิเช่น ห้วยแม่ปุง ห้วยเด็ด ห้วยปุง ห้วยเลิม ห้วยแม่เต้น ห้วยแม่สะกึ๋น และห้วยแม่ปู๊ เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่ยม แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

บริเวณป่าแห่งนี้ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกันออกไป ในแถบหุบเขาลำห้วยและแม่น้ำซึ่งมีความสูงชัน เป็นพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น เช่น ไม้ยาง กระบาก ยมหอม ตะแบก ฯลฯ สูงขึ้นไปจากหุบเขา ลำห้วย จะเป็นป่าดิบเขา พันธุ์ไม้จะเป็นพวกไม้สน และไม้ก่อ เช่น สนสามใบ ก่อเดือย ก่อตาหนู ฯลฯ ป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งในฤดูแล้งไม้ทุกชนิดจะผลัดใบ ได้แก่ มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะแบก และไม้สักซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น สำหรับป่าเต็งรังและป่าแพะจะมีมากบริเวณที่เป็นเนินเขา และที่ราบสูงบางส่วน พันธุ์ไม้ ได้แก่ ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง

เนื่องจากป่าบางตอนเป็นป่าปิดการทำไม้ และป่าที่ยังไม่ผ่านการทำไม้ ตลอดจนยังไม่มีราษฎรบุกรุก จึงเหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์ป่า จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่หลงเหลืออยู่บ้าง เช่น ช้างป่า เก้ง เลียงผา หมีควาย หมูป่า และสัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น กระต่ายป่า ไก่ป่า นางอาย และนกชนิดต่างๆ

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

ดงสักงาม
มีลักษณะเป็นกลุ่มของไม้สักที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามริมฝั่งแม่น้ำยม ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า ไม้สักที่ขึ้นอยู่นี้มีขนาดสูงใหญ่งดงามมาก คล้ายกับไม้สักที่ถูกปลูกในสวนป่า และหากได้เข้าไปในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะพบกับความร่มรื่นและดอกสักที่เหลืองอร่ามไปหมด บริเวณดงสักงามนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 6 กิโลเมตร การเดินทางไปจุดนี้ต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น

แก่งเสือเต้น
เป็นเกาะแก่งธรรมชาติในแม่น้ำยม มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ชื่อของแก่งเสือเต้นมีความเป็นมาจากลักษณะของหินธรรมชาติก้อนหนึ่งในแก่ง แห่งนี้ มีลักษณะรอยเท้าเสือปรากฏอยู่ตามริมแม่น้ำยม ในช่วงที่เป็นแก่งเสือเต้นนั้น จะมีหาดทรายปรากฏอยู่โดยทั่วไป เหมาะแก่การกางเต้นท์เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติที่งดงาม โดยมีเสียงน้ำไหลผ่านเกาะแก่งเป็นส่วนประกอบ และแก่งเสือเต้นนี้จะอยู่หน้าที่ทำการอุทยานฯพอดี

หล่มด้ง
เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร ปรากฏอยู่บนยอดเขาสูง มีน้ำตลอดปี สันนิษฐานว่า แหล่งน้ำนี้เกิดจากการยุบตัวของดินในบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่และมีน้ำขังอยู่ กลายเป็นแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่าในบริเวณนั้น หล่มด้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า ห่างจากอุทยานแห่งชาติแม่ยมประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้กับหล่มด้งนี้จะมีเหมืองแร่เก่าซึ่งผ่านการทำแร่แบไรต์มาแล้ว มีลานสำหรับกางเต้นท์ และมีจุดชมทิวทัศน์ป่าสักที่งดงามและชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้อีกด้วย

ฤดูกาลที่เหมาะสม
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงน้ำหลากในแม่น้ำยม และทางคมนาคมไม่สะดวก


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 054)

สำนักงานจังหวัดลำปาง

โทร. 0 5421 8800

เทศบาลนครลำปาง

โทร. 0 5421 9211-7 , 0 5421 7035

ตำรวจท่องเที่ยว

โทร. 1155

ตำรวจทางหลวง

โทร. 1193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมืองลำปาง

โทร. 0 5422 3339

โรงพยาบาลเขลางค์นคร

โทร. 0 5422 5100-3

โรงพยาบาลเทศบาลเมืองลำปาง

โทร. 0 5422 3625-31

ไปรษณีย์ลำปาง

โทร. 0 5422 4069

ศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง

โทร. 0 5421 6919 , 0 5431 2254

สมาคมท่องเที่ยวนครลำปาง

โทร. 0 5422 1813 , 0 5431 8809

รพ.ลำปาง

โทร. 0 5422 2443 , 0 5422 3623

รพ.แม่ทะ

โทร. 0 5428 9184

รพ.ห้างฉัตร

โทร. 0 5426 9231

รพ.สบปราบ

โทร. 0 5429 6085

รพ.เกาะคา

โทร. 0 5428 1393

รพ.แจ้ห่ม

โทร. 0 5427 1010

รพ.เสริมงาม

โทร. 0 5428 6029

รพ.เถิน

โทร. 0 5429 1585

รพ.วังเหนือ

โทร. 0 5427 9100

รพ.แม่เมาะ

โทร. 0 5422 6535

0 ความคิดเห็น: