23:17

จังหวัดอุตรดิตถ์

" เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก "

http://61.19.236.136/tourrist/images/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%812.jpg

พระยาพิชัยดาบหัก



ข้อมูลทั่วไป :

จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง เมืองแห่งพระแท่นศิลาอาสน์ ตำนานเมืองลับแลที่มีแม่ม่ายและสาวสวย เมืองแห่งลางสาดหวานหอม และบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่บารมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มาแต่อดีตกาล โดยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานผ่านพัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย นับแต่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

จากการค้นพบกลองมโหระทึก ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2470 ทำให้เราทราบว่าอุตรดิตถ์ เป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ก่อน พ.ศ. 1000 แล้ว เพราะโบราณวัตถุที่ค้นพบดังกล่าวเป็นโลหะที่มีใช้กันอยู่ในยุคสัมฤทธิ์หรือ ยุคโลหะตอนต้น อันเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเอง จึงนับได้ว่า อุตรดิตถ์เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงามมาโดยลำดับ และสิ่งที่ยังเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุตรดิตถ์ ก็คือ ความเกรียงไกรของพระยาพิชัยดาบหัก เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" ขึ้นกับเมืองพิชัย แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐ ซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความ เจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่าท่าน้ำแห่งทิศเหนือ แต่ยังคงขึ้นกับเมืองพิชัยอยู่ ต่อมาอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และเมืองพิชัยเลื่อนลงไปเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์จนทุกวันนี้

อาณาเขตและการปกครอง :

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่และน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก เลย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแนวเขตแดนยาว 120 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย

จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ 7,838.592 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตรอน อำเภอพิชัย อำเภอลับแล อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอบ้านโคก อำเภอฟากท่า และอำเภอทองแสนขัน

แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์

แผนที่ตัวเมืองอุตรดิตถ์

ข้อมูลท่องเที่ยว อ.เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน วัดท่าถนนเดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลท่าอิฐ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ มีลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนน มีคนมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร จึงเรียกกันว่า “หลวงพ่อเพชร”
วัดธรรมาธิปไตย ตั้งอยู่ในตัวเมืองใกล้สี่แยกจุดตัดของถนนอินใจมีกับถนนสำราญรื่น เดิมชื่อวัดต้นมะขาม ภายในวัดเป็นที่เก็บบานประตูของวิหารหลังใหญ่ และเก่าแก่มากของวัดพระฝาง บานประตูทำจากไม้ปรูขนาดกว้าง 2.2 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนา 16 เซนติเมตร แกะสลักในสมัยอยุธยาเป็นลายกนกก้านขด มีลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ 7 พุ่ม ระหว่างพุ่มมีกนกใบเทศขนาบสองด้าน กล่าวกันว่า เป็นบานประตูไม้แกะสลักที่มีความงามเป็นที่สองรองลงมาจากประตูวิหารวัดสุทัศน์ที่กรุงเทพฯ
วัดใหญ่ท่าเสา ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าเสา อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟท่าเสา วัดนี้มีวิหารเก่าแก่ซึ่งมีบานประตูไม้แกะสลัก 2 บาน ตลอดจนลายไม้ที่วิหารด้านหน้า และมีหอไตรโบราณที่มีรูปแบบสีสันสวยงาม ซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความกล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยได้ยกทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้นดาบคู่มือของพระยาพิชัยข้างขวาได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่า ด้วยวีรกรรมดังกล่าว จึงได้สมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ภายในบริเวณมี พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่เก็บรักษาดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และพิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย ที่ภายในเก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลอง สนามรบ และวิถีชีวิตในสมัยอยุธยาตอนปลาย เครื่องมือเครื่องใช้โบราณ
หอวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ถนนอินใจมี เป็นศูนย์รวมโบราณวัตถุที่สำคัญของชาวอุตรดิตถ์ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าและเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือ “ยานมาศ” หรือ คานหามไม้แกะสลักโปร่ง 3 ชั้น กว้าง 73 เซนติเมตร ยาว 3.50 เมตร สูง 1.45 เมตร เป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ยานมาศนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเมื่อคราวเดินทางมาตรวจราชการ หัวเมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2444 ว่าทรงพบยานมาศแบบนี้ 4 คัน คันแรกทรงพบที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท อีก 2 คัน พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
ครั้นมาถึงอุตรดิตถ์ก็พบอีกคันที่วัดท่าเสา ซึ่งก็ได้นำมาจัดแสดงไว้ให้ประชาชนชมที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้ หอวัฒนธรรมฯ จะเปิดให้ชมฟรีเฉพาะวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์เท่านั้น และช่วงเช้าตั้งแต่เวลาตีห้า จะมีชาวบ้านจากอำเภอต่าง ๆ นำของพื้นบ้านมาขาย สามารถชมวิถีชีวิตชาวบ้านได้ สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าชมหอวัฒนธรรมฯ เป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้ามาก่อน ถึงสถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์ ถนนอินใจมี จังหวัดอุตรดิตถ์
วัดกลาง อยู่ ที่ตำบลบ้านแกะ ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร วัดกลางเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎชื่อผู้สร้าง มีพระอุโบสถที่มีลวดลายรูปปั้นสวยงาม ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีพุทธลักษณะงดงาม เป็นศิลปแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะแบบลาวหลวงพระบาง และจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม
วัดพระฝาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 ถึงทางหลวงหมายเลข 11 เลี้ยวขวาไปทางพิษณุโลก 2 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายจากทางแยกเข้าไป 14 กิโลเมตร วัดนี้มีชื่อเต็มว่า “วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ” เคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “เจ้าพระฝาง” เมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ในสมณเพศแต่นุ่งห่มผ้าแดงและมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เพื่อจะกู้เอกราช วัดพระฝางประกอบด้วยโบสถ์ วิหารและพระธาตุเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย สำหรับบานประตูแกะสลักของพระวิหารเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย
กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ผักตบชวา อยู่ ที่บ้านท่า หมู่ 5 ตำบลหาดกรวด ห่างจากตัวเมือง 12 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางวังกะพี้ (ทางหลวงหมายเลข 1040) ขับตรงไปข้ามสะพานจนเจอสามแยกให้เลี้ยวขวาไปทางอำเภอตรอน ประมาณ 1 กิโลเมตร จะเจอป้ายหมู่บ้านอุตสาหกรรมอยู่ทางขวามือเลี้ยวเข้าไปประมาณ 300 เมตร กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ผักตบชวา เป็นกลุ่มแม่บ้านที่ร่วมกันทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา โดยได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาจากกลุ่มแม่บ้านบ้านท่ามีฝีมือการผลิตที่ปราณีตและรูป แบบที่ทันสมัย และที่สำคัญมีราคาย่อมเยามาก เหมาะที่จะซื้อมาเป็นของตกแต่งบ้านหรือของฝาก เช่น โคมไฟ แจกัน กระเป๋า ตะกร้า รองเท้า ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อคุณอุ่นเรือน โหมดพันธ์ ประธานกลุ่ม โทร. (055) 445354

อำเภอลับแล
อำเภอลับแล อยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์เพียง 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 1041 อีก 6 กิโลเมตร เป็นเมืองโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จมาเมื่อ วันที่ 24 ตุลาคม 2444 ความเป็นมาของคำว่า “ลับแล” นั้น ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า เดิมชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่ ณ บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ในหุบเขามีที่เนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย อำเภอลับแลนอกจากจะมีโบราณสถานที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรม เช่น ผ้าตีนจกและไม้กวาด เป็นแหล่งปลูกลางสาด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ อยู่ตรงสี่แยกตลาดลับแล เดิมชื่อ ทองอิน เป็นนายอากรสุรา เชื้อสายจีน แต่ด้วยความรักในท้องถิ่นจึงพัฒนาเมืองลับแลมาโดยตลอด เป็นผู้นำชุมชนที่ชาวลับแลให้ความนับถือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิศาลจีนะกิจ และเลื่อนเป็นพระศรีพนมมาศ ในปี พ.ศ. 2451
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อยู่ที่หมู่ 3 บ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีตำนานเกี่ยวพันกับอีก 2 วัด ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยวิหารแบบล้านนาซึ่งอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นพระบรมธาตุทุ่งยั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกาทรงกลมฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม 3 ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่ 4 มุม ฐานชั้นที่ 3 มีซุ้มคูหา 4 ด้าน สันนิษฐานว่าได้บูรณะขึ้นภายหลัง
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อยู่เลยวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 500 เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือของถนนใกล้ทางแยก ภายในมีมณฑปเป็นศิลปะแบบเชียงแสน ครอบรอยพระพุทธบาทคู่ที่ประดิษฐานบนฐานดอกบัวสูงประมาณ 1.5 เมตร ที่วัดพระยืนพุทธบาทยุคลนี้ ยังมีพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยเรียกกันว่า “หลวงพ่อพุทธรังสี” เดิมประดิษฐานอยู่ในมณฑปมีปูนพอกหุ้มไว้ทั้งองค์ ต่อมาได้กระเทาะปูนออกและนำไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถที่สร้างใหม่
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้ง อยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อยู่เลยวัดพระยืนไปเล็กน้อย วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว มีตำนานว่าพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เคยเสด็จมาจำศีลบำเพ็ญพุทธ บารมี ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้น บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ที่เป็นไม้สักแกะสลักนั้น เดิมเคยเป็นบานประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน นอกจากนั้นภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่เดิมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นที่แสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำโบราณ เรือพายโบราณ ชั้นบน แสดงเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตชาววัง - ชาวบ้านสมัยก่อน เครื่องจักสาน เครื่องมือตีเหล็ก-ก่อสร้าง เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย ธรรมาสน์โบราณฝีมือช่างสมัยอยุธยา พระพุทธรูปที่แกะจากต้นโพธิ์โบราณ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00–17.00 น.
วัดเจดีย์คีรีวิหาร อยู่ที่หมู่ 1 บ้านวัดป่า ตำบลฝายหลวง ห่างจากตัวจังหวัด 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1040-1043 เป็นบรมธาตุเจดีย์ทรงลังกา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า พระประธานเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยอันงดงาม บานประตู และหน้าบันเป็นไม้แกะสลัก
อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร อยู่หมู่ 7 บ้านท้องทับแล ตำบลฝายหลวง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร จากอำเภอลับแล ใช้ทางหลวงหมายเลข 1043 เป็นอนุสาวรีย์ของปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองลับแล
น้ำตกแม่พูล อยู่ที่หมู่ 4 บ้านต้นเกลือ ตำบลแม่พูล เป็นน้ำตกที่เกิดจากการตกแต่งธารน้ำ โดยการเทปูนให้น้ำไหลลดหลั่นจากบนเขาสูงลงมา ดูคล้ายน้ำตกธรรมชาติ สูงหลายชั้น สภาพโดยรอบร่มรื่น บริเวณใกล้ ๆกับน้ำตกเป็นสวนลางสาด บริเวณน้ำตกมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหารและที่จอดรถไว้บริการ
การเดินทาง จากอำเภอเมืองถึงอำเภอลับแล ระยะทาง 8 กิโลเมตร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 1043 ประมาณ 12 กิโลเมตร หรือขึ้นรถสองแถวที่ถนนตุลาสถิตย์ ในตัวเมืองรถจะออกทุก 30 นาที ตั้งแต่เวลา 06.00–17.30 น. หรือจะเหมาแท๊กซี่ไปก็ได้

อำเภอท่าปลา
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อยู่ในพื้นที่จังหวัดแพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ เป็นทิวเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยป่านานาชนิดที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 624,468 ไร่ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก เช่น เก้ง กวาง หมูป่า หมี และสัตว์ปีกจำนวนไม้น้อยกว่า 200 ชนิด ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จุดที่สูงที่สุดของอุทยานฯ คือ ยอดเขาภูพญาพ่อ สูงถึง 1,350 เมตร ซึ่งจะมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี มีฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ในฤดูหนาวอากาศหนาวจัด
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 203 กิโลเมตร ภายในมีเกาะแก่งมากมาย เหมาะสำหรับการล่องแพชมวิวทิวทัศน์
จุดชมวิว เส้นทางสายป่าแดง น้ำกราย นางพญา ซึ่งลัดเลาะตามริมเขา มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก เนื่องจากเส้นทางสายนี้ตัดผ่านป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาทำให้อากาศเย็นสบาย นอกจากนี้ยังสามารถพบเห็นพรรณไม้นานาชนิด เช่น กล้วยไม้ป่า พญาเสือโคร่ง และเฟิร์นพันธุ์ต่าง ๆ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จะมี 2 เส้นทาง คือ ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 4 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีจุดชมวิวตลอดระยะทาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์
แก่งนางพญา จะเป็นแก่งหินน้อยใหญ่ลดหลั่นกันลงไป อยู่กลางลำน้ำนางพญา มีน้ำไหลตลอดปี บริเวณแก่งดูสวยงามมาก
นอกจากนี้ในอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน ยังมีน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเชิงทอง น้ำตกห้วยมุ่น และน้ำตกดอยผาหมอก ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำไหลตลอดปี และเป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เชิงทอง สามารถเดินทางจากจังหวัดแพร่สะดวกกว่า คือ จากตัวอำเภอแพร่ เข้ามาทางวัดพระธาตุช่อแฮ พอถึงวัดพระธาตุช่อแฮ ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 9 กิโลเมตร
การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ 36 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ผ่านสามแยกร่วมจิต และสามแยกห้วยเจริญจะพบทางแยกซ้ายมือ ประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
เขื่อนสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านผาซ่อม ตำบลท่าปลา เขื่อนสิริกิติ์เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ผาซ่อม สันเขื่อนยาว 800 เมตร กว้าง 12 เมตร สูง 113.6 เมตร บริเวณเหนือเขื่อนเป็นทะเลสาบใหญ่ที่มีชื่อว่า ทะเลสาบสุริยันจันทรา มีทิวทัศน์สวยงาม เมื่อไปถึงบริเวณเขื่อน นักท่องเที่ยวควรไปติดต่อที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ซึ่งให้บริการและอำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยวบริเวณเขื่อน การจองที่พัก การเช่าจักรยาน การให้เช่าเรือท่องทะเลสาบเหนือเขื่อน อัตราค่าเช่าเรือล่องในเขื่อนสิริกิติ์คือ เรือขนาด 150 คน ค่าเช่าชั่วโมงละ 1,700 บาท และเรือขนาด 30 คน ค่าเช่าชั่วโมง 1,400 บาท นอกจากนั้นยังมีสนามกอล์ฟขนาด 18 หลุม ให้บริการ เขื่อนสิริกิติ์มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว ราคา 500–1,200 บาท สอบถามสำรองที่พักได้ที่ โทร. (055) 412639 ต่อ 2501, 2503-5
การเดินทาง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (เขื่อนสิริกิติ์-ท่าปลา) ถึงเขื่อนสิริกิติ์ ระยะทาง 58 กิโลเมตร หรือนั่งรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ไปลงที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และต่อรถโดยสารสายอุตรดิตถ์-ฟากท่า-บ้านโคก รถจะจอดที่หอนาฬิกา ถนนสำราญรื่น หรือจะเหมารถแท๊กซี่บริเวณสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ก็ได้
บ้านท่าเรือ เป็น หมู่บ้านริมทะเลสาบ ตั้งอยู่หมู่ 9 บ้านท่าเรือ เป็นท่าเรือสำหรับขนถ่ายปลา และมีแพสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะล่องแพเที่ยวชมอ่างเก็บน้ำ และทะเลสาบเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ทั้งแบบค้างคืนหรือเช้าไปเย็นกลับก็ได้ มีอาหารพร้อม สามารถติดต่อได้ที่ เกษณี แพทัวร์ โทร. 01–605-6211 และแพสมบูรณ์พร้อม โทร. 01–971-2527, 01–280–9188
การเดินทาง จากอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทาง 1145 ประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงสามแยกร่วมจิต แยกซ้ายอีก 10 กิโลเมตร (ไปทางอำเภอท่าปลาและเขื่อนดิน) ถึง อำเภอท่าปลา มีทางแยกซ้ายไปบ้านท่าเรืออีก 7 กิโลเมตร (ทาง รพช. บ้านสามร้อยเมตร-บ้านท่าเรือ ต่อด้วยทาง รพช. สายบ้านเลิศชัย-บ้านห้วยรกช้าง)

อำเภอน้ำปาด
วนอุทยานต้นสักใหญ่ อยู่ ที่หมู่ 4 บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ ลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ มีเนื้อที่ 22,000 ไร่ ภายในมีต้นสักใหญ่ ซึ่งได้ถูกพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 มีอายุประมาณ 1,500 ปี ความยาวรอบต้น 1007 เซนติเมตร วัดเมื่อ 18 มิถุนายน 2543 แม้ส่วนยอดถูกพายุพัดหัก ลำต้นส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสภาพเดิมโดยได้รับการดูแลรักษาให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ และในวนอุทยานต้นสักใหญ่ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร การจะเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงฝ่ายอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร. (055) 258028 ต่อ 502
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 (อุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์) ประมาณ 60 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 1146 ประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านห้วยปูดเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1047 ประมาณ 10 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ 149,375 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอบ้านโคก อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อปี 2537 ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงตามแนวชายแดนไทย-ลาว มียอดภูสอยดาวสูงที่สุด 2,102 เมตร จากระดับทะเล สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงที่ป่าปกคลุม เป็นป่าดิบเขาสลับทุ่งหญ้าและป่าสน เช่นป่าสนสามใบ อากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีดอกไม้ป่าพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ดอกหงอนนาค ดอกไม้ดินต่าง ๆ ขึ้นอยู่กลางป่าสน
ภูสอยดาว สามารถจะมาท่องเที่ยวได้ทั้งปี แต่ถ้าหากอยากดูดอกไม้สีสวย ๆ ที่มักจะขึ้นเพื่อรับความชุ่มชื้นในช่วงหน้าฝน ควรจะมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว
สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภายในอุทยานฯ ได้แก่
น้ำตกภูสอยดาว อยู่ใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี แต่จะมีน้ำมากในช่วงหน้าฝน
ลานสน การเดินทางสู่ยอดลานสนต้องขึ้นเขาลาดชันเกือบตลอดเส้นทาง และผ่านเนินต่าง ๆ ที่มีชื่อบอกถึงความยากลำบากในการเดินผ่านแต่ละเนิน เช่น เนินส่งญาติ เนินปราบเซียน เนินป่าก่อ เนินเสือโคร่ง และเนินมรณะ ที่มีความสูงชันมากที่สุด แต่เส้นทางที่เดินขึ้นไปนั้นไม่ยุ่งยากเพราะจะเดินไต่เขาขึ้นไปตามสันเขาไม่ มีทางแยกไปไหน ระยะทางเดินเท้าขึ้นลานสนประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5-6 ชั่วโมง บนลานสนจะเป็นทุ่งหญ้า มีต้นสนสองใบ สนสามใบ ต้นหงอนนาค ที่มีสีม่วงตัดกับดอกสร้อยสุวรรณาที่มีสีเหลือง ออกดอกให้ดูสวยงาม และดอกไม้อีกนานาชนิดที่ขึ้นอวดความสวยงามและสร้างความสดขื่นสดใสให้กับลาน สน บนลานสนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามด้วย บนลานสนไม่มีบ้านพักและอาหาร หากต้องการจะขึ้นไปพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง และหากนักท่องเที่ยวต้องการลูกหาบช่วยขนสัมภาระก็มีบริการ การจะขึ้นบนลานสนต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง และอุทยานฯ จะอนุญาตให้ขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 08.00–13.00 น.
น้ำตกสายทิพย์ เป็นน้ำตกอยู่บนลานสน มี 7 ชั้น ทางไปน้ำตกเป็นหุบเขา ค่อนข้างลาดชัน
อุทยานฯ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว และสามารถกางเต็นท์ได้บนยอดลานสน สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579–5734, 579–7223 หรือที่ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ 53110
การเดินทาง จากจังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1045 ผ่านเขื่อนสิริกิติ์ สู่อำเภอน้ำปาด ระยะทาง 68 กิโลเมตร ต่อจากนั้นใช้เส้นทางหมายเลข 1239 ไปทางบ้านห้วยมุ่นอีกประมาณ 47 กิโลเมตร และจากบ้านห้วยมุ่นใช้เส้นทางหมายเลข 1268 อีก 18 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกภูสอยดาว ซึ่งเป็นจุดเริ่มเดินเท้าขึ้นสู่ยอดลานสน
สำหรับรถโดยสารประจำทาง จากอุตรดิตถ์จะมีรถโดยสารปรับอากาศออกจากตลาดอำเภอเมือง (ตลาดต้นโพธิ์) ไปอำเภอน้ำปาดทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00–17.00 น. (แต่รถเที่ยวแรกจะเข้ามาที่สถานีขนส่ง เวลา 05.00 น.) ใช้เวลาประมาณ 2.30 ชั่วโมง จากนั้นลงรถที่หน้าโรงพยาบาลอำเภอน้ำปาด จะมีท่ารถสองแถว ต้องเหมารถไปภูสอยดาวประมาณ 300 บาท ใช้เวลาเดินทางอีก 3 ชั่วโมง
สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางกลับทางอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ต้องเหมารถไป ราคาประมาณ 500 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง และต่อรถโดยสารไม่ปรับอากาศที่อำเภอชาติตระการ สายชาติตระการ-นครไทย-พิษณุโลก มีรถบริการระหว่างเวลา 05.00–17.30 น. ช่วงนี้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 43 บาท รถโดยสารจากพิษณุโลก กลับกรุงเทพฯ ควรจะไปซื้อตั๋วที่บริษัทในตลาดโดยตรงมากกว่าที่จะมาที่สถานีขนส่ง เนื่องจากมีโควต้าขายตั๋วน้อย

อำเภอทองแสนขัน
บ่อเหล็กน้ำพี้ อยู่ที่หมู่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 56 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1245 เป็นโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งเหล็กกล้า ที่นำมาทำพระแสงดาบตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมมีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ มีบ่อหนึ่งเรียกว่า “บ่อพระแสง” ห้ามมิให้ผู้ใดขุดเหล็กจากบ่อนี้ โดยสงวนไว้ใช้ทำพระแสงดาบสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น และ “บ่อพระขรรค์” เป็นบ่อที่ในสมัยโบราณมีช่างทำพระขรรค์ถวายพระมหากษัตริย์ ได้นำแร่เหล็กน้ำพี้จากบ่อพระขรรค์ไปถลุงทำพระขรรค์ ภายในบริเวณมี พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้ รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติเหล็กน้ำพี้ โดยจัดแสดงและจำลองให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอนการตีเหล็กน้ำพี้ ตั้งแต่การขุดแร่เหล็กน้ำพี้จนตีเป็นดาบที่มีความแกร่งและความคมเป็นเลิศ ดาบน้ำพี้จึงเป็นอาวุธคู่กายของขุนศึกและนักรบไทยในสมัยโบราณตลอดมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2542 เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00–17.00 น.

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน มีพื้นที่อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และอำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พื้นที่ป่าปกคลุมตามเทือกเขาสลับซับซ้อนที่อยู่สูงกว่าระดับเก็บกักน้ำสูงสุดของเขื่อนสิริกิติ์ ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำยมในเขตจังหวัดแพร่ และลำน้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำน่านในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ประมาณ 624,468 ไร่ หรือ 999.15 ตารางกิโลเมตร โดยรวมพื้นที่ทั้งหมดราว 203 ตารางกิโลเมตร ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิตติ์เข้าไว้ด้วย
จากการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าแม่แคม ป่าแม่ก๋อน และป่าแม่สาย ในท้องที่อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าแม่จริม และป่าน้ำปาด ในท้องที่อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า มีสภาพป่าสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ หรือลำน้ำน่าน ซึ่งประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และสัตว์ป่าหลายชนิด
ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติเห็นชอบให้กำหนดบริเวณที่ดิน ป่าแม่แคม ป่าแม่ก๋อน และป่าแม่สาย ในท้องที่ตำบลสวนเขื่อน ตำบลป่าแดง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ป่าแม่จริม และป่าน้ำปาด ในท้องที่ตำบลท่าแฝก ตำบลนางพญา ตำบลน้ำหมัน ตำบลจริม ตำบลท่าปลา ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา และตำบลแสนตอ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา มีเนื้อที่ ประมาณ 999.15 ตารางกิโลเมตร หรือ 624,468 ไร่ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน 2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 87 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนที่อยู่สูงกว่าระดับเก็บกักน้ำสูงสุดของเขื่อน สิริกิติ์ ประกอบด้วยดอยแม่แนง ดอยสันผักเหียก ดอนสันผาหมู ดอยปางม่วงคำ ดอยผาตืบ ภูพระยาพ่อ ดอยจะคาน เขาหาดหล้า เขาหวยจันทร์ ภูม่อนกระต่าย และภูขอนแก่น เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำยมในเขตจังหวัดแพร่ และลำน้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำน่านในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ น้ำแม่สาย น้ำแม่แนง ห้วยอมถ้ำ ห้วยปันเงิน ห้วยห้วยผาเวียง ห้วยปูโล ห้วยจันทร์ ห้วยม่วง ห้วยกั้ง ห้วยวังคำ และห้วยทราย เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่ในเขตมรสุมซึ่งมีสภาพอากาศร้อนชื้น อากาศอบอ้าว โดยมีอากาศร้อนจัดในเวลากลางวัน ฤดูฝนอยู่ระหว่าง เดือน พฤษภาคม - ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยประมาณ 1,440 มิลลิเมตร/ปี ฤดูหนาวในบริเวณยอดดอยและเทือกเขามีอากาศหนาวจัด ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยว
พรรณไม้และสัตว์ป่า
ป่าเหนือเขื่อนสิริกิติ์ พบว่ามีอยู่ 4 ประเภท คือ
ป่าดิบแล้ง พบอยู่ตามบริเวณเชิงเขา ยอดเขา และริมลำห้วย ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-1,200 เมตร พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ กระบก กระท้อน ตะเคียนหิน สมพง มะม่วงป่า มะยมป่า ตาเสือ ยาง ไผหก ไผเฮียะ ตาว หวาย กล้วยป่า ผักกูด เฟิน ฯลฯ
ป่าเบญจพรรณ พบตามเนินเขามีความลาดชันไม่มากนักในระดับความสูงจากน้ำทะเล 200-1,000 เมตร พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ สัก ประดู่ มะค่าโมง แดง ชิงชัน ตะแบก เสลา โมกมัน อ้อยช้าง ไผ่ป่า ไผ่บง ไผซาง ไผ่รวก ไผ่ไร่ ฯลฯ ป่าเต็งรัง พบในบริเวณที่เป็นเนินเขาเตี้ยๆ มีหินโผล่มาก พันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง รกฟ้า ประดู่ แดง ตะแบกเลือด แสลงใจ ปรง หญ้าเพ็ก โจด ฯลฯ
ป่าหญ้า เกิดขึ้นภายหลังจากการที่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย เมื่อดินหมดความสมบูรณ์ จึงมีหญ้าชนิดต่างๆ สลับกับไม่พุ่มเกิดขึ้น เช่น หญ้าคา หญ้าสาบเสือ เลา พง รวมทั้งมีไม้เลื้อยต่างๆ ขึ้นผสมกับลูกไม้ชนิดต่างๆ
จากสภาพป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติมีสัตว์ป่าและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ หลายประเภท เช่น เก้ง กวางป่า กระจง เลียงผา หมูป่า ลิง ชะนี อีเห็น เม่น กระต่ายป่า กระรอก ไก่ป่า นกขุนทอง นกกางเขนดง นกเปล้า นกเงือก นกเป็ดน้ำ แย้ ตะกวด งูสิง งูเห่า งูจงอาง งูเหลือม ฯลฯ สำหรับในบริเวณอ่างเก็บน้ำมีปลาอยู่หลายชนิด ซึ่งบางชนิดอาจนำจากถิ่นอื่นมาปล่อย ได้แก่ ปลาชะโด ปลาซิวแก้ว ปลากะมัง ปลากะสูบ ปลาตะเพียนขาว ปลาตะโกก ปลานิล ปลาเนื้ออ่อน ปลาสวาย และปลายี่สก เป็นต้น
สถานที่ท่องเที่ยว
อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ขวางกั้นลำน้ำน่าน ภายในอ่างเก็บน้ำปรากฏเกาะแก่งอยู่มากมาย จึงมีทัศนียภาพงดงาม เหมาะสำหรับการล่องเรือชมทิวทัศน์ และสามารถล่องเรือไปได้ไกลจนถึงจังหวัดน่าน ซึ่งเขตติดต่อกับพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน การเดินทางใช้เส้นทางหวงหมายเลข 1045 สายอุตรดิตถ์ - เขื่อนสิริกิติ์ ผ่านสามแยกร่วมจิต ทางเข้าอำเภอท่าปลา ไปจนถึงบ้านห้วยเจริญ มีป้ายอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เข้าไปตามทางลูกรังอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์
น้ำตกเชิงทอง เป็นน้ำตกขนาดเล็กริมถนน อยู่ห่างจากพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ประมาณ 9 กม.มีน้ำไหลตลอดปี และมีทางเดินตามลำห้วยมุ่นต่อขึ้นไปยังน้ำตกห้วยมุ่นและน้ำตกดอยผาหมอก ซึ่งสูงและไหลลดหลั่นลงมาหลายชั้น
ภูพญาพ่อ เป็น จุดสูงสุดบนเส้นทางสายเชิงทอง-กิ่วเคียน สูง 1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเลและ ยังเป็นยอดเขาสูงสุดที่แบ่งเขตแดนระหว่างแพร่กับอุตรดิตถ์ บนภูพญาพ่อซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านในท้องถิ่น บริเวณนี้เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มองเห็นเขาและผืนป่ากว้างไกลไปจนสุดสายตาที่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เส้นทางช่วงต่อไปถนนจะไต่ระดับลงจากเขาจนไปสิ้นสุดที่ อำเภอท่าปลา และสามารถเดินทางต่อไปถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติได้

บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว มีพื้นที่กางเต็นท์ พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขารวม ไว้ให้บริการ หากสนใจที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ ท่านต้องจัดเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่กางเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
การเดินทาง
รถยนต์ ใช้เส้นทางหวงหมายเลข 1045 สายอุตรดิตถ์-เขื่อนสิริกิติ์ ผ่านสามแยกร่วมจิต ทางเข้าอำเภอท่าปลา ไปจนถึงบ้านห้วยเจริญ มีป้ายอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เข้าไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
หมู่ 8 ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 53190 โทรศัพท์ : 0 5541 9236 อีเมล : reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์


การเตรียมตัวขึ้นภูสอยดาว
การขึ้นภูสอยดาว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการไปดูดอกไม้ ซึ่งจะออกดอกบานเยอะช่วงเดือนสิงหาคม - ต้นเดือนตุลาคม ก็เป็นช่วงฤดูฝนอยู่ การเตรียมตัวให้พร้อมถือว่าเป็นเรื่อสำคัญมาก เพราะบนยอดภูไม่มีของขายเลยครับ เริ่มจาก
1. การแต่งกาย ควรเตรียมเสื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบาและแห้งเร็ว, รองเท้าแบบเดินป่าหรือรองเท้าแตะรัดส้นที่มีพื้นดอกยางใหญ่, เสื้อกันฝน
2. อาหารการกิน บนภูไม่มีขาย ต้องเตรียมไปเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหม้อ กะทะ ช้อน จาน อุปกรณ์หุงต้มและอาหารต่างๆ
3. ของใช้อื่นๆ อาทิ ถุงขยะ, ถุงพลาสติก, ยาสามัญประจำบ้าน, โลชั่นกันแมลง, ไฟฉาย ฯลฯ


อุทยานแห่งชาติคลองตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

อุทยานแห่งชาติคลองตรอน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ ตำบลผักขวา อำเภอทองแสงขัน ตำบลย้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ นอกจากจะเป็นคลองขนาดใหญ่ยังมีลำห้วยต่างๆ เกิดขึ้นยังมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญ และสวยงาม คือน้ำตกห้วยเนียม น้ำตกกกมอนแก้ว ถ้ำจันทร์ ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเสือดาว ถ้ำผาตั้ง เขาภูเมี่ยง และหน้าผาที่สวยงามเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป สะดวกสบายในการไปพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติคลองตรอนมีเนื้อที่ประมาณ 445 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 278,125 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสูงต่ำมีแนวเทือกเขาที่สำคัญคือ เขาภูเมี่ยง เขาคว่ำเรือ เขาหงายเรือ เขาสามเหลี่ยม เขาหยวก เขาถนน เขาแดด เขาไม้ผา เขาตักบอน เขาน้ำย้อย เขาผักขวง เขาจันทร์ ยอดเขาที่สูงที่สุด อยู่ด้านทิศตะวันออกคือ เขาภูเมี่ยง สูง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แหล่งกำเนิดห้วยที่สำคัญไหลจากแนวตะวันออกไปสู่แนวตะวันตกและไหลสู่แม่น้ำ น่าน ได้แก่ ห้วยคลองม้ามืด เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างร้อน อากาศร้อนในฤดูร้อนคือ เดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว คือเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีฝนตกชุกปานกลางในฤดูฝน เป็นระยะสั้น ๆ ฤดูร้อนค่อนข้างร้อนยาวนานอุณหภูมิต่ำสุดที่ 12.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่ 42.6 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าไม้ทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ดิบเขา สนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กะบก ตะเคียนหิน กระบาก ยมหอม สมพง ยาง มะขามป้อม จำปีป่า ไม้สัก แดง ประดู่ ตะแบก ตระคร้อ ตีนนก สมอไทย เต็งรัง เหียง พลวง ติ้ว แต้ว รวมถึงก่อชนิดต่าง ๆ
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เลียงผา หมี เก้ง กระจง เสือลายเมฆ เสือปลา อีเห็น กระต่ายป่า หมูป่า ลิง ลิงลม พังพอน กระรอก กระแต เม่น รวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน และชนิดต่างๆ
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกคลองตรอน ซึ่งเกิดจากห้วยคลองตรอนมีน้ำตก 2 แห่งคือ แห่งแรกมี 4 ชั้น มีความสูงประมาณ 20 เมตร แห่งที่ 2 ห่างจากแห่งแรกประมาณ 1,500 เมตร มีความสูงประมาณ 30 เมตร การเดินทางเที่ยวชมต้องเดินเท้าเพราะไม่มีทางรถยนต์
น้ำตกห้วยทราย เป็นน้ำตกชั้นเดียวเกิดจากห้วยทราย หรือห้วยคว่ำเรือ มีความสูงประมาณ 35 เมตร อยู่หมู่บ้านบางขามป้อม ไม่มีทางรถยนต์
น้ำตกภูเมี่ยง เกิดจากห้วยเมี่ยง อยู่ระหว่างหมู่บ้านบางขามป้อม กับหมู่บ้านห้วยคอม ห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ 8 กม. มีน้ำตก 11 ชั้น แต่ชั้นสูงประมาณ 30-45 เมตร น้ำไม่ไหลตลอดปี ไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง
น้ำตกห้วยคอม อยู่บริเวณตอนกลางของห้วยคอม บ้านห้วยคอม ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด ประกอบด้วยน้ำตก 3 แห่ง แห่งที่ 1 เป็นน้ำตกชั้นเดียวสูงประมาณ 15 เมตร แห่งที่ 2 ห่างจากแห่งแรก 200 เมตร เป็นน้ำตก 2 ชั้น สูงประมาณ 15 เมตร แห่งที่ 3 ห่างจากแห่งที่ 2 ประมาณ 30 เมตร เป็นน้ำตกชั้นเดียว สูงประมาณ 20 เมตร การเดินทางต้องเดินเท้า ห่างจากหมู่บ้านห้วยคอมประมาณ 5 กม. ไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง
น้ำตกห้วยเนียม เกิดจากห้วยสาบ (ชาวบ้านเรียกห้วยเนียม) อยู่ตอนกลางของห้วยเป็นน้ำตก 3 ชั้น สูงประมาณ 5 เมตร การเดินเท้า จากหมู่บ้านห้วยเนียมประมาณ 3 กิโลเมตรไม่มีทางรถยนต์เข้าถึง
ผาภูเมี่ยง เป็นผาสูงสวยงามมีจุดเด่นเฉพาะตัว เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ เมื่ออยู่บนหน้าผาแล้ว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ทั่วบริเวณหมู่บ้านทั้งหมู่บ้าน อยู่ระหว่างหมู่บ้านต้นขนุนกับบ้านบางขามป้อม ระยะทาง ประมาณ 10 กิโลเมตร การเดินทางต้องเดินเท้าไม่มีรถยนต์เข้าถึง
ถ้ำจันทร์ เป็นถ้ำขนาดกลาง อยู่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติคลองตรอนฝั่งขวาในท้องที่ตำบลผักขวา ตำบลทองแสงขัน มีความลึกจากปากถ้ำประมาณ 200 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร การเดินทางรถยนต์สามารถเข้าถึงได้
ถ้ำวัวแดงและถ้ำเสือดาว เป็นถ้ำขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบภายในโพลงเข้าไปในถ้ำแล้วเป็นทางแยก หลายทาง ห่างจากถ้ำจันทร์ประมาณ 200 เมตร
เขาเจดีย์ เป็นภูเขาหิน มีรูปร่างคล้ายเจดีย์อยู่ห่างจากบริเวณถ้ำจันทร์ประมาณ 500 เมตร มีจุดเด่น เฉพาะตัวมองดูสวยงาม
การเดินทาง
รถยนต์ อุทยานแห่งชาติคลองตรอน จากอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 11 ถึงบ้านน้ำอ่าง อำเภอตรอน เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1047 ถึงอำเภอน้ำปาด ระยะจาก จังหวัดอุตรดิตถ์ถึงอำเภอน้ำปาดระยะทาง 70 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งจากจังหวัดอุตรดิตถ์ถึงอำเภอน้ำปาด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1045 ระยะทาง 68 กิโลเมตร จากที่ทำการอำเภอน้ำปาด เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1212 (ห้วยเดื่อ-บ้านเพีย) ถึงบ้านต้นขนุน หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด เข้าถึงที่ทำการ (ชั่วคราว) ระยะทางจากที่ทำการอำเภอน้ำปาด ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองตรอน ระยะทาง 23 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติคลองตรอน หมู่ 3 ต.น้ำไผ่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 53110

วนอุทยานต้นสักใหญ่ จังหวัดอุตรดิตถ์

วนอุทยานต้นสักใหญ่ อยู่ในท้องที่บ้านปางเกลือ หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำไทร อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองตรอนฝั่งซ้าย มีเนื้อที่ประมาณ 22,000 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2512
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าเต็งรังบนเนินเขา และมีภูเขาสลับกันไม่สูงชันมากนัก
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง บริเวณต้นสักใหญ่ประกอบด้วยไม้สักหลายชั้น อายุมีตั้งแต่ขนาดใหญ่ ขนาดย่อมและลูกไม้ นอกจากนี้มีไม้เต็งรัง พะยอม แดง ประดู่ ตะแบก เป็นพันธุ์ไม้เด่นที่ขึ้นอยู่ทั่วไป
แหล่งท่องเที่ยว
ต้นสักใหญ่ เป็นต้นไม้สักที่โตที่สุดในโลกปัจจุบัน ที่ยังยืนต้นอยู่จัดที่สูงจากพื้นดิน 1.30 เมตร ลำต้นโต 9.85 เมตร (วัดเมื่อ 13 ตุลาคม 2525) สูงประมาณ 47 เมตร มีอายุซึ่งประมาณว่าไม่น้อยกว่า 1,500 ปี บริเวณรอบ ๆ ต้นสักใหญ่ประกอบด้วยต้นสักขนาดย่อม ลูกไม้สัก เป็นป่าเบญจพรรณซึ่งมีไม้สักเป็นองค์ประกอบโดยรอบ
ป่าธรรมชาติ บริเวณวนอุทยานต้นสักใหญ่สภาพป่าธรรมชาติโดยทั่วไปสภาพดี ประกอบด้วยป่าเต็งรัง ไม้รัง ไม้เพียง ไม้พลอง เป็นองค์ประกอบและป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วย ไม้ประดู่แดง แดง มะค่าโมง พะยอม ป่าธรรมชาติดังกล่าวปรากฏตามเนินเขาสูง ต่ำ ๆ สลับกันไปเป็นทิวทัศน์สวยงามมาก
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานต้นสักใหญ่ ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานต้นสักใหญ่โดยตรง รายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) โทร. (055) 258028 หรือที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900 โทร. 0-25614292 - 3 ต่อ 719 ในวันและเวลาราชการ
การเดินทาง
รถยนต์ จากทางหลวงสายพิษณุโลก - อุตรดิตถ์ ตรงกิโลเมตรที่ 104 - 110 เข้าไปตามทางหลวงหมายเลข 1047 (ลูกรัง) ไปอีก 53 กิโลเมตร จึงถึงวนอุทยานต้นสักใหญ่
จากทางหลวงสายอุตรดิตถ์ - เขื่อนสิริกิตติ์ - น้ำปาด แยกเข้าไปตรงกิโลเมตรที่ 64–65 เข้าไปตามทางหลวงหมายเลข 1047 (ลูกรัง) ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร จึงถึงวนอุทยานต้นสักใหญ่

สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานต้นสักใหญ่ สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) ต.น้ำปาด อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง-ภูทอง จังหวัดอุตรดิตถ์และพิษณุโลก

ประวัติความเป็นมา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง-ภูทอง ได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อ พ.ศ. 2520 มีเนื้อที่ประมาณ 435,320 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำปาด กิ่งอำเภอทองแสนขัน อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอชาติตระการจังหวัดพิษณุโลก
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ติดต่อเป็นเทือกเขายาวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กับทิศตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ราบน้อย เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำภาค ลำน้ำตรอน ห้วยน้ำจวง ห้วยพังงา และห้วยเนียม เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
มีภูมิอากาศเป็นปกติ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป มีฝนตกต้องตามฤดูกาล คือจะเริ่มตกราวเดือนเมษายน และหยุดตกราวเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ลักษณะฝนตกเป็นแบบพรำ ๆ
ชนิดป่าและพรรณไม้
สภาพป่าแบ่งเป็น 2 ชั้น ซึ่งเห็นได้ไม่เด่นชัดนัก คือ บริเวณเชิงเขาจะเป็นป่าเต็งรังผสมกับป่าเบญจพรรณ ส่วนบริเวณสันเขาจะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา สลับกับ ทุ่งหญ้า และป่าไผ่ พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง ยาง เหียง ประดู่ ชิงชัน ตะเคียน เคี่ยมคะนอง นนทรี กะบก กะบาก แดง สมอ ก่อ พยุง หว้า มะค่า มะยมป่า มะม่วงป่า ตีนนก ลำไยป่า ติ้ว แต้ว ไทร พรรณไม้พื้นได้แก่ อ้อยช้าง ตะแบก งิ้วป่า มะขามป้อม ส้าน กระโดน พรรณไม้พื้นล่าง ได้แก่ กล้วยป่า ไผ่ หวาย ระกำ และว่านต่าง ๆ
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าสงวนที่ปรากฏได้แก่ เลียงผา สัตว์ป่าจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กระทิง ช้างป่า เสือโคร่ง เสือดาว เสือไฟ กวาง เก้ง กระจง หมูป่า หมาใน หมาป่า หมี แมวป่า แมวดาว อีเห็น ลิง ลิงลม ค่าง บ่าง ชนี กระรอก กระรอกบิน นาก จำพวกนกได้แก่ นกขุนทอง กาน้ำใหญ่ กาน้ำเล็ก นกกระสา นกเป็ดน้ำ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกะปูด นกขุนแผน นกแก้ว นกเปล้า นกโพระดก นกเงือก นกหัวขวาน นกพญาไฟ นกเขา นกเอี้ยง นกกะราง นกกางเขน สัตว์เลื้อยคลานได้แก่ เต่าปูรู เต่าเหลือง เต่าเคือย เต่าน้ำ ตะพาบน้ำ เหี้ย ตะกวด งูเหลือม งูหลาม งูจงอาง
จุดเด่นที่น่าสนใจ
มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูเมี่ยงสูง 1,564 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพเป็นหน้าผา สูงชัน และยอดเขาภูทองสูง 1,249 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดจวง น้ำตกห้วยทราย และน้ำตกห้วยกอย เป็นต้น
การเดินทาง
เดินทางจากจังหวัดพิษณุโลก โดยรถยนต์โดยสารประจำทางผ่านอำเภอวังทอง อำเภอนครไทย จนถึงอำเภอชาติตระการ โดยที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อยู่ห่างจากตัวอำเภอชาติตระการประมาณ 7 กม. เป็นถนนราดยาง 4 กม. และถนนลูกรัง 3 กม.
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีที่พักสามารถจุคนได้ประมาณ 10-12 คน มีน้ำประปาและไฟฟ้า (ใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม จังหวัดอุตรดิตถ์

ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2537 สำนักงานป่าไม้เขตพิษณุโลก แจ้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงภูทอง ว่า พื้นที่บริเวณอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีสภาพป่าสมบูรณ์มีสัตว์ป่าชุกชุม
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 เจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจ บริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าจริม เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงภูทอง จึงได้สรุปรายงานผลการสำรวจให้กรมป่าไม้ทราบ
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2541 ได้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สถานที่ตั้งและอาณาเขต
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม มีเนื้อที่ประมาณ 412,500 ไร่ หรือ 660 ตารางกิโลเมตร อาณาเขต
ทิศเหนือ จรด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1243
ทิศตะวันออก จรด ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด , ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1243 และลำน้ำปาด
ทิศตะวันตก จรด อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จังหวัดน่าน
ทิศใต้ จรด ป่าสงวนแห่งชาติป่าจริม
ลักษณะภูมิประเทศ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีแนวสันเขาเป็นอาณาเขตติดต่อระหว่าง จังหวัดอุตรดิตถ์ และ จังหวัดน่าน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 350 เมตร จนถึง 1,100 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 28 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดฤดูฝน ประมาณ 70 มิลลิเมตร ต่อปี
ป่าไม้
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริมสามารถที่จะจำแนกพืชพรรณปกคลุม และชนิดป่า ได้ดังนี้ ป่าดิบชื้น ประกอบด้วยพรรณไม้ประเภทปาล์ม , หวาย , ไม้ไผ่ , เถาวัลย์ชนิดต่าง ๆชนิดไท้ที่พบคือ กระบาก , ไม้ค้อ , ดำดง เป็นต้น ป่าดิบแล้ง ชนิดไม้ที่พบ คือ ตะเคียนทอง , กระบก , ประดู่ เป็นต้น ป่าผสมผลัดใบ ชนิดไม้ที่พบ คือ สัก , ตะแบก , ชิงชัน เป็นต้น ป่าเต็งรัง พรรณไม้ที่พบ คือ ไม้เต็ง , รัง , เหียง , มะขามป้อม เป็นต้น
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่พบร่องรอยบริเวณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม ได้แก่ ช้าง , หมีควาย , วัวแดง , เก้ง , หมาใน ส่วนที่เป็นสัตว์ปีกได้แก่ ไก่ป่า , เหยี่ยว เป็นต้น
จุดเด่นที่น่าสนใจ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม มีแหล่งโบราณคดีที่เป็นที่เคารพนับถือ ได้แก่ ถ้ำพระ และถ้ำแสนหาร
เส้นทางการเดินทาง
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง คือ
1.เดินทางโดยรถยนต์โดยสารประจำทางปรับอากาศ จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพฯ ถึงสถานีขนส่ง จังหวัดอุตรดิตถ์
2.เดินทางโดยรถไฟ จากสถานีรถไฟ (หัวลำโพง) กรุงเทพฯ ถึงสถานีรถไฟ จังหวัดอุตรดิตถ์
3.เดินทางโดยเครื่องบินโดยสาร จากท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ มายังท่าอากาศยาน จังหวัดพิษณุโลก เมื่อถึง จังหวัดอุตรดิตถ์ เดินทางโดยรถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1047 เข้าสู่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม ระยะรวมจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 630 กิโลเมตร จาก จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม ระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
สำนักงานป่าไม้ จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000

เทศกาลและงานประเพณี
งานเทศกาลลางสาด จัดประมาณเดือนกันยายนของทุกปี ณ บริเวณสนามกีฬาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ในงานมีนิทรรศการทางวิชาการเกี่ยวกับลางสาด การประกวดลางสาด การประกวดธิดาลางสาด การประกวดรถผลไม้ การออกร้านสินค้าพื้นเมือง
งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด เป็นงานรำลึกถึงวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก และงานฤดูหนาวประจำปี ระหว่างวันที่ 7-16 มกราคม ของทุกปี บริเวณสนามกีฬาพิชัยดาบหัก ในงานจะมีการออกร้านของเหล่ากาชาดจังหวัด และกิจกรรมรื่นเริงต่าง ๆ
งานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า (อัฐมีบูชา) จัดในระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 บริเวณวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ในงานมีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า เป็นการน้อมจิตรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์
งานเทศกาลวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ในวันขึ้น 8-15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) ของทุกปี จะมีชาวบ้านทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาทำบุญและไหว้พระแท่นศิลาอาสน์กันเป็นจำนวนมาก

ช้อปปิ้ง - ของฝาก
อุตรดิตถ์มีสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่ ผ้าซิ่นตีนจก ผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมือง หน่อไม้กระป๋อง ลูกตาวเชื่อม ขนมเทียนเสวย กล้วยกวน ไส้เมี่ยง และไม้กวาดตองกง ที่ทำเป็นของใช้และของที่ระลึกอันเล็ก ๆ รถหาซื้อได้ตามร้านค้าในเมือง และที่อำเภอลับแล

ร้านขายของที่ระลึก (รหัสทางไกล 055)
กนกมณี 165/2 ถนนบรมอาสน์ อำเภอเมือง โทร. 411245 รับสั่งทำและจำหน่ายขนมเทียนเสวย
เล่าซุ่นเส็ง 286 ถนนอินใจมี อำเภอเมือง โทร. 411294 ขายปลีกและส่งหน่อไม้กระป๋องและลูกตาวเชื่อมกระป๋อง
พื้นเมือง 148 ถนนอินใจมี อำเภอลับแล โทร. 431042 จำหน่ายสินค้าผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นเมือง ไม้กวาดตองกง
อรวรรณ 334–334/1 ถนนเขาน้ำตก อำเภอลับแล โทร. 431059 จำหน่ายผ้าซิ่นตีนจก ผ้าซิ่นลับแล ซิ่นมุกลับแล


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)

ที่ว่าการอำเภอเมือง

411-037 , 413-758

ศาลากลางจังหวัด

411-209 , 411-977

สำนักงานจังหวัด

411-003

เทศบาลเมือง

411-212

ททท.สำนักงานภาคเหนือ เขต 3 จ.พิษณุโลก

252-742-3

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตู้ยามอุตรดิตถ์

412-193

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง

411-987

ไปรษณีย์จังหวัด

411-053 , 411-929

สถานีขนส่ง

411-059

สถานีรถไฟ

411-023

รพ.อุตรดิตถ์

411-176 , 411-175

รพ.น้ำปาด

481-061

รพ.ลับแล

431-345

รพ.พิชัย

421-145

รพ.ท่าปลา

499-070

รพ.ทองแสนขัน

414-034

รพ.บ้านโคก

486-063

รพ.ฟากท่า

489-089

รพ.ตรอน

491-098

23:16

จังหวัดอุทัยธานี

" อุทัยธานีเมืองชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก
มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ "

http://www.toursabuy.com/images/info/927200511533.jpg

ข้อมูลทั่วไป จังหวัดอุทัยธานี

จังหวัดอุทัยธานี ตั้ง อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและและภูเขาสูง สภาพป่าไม้ของจังหวัดอุทัยธานีอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์ห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทย ทุกคน
ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และ เมืองโบราณการุ้ง
• ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยสุโขทัยท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัย เก่า(อำเภอหนองฉาง) แล้วพาคนไทยมาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยงและหมู่บ้านมอญจึงเรียกว่า “เมืองอู่ไทย”ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย ต่อมาเกิดความแห้งแล้งกระแสน้ำเปลี่ยนทางเมืองจึงถูกทิ้งร้าง ในสมัยอยุธยาชาวกะเหรี่ยงชื่อ“พะตะเบิด” เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทยโดยขุดทะเลสาบขังน้ำไว้ใกล้เมืองและเป็นผู้ปกครอง เมืองอู่ไทยเก่าคนแรก ชื่อเมืองจึงเรียกเพี้ยนเป็น“เมืองอุไทย” ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยงและมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพ พม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนที่ริมฝั่ง แม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน
• อุทัยธานีมีสถานที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายแห่งที่น่ามาเที่ยวชมและศึกษาหาความรู้ อีกทั้งมีสินค้าที่ระลึกประเภทหัตถกรรมและอาหารการกินมากมายเช่นหน่อไม้รวก ข้าวเกรียบปลา ผลไม้แช่อิ่ม ผ้าทอ เครื่องจักสานซึ่งสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้
• จังหวัดอุทัยธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ แต่ละอำเภอมีระยะห่างจากอำเภอเมือง ดังต่อไปนี้
อำเภอทัพทัน 19 กิโลเมตร
อำเภอบ้านไร่ 80 กิโลเมตร
อำเภอลานสัก 54 กิโลเมตร
อำเภอสว่างอารมณ์ 33 กิโลเมตร
อำเภอหนองขาหย่าง 10 กิโลเมตร
อำเภอหนองฉาง 22 กิโลเมตร
อำเภอห้วยคต 45 กิโลเมตร
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
• ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอวัดสิงห์และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปอุทัยธานีได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1.จากถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงแพขนานยนต์ ที่อำเภอมโนรมย์ ผ่านวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทางประมาณ 305 กิโลเมตร
2.จากทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 333 ตรงทางแยกท่าน้ำอ้อยบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 206 ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ผ่านหน้าโรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 222 กิโลเมตร
3.อีกเส้นทางหนึ่งเริ่มต้นจากถนนสาย 32 เช่นกัน เมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 30 (อยู่ในเขตจังหวัดอยุธยา)เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 334 และจากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 309 ไปตามเส้นทาง ข้ามสะพานจังหวัดอ่างทอง จากนั้นมาตามถนนสาย311ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ผ่านจังหวัดชัยนาทที่อำเภอสรรพยา จากนั้นเลี้ยวเข้าเส้นทางหมายเลข 3183 เข้าจังหวัดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 283 กิโลเมตร
• รถตู้ปรับอากาศ ให้บริการระหว่างเวลา 04.00–18.00 น. จอดบริเวณใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิด้านสนามเป้า
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-อุทัยธานีทุกวัน จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 กิโลเมตร 11 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศตั้งแต่เวลา04.30-17.50 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 936-1972, 936-1882 สถานีเดินรถอุทัยธานี โทร. (056) 511914,512859, 511058
• รถไฟ ต้องโดยสารรถไฟไปลงที่สถานีนครสวรรค์ แล้วต่อรถประจำทางมายังอุทัยธานีอีกประมาณ 50 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1960, 223-7010, 223-7020
• การเดินทางภายในจังหวัด จะมีทั้งรถสองแถว และรถบัสประจำทางวิ่งตามเส้นทางต่างๆ เช่น อุทัยธานี-หนองฉาง อุทัยธานี-วัดสิงห์ อุทัยธานี-บ้านไร่ ลานสัก-สว่างอารมณ์-ทัพทัน บ้านไร่-คลองแห้ง เป็นต้น

แผนที่จังหวัดอุทัยธานี

แผนที่ตัวเมืองอุทัยธานี

สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี


วัดสังกัสรัตนคีรี
เป็นวัดเก่าตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมือง ในวิหารของวัดประดิษฐานพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี มีประวัติว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ. 2335-2342 สำหรับเมืองอุทัยธานีได้รับ 3 องค์ โดยอัญเชิญลงแพมาขึ้นฝั่งที่ท่าพระ (ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี) แล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระเนื้อสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ฝีมือช่างสุโขทัยยุค 2 ส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ แต่ขนาดเดียวกัน เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันแล้วจึงนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปยังวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไป 1 กิโลเมตร และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร พร้อมกับถวายนามว่า "พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์"

ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีจะมีประเพณีตักบาตรเทโว โดยพระสงฆ์ประมาณ 500 รูป จะเดินลงบันไดจากยอดเขาสะแกกรัง มารับบิณฑบาตที่ลานวัด เป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัด

เขาสะแกกรัง
จากบริเวณลานวัดเชิงเขามีบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาสะแกกรัง หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 3220 เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณสนามกีฬาจังหวัดไปตามทางขึ้นสู่ยอดเขา บนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองอุทัยธานีได้กว้างขวาง เป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 ด้านหน้ามีระฆังใบใหญ่ที่พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2443 ถือกันว่าเป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์ ใครที่ไปเที่ยวอุทัยธานีแล้วไม่ได้ขึ้นไปตีระฆังใบนี้ก็เท่ากับไม่ได้ไป เที่ยวอุทัยธานี ใกล้กับมณฑปบนยอดเขาสะแกกรังมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก แห่งรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่า นายทองดี รับราชการมีตำแหน่งเป็นพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ครั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ จักรี (พระนามเดิมว่า นายทองด้วง) ได้สถาปนาพระอัฐิพระบิดาเป็นสมเด็จพระชนกาธิบดี เมื่อปี พ.ศ. 2338

พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ
เป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าขององค์จริง ประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีทั้งฝักวางบน พระเพลาซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวาทรงวางบนพระเพลาขวา ด้านขวามือมีพานวางพระมาลาเส้าสูง ไม่มียี่ก่า (ขนนก) สวมพระบาทด้วยรองเท้าแตะไม่หุ้มส้นพระบาท มีพิธีถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงที่ดอกสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคำ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานีบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบนเขาสะแกกรัง

วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม
ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรสถิตย์อยู่หน้าสวนสุขภาพในเขตเทศบาลเมือง เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ชาวเมืองเรียกกันว่าวัดทุ่งแก้ว ในวัดนี้มีพระปรางค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่ง ฐานกว้าง 8 เมตร สูง 16 เมตร ลักษณะเป็นปรางค์ห้ายอด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2452 ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อแย้มผู้สร้างวัดนี้ บริเวณวัดมีสระน้ำก่ออิฐ เป็นสระน้ำมนต์ขนาดใหญ่ กลางสระมีแผ่นศิลาอักขระยันต์ของหลวงพ่อแย้มฝังเอาไว้ น้ำในสระแห่งนี้เคยใช้เป็นน้ำสรงพุทธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7

วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค)
เป็นวัดที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ เขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒนสัตยาของข้าราชการเมืองอุทัยธานี และเป็นลานประหารนักโทษ

โบสถ์ของวัดเป็นโบสถ์สมัยรัตนโกสินทร์ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมืองดงามที่สุดในอุทัยธานี น่าจะเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลายที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นภาพพุทธประวัติบางตอน เช่น ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ปางผจญมาร ด้านข้างและด้านบนเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับพัดยศ ช่องว่างบานประตู เป็นภาพพระพุทธเจ้ารับคนโทน้ำและรวงผึ้งจากช้างกับลิง เป็นภาพที่เขียนในชั้นหลังคนละฝีมือกัน ด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นกรอบฝีมือพองาม

สำหรับวิหารสร้างยกพื้นสูงกว่าโบสถ์ ภายในมีแท่นสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 องค์ จัดเรียงอย่างมีระเบียบ บนหน้าต่างด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นเรื่องรามเกียรติ์ประดับเป็นกรอบ และประตูวิหารเป็นไม้จำหลักลายดอกไม้ทาสีแดงงดงามมาก โบสถ์และวิหารมีพระปรางค์และเจดีย์เรียงรายอยู่ 2-3 องค์

กำแพงรอบโบสถ์ก่อต่อกับฐานวิหารเพราะมีพื้นสูงกว่า ประตูเข้ากำแพงทำซุ้มแบบจีน และหลังโบสถ์มีซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปด้วยเช่นเดียวกับด้านหน้า มีกุฏิเล็กอยู่ติดกับกำแพงโบสถ์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา บานประตูวัดก็เป็นศิลปะการแกะสลักของช่างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แกะเป็นลายดอกไม้ประกอบใบกระจังต่อก้านสลับดอกเรียงเป็นแถวสวยงามมาก พื้นในทาสีแดง เข้าใจว่าเดิมคงลงสีทองบนตัวลายไว้ สำหรับบานหน้าต่างก็แกะเป็นลวดลายเดียวกัน

ลำน้ำสะแกกรัง
เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านตัวจังหวัดอุทัยธานี เฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี จะมีเรือนแพจอดเรียงรายอยู่ทั้งสองริมฝั่งน้ำ ฝั่งแม่น้ำทิศตะวันตกข้างบนเป็นตลาดใหญ่ มีอาคารบ้านเรือนหนาแน่น ส่วนฝั่งแม่น้ำทิศตะวันออกเป็นเกาะเทโพ ที่มีสวนผลไม้และป่าไผ่ตามธรรมชาติ เรือนแพที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำเป็นเรือนไม้สร้างคร่อมบนแพลูกบวบไม้ไผ่ ชาวเรือนแพเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมง ในช่วงเช้าหลังจากที่ได้ปลามาจะนำมาเสียบไม้เป็นแผง ผึ่งให้แห้ง ย่างรมควันทำเป็นปลาแห้ง ตามเรือนแพริมน้ำยังมีกระชังเลี้ยงปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาแรด เป็นภาพที่สามารถพบเห็นได้ตามสองฝั่งลำน้ำสะแกกรัง จึงเหมาะสำหรับนั่งเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งได้รอบตัวเกาะ ส่วนเรือนแพที่อยู่ฝั่งทิศตะวันออกที่อยู่ตรงข้ามกับชุมชนเมือง นักท่องเที่ยวสามารถว่าจ้างเรือจากบริเวณท่าเรือตลาดสดเทศบาลเมืองอุทัยธานี

วัดอุโปสถาราม
เดิมชื่อวัดโบสถ์มโนรมย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์ เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมลำน้ำสะแกกรังในเขตเทศบาลเมือง จากตลาดสดเทศบาล มีสะพานข้ามแม่น้ำไปยังวัดอุโปสถาราม ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เกี่ยวกับพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพานฝีมือประณีตมาก และจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร เป็นฝีมือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทพยดาบนสวรรค์และภาพปลงสังขาร ด้านบนฝาผนังเป็นพระสงฆ์สาวกชุมนุมสลับกับพัดยศเหมือนจะไหว้พระประธานใน วิหาร ฝาผนังด้านนอกหน้าวิหารมีภาพถวายพระเพลิงศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและภาพชีวิต ชาวบ้านที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เข้าใจว่าเป็นฝีมือชั้นหลัง นอกจากนี้ภายใน.วัดอุโปสถาราม ยังมีสิ่งของที่น่าชมอีกมาก เช่น เสมาหินสีแดงหน้าโบสถ์ ตู้พระธรรมและตู้ใส่ของเขียนลายกนกเถาลายดอกไม้ บาตรฝาประดับมุกที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ และหงส์ยอดเสา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าชมหลายหลัง

วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ตามทางสาย 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ ประมาณ 12 กิโลเมตร เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลัง เป็นเรื่องพุทธประวัติบางภาพต่อเติมจนผิดส่วน มีศาลามณฑปแก้วที่สร้างขึ้นใหม่และอาคารเรียนขนาดใหญ่ รวมทั้งมีท่าเรือคอนกรีตริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทางน้ำ วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองาม มีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2-3 แห่ง สิ่งที่เป็นโบราณวัตถุของวัดคือ ธรรมมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ มากมาย ซึ่งสร้างโดยพระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงเป็นบริเวณพุทธาวาสที่น่าชมมาก พระอุโบสถใหม่สร้างสวยงามภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า นอกจากนี้ปูชนียสถานแห่งใหม่ยังมีบริเวณกว้างขวางมาก มีศาลาอยู่หลายหลังสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกสมาธิและมีที่พักให้ด้วย

ศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ตั้งอยู่ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ถนนศรีอุทัย (ใกล้ศาลากลางจังหวัด) ภายในจัดแสดงเป็นห้องต่าง ๆ เช่น ห้องพัฒนาอาชีพ ห้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีห้องจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ห้องแสดงเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้ายศเจ้าเมือง ห้องจำลองไม้จำหลักและบ้านไทย เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. สามารถติดต่อต่อเข้าชมเป็นหมู่คณะสอบถามรายละเอียดได้ที่ (056) 511511

พระแสงราชศัสตราวุธประจำเมืองอุทัยธานี
สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นพระแสงดาบที่จังหวัดอุทัยธานีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือที่เมืองอุทัยธานี เมื่อ พ.ศ. 2444 เป็นพระแสงดาบที่พระราชทานเป็นอันดับ 3 (อันดับ 1 เมืองอยุธยา อันดับ 2 เมืองชัยนาท)

พระแสงราชศัตราวุธ เป็นดาบไทยทำด้วยเหล็กอย่างดีสีขาวเป็นมัน ปลายแหลม คมด้านเดียว มีน้ำหนักเบา สันเป็นลายทอง ฝังงาในเนื้อเหล็กรูปดอกไม้ร่วง และริมสันทั้งสองข้างมีลายทองเป็นรูปก้านขด โคนตรงกลางมีจารึกนามอักษร "พระแสงสำหรับเมืองอุไทยธานี" ด้ามพระแสงทำด้วยไม้เนื้อแข็งหุ้มทองลงยา โคนเป็นลายกนกตราอ้อย ปลายด้ามเป็นรูปจุฑามณีบัวคว่ำ 3 ชั้น ประดับด้วยพลอย ต้นฝักพระแสงทำด้วยทองคำเป็นรูปรักร้อยประดับพลอย มีกาบกนกหุ้มต้นฝักทำด้วยทองคำเป็นลายก้านขด ช่อดอกแกมใบประดับพลอย ตัวฝักพระแสงทำด้วยทองคำดุน แถบฝักทั้งสองข้างมีลวดลายต่างๆ สวยงามมาก นับเป็นศิลปกรรมฝีมือเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นพระแสงดาบสำคัญประจำ เมืองอุทัยธานี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่คลังจังหวัดอุทัยธานี จะนำออกเฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น

เขื่อนวังร่มเกล้า
ตั้งอยู่ที่บ้านใต้ ตำบลทุ่งใหญ่ เขตอำเภอเมือง การเดินทางใช้เส้นทางจากอำเภอทัพทันไปอำเภอโกรกพระ ตามทางหลวงหมายเลข 3005 เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรัง 1.5 กิโลเมตร ถึงเขื่อนวังร่มเกล้า เขื่อนนี้เป็นเขื่อนชลประทานขนาดเล็กกั้นแม่น้ำตากแดดหรือแม่น้ำสะแกกรังใน เขตอำเภอเมืองอุทัยธานี ทัศนียภาพบริเวณอ่างเก็บน้ำหน้าเขื่อนสวยงาม

เมืองโบราณบ้านใต้ หรือบ้านได้
อยู่ตำบลทุ่งใหญ่ เลยท้ายเขื่อนวังร่มเกล้าไป 300 เมตร เป็นสถานที่พบซากโบราณสถานระฆังหิน ฐานพระพุทธรูปยืนทำด้วยศิลา กำไลหิน พระพุทธรูปสำริด สภาพเมืองยังคงมีแนวกำแพงดินเหลืออยู่บ้าง

สถานที่ท่องเที่ยว อ.อื่นๆ

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอหนองขาหย่าง

บึงทับแต้
จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3265 ประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าทางลูกรัง บริเวณสะพานคลองยางไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร หรืออาจจะเช่าเรือจากบริเวณปากคลองยางเข้าไปยังบึงเป็นระยะทาง 5-6 กิโลเมตร บึงทับแต้อยู่ตอนปลายของห้วยขวี ซึ่งมีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร ส่วนที่เป็นบึงกว้างประมาณ 330 เมตร เป็นแหล่งที่มีปลาอาศัยอยู่ริมบึงอย่างชุกชุม ชาวบ้านได้อาศัยน้ำและจับปลาในบึงนี้ ริมบึงตรงบ้านท่าทอง พบแหล่งของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ มีเครื่องมือเหล็ก ภาชนะดินเผา ลูกปัด กำไลแก้ว เป็นต้น จัดว่าเป็นชนเผ่าที่เจริญ เพราะรู้จักใช้โลหะเป็นเครื่องประดับ นอกจากนี้ยังพบขวดเหล้าของชาวตะวันตกสมัยอยุธยาด้วย

เมืองโบราณบ้านคูเมือง
อยู่ที่ตำบลดงขวาง เป็นสถานที่พบระฆังหิน เครื่องมือหิน หินบดยา ลูกปัดสี และพระพิมพ์ดินดิบ

วัดหนองพลวง
ตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนหนองขาหย่างวิทยาคม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2400 สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงจั่ว หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นและเครื่องถ้วยเคลือบ มีทางเข้าทางเดียว ไม่มีช่อฟ้า เสมาโดยรอบเป็นหินสลักสวยงามบนฐานรูปดอกบัว

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอหนองฉาง

เมืองอุไทยธานีเก่า
อยู่ที่บ้านอุทัยธานีเก่า เป็นที่ตั้งของเมืองอุไทยธานีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังคงมีซากโบราณสถานเหลืออยู่ เช่น วัดหัวหมาก วัดยาง และวัดกุฏิ ส่วนบริเวณโดยรอบได้กลายเป็นทุ่งนาไปหมด วัดที่ยังคงสภาพอยู่จนถึงปัจจุบันนี้คือ วัดแจ้ง มีพระปรางค์ซึ่งเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2081 ต่อมาถูกพม่าทำลายยอดหัก จึงบูรณะซ่อมแซมใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458 พร้อมกับโบสถ์เก่าซึ่งเป็นโบสถ์ขนาดเล็กประตูเดียว แบบอยุธยาตอนปลาย ลายปูนปั้นของพระปรางค์และหน้าบันโบสถ์เป็นฝีมือเดียวกัน อีกวัดหนึ่งคือ วัดหัวเมือง ยังคงมีซากโบสถ์เก่าแบบอยุธยาเหลืออยู่ และเจดีย์โบราณขนาดเล็กหน้าโบสถ์เก่า

ถ้ำน้ำพุเขากวางทอง
เป็นถ้ำที่อยู่ในเขากวางทอง ตำบลทุ่งโพ มีความสูงประมาณ 325 เมตร ห่างจากอำเภอหนองฉางประมาณ 20 กิโลเมตร อยู่ขนานกับเขาบางแกรก ที่ราบลุ่มตรงกลางเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เดิมมีสัตว์ป่ามากินน้ำ โดยเฉพาะพวกกวางมีมากเป็นพิเศษ ถ้ำน้ำพุอยู่เชิงเขาภายในถ้ำมีน้ำพุ และมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก

วัดหนองขุนชาติ
เป็นวัดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ มีอุโบสถเก่าภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 เขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติปางต่างๆ เช่น ตอนธิดาพระยามารมารำยั่วยวน ตอนเทศน์โปรดเทวดา ตอนหนีออกบรรพชา เป็นต้น ด้านบนเป็นพระสงฆ์ชุมนุมนั่งพนมมือ ที่น่าสังเกตก็คือ ภาพคนแต่งตัวสวมหมวกปีกอย่างชาวตะวันตก นอกจากอุโบสถเก่าแล้ว ยังมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอยู่ มีการจัดงานนมัสการพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอทัพทัน

วัดทัพทัน
ตั้งอยู่บนถนนสายอุทัยธานี-ทัพทัน ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 19 กิโลเมตร ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอ 1 กิโลเมตร มีประตูโบสถ์อันงดงาม ฝีมือช่างสมัย รัตนโกสินทร์ บานหนึ่งแกะเป็นรูปคนถือธง ระบุ พ.ศ. 2466 อีกบานหนึ่งระบุว่าเป็นปีกุน มีลวดลายสวยงาม อกเลาบานประตูมีลวดลายยาวตลอด บานประตูอีกคู่หนึ่งแกะเป็นรูปเทวดาถือคันศรยืนบนพระยานาค ข้างล่างเป็นภูเขามีสัตว์ต่างๆ ส่วนด้านบนเป็นลานกนกมะลิเลื้อย ฝีมือช่างคนละคนกับรูปเสี้ยวกาง บานประตูคู่นี้ไม่แกะลวดลายที่อกเลา เข้าใจว่าเป็นช่างพื้นบ้าน

แหล่งทอผ้าพื้นเมืองบ้านโคกหม้อ
ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกหม้อ การเดินทางจากอำเภอทัพทันไปยังอำเภอสว่างอารมย์ ตามเส้นทางสาย 3013 ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือไปยังบ้านโคกหม้ออีกประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านขนาเล็กของชาวไทยลาวที่อพยพมาอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการผ้าทอพื้นเมืองมานาน โดยชาวบ้านนิยมทอผ้าเมื่อหมดฤดูทำนา ลักษณะที่ทอกัน ส่วนใหญ่เป็นผ้าซิ่นตีนจก ผ้ามัดหมี่ ผ้ายกดอกลายเชิงแบบเก่า

เขาปฐวี
อยู่ในตำบลตลุกดู่ เป็นเทือกเขาขนาดเล็กยาวประมาณ 720 เมตร สูง 253 เมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินที่เรียงซ้อนกันเป็นยอด ค่อนข้างสูงชัน มีถ้ำอยู่เรียงรายโดยรอบประมาณ 30 ถ้ำ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เช่น ถ้ำประทุน ถ้ำบันได ถ้ำอ่าง ถ้ำช่องลม ถ้ำพุทธประวัติ ถ้ำปลา และถ้ำค้างคาว เป็นต้น บริเวณลานกว้างหน้าเขามีร่มไม้และฝูงลิงจำนวนมาก บริเวณนี้ยังพบเครื่องมือหินและโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ด้วย

การเดินทางจากอำเภอเมืองอุทัยธานีไปตามทางหลวงหมายเลข 3013 เข้าสู่อำเภอทัพทัน จากอำเภอทัพทันมีเส้นทางไปยังเขาปฐวีอีกเป็นระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 18 กิโลเมตร

ตลาดนัดโค กระบือหนองหญ้าปล้อง
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองหญ้าปล้อง เดินทางจากอำเภอทัพทันไปตามถนนสายทัพทัน-โกรกพระ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบตลาดทางด้านขวามือ ซึ่งเป็นตลาดที่มีบริเวณพื้นที่ซื้อขายกว้างใหญ่ ตลาดนัดแห่งนี้จะมีเฉพาะวันพระและวันโกนเท่านั้น ในแต่ละครั้งที่มีการซื้อขายจะมีโค กระบือที่ถูกนำมาขายนับพันตัว

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอสว่างอารมย์

เขากวางทองไผ่เขียว
เป็นเขาสูง 372 เมตร อยู่ตำบลไผ่เขียว ห่างจากตัวอำเภอ 9 กิโลเมตร มีหน้าผาสวยงาม และถ้ำอีกหลายแห่งหินงอกหินย้อยเป็นประกายระยิบระยับสวยงาม ใกล้เขากวางทองมีเขาเล็กๆ คือ เขาลูกไก่ที่มีหินสลับซับซ้อนแปลกตา มีเขาพระอยู่ทางด้านเหนือ ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่

เมืองโบราณบึงคอกช้าง
อยู่ที่ตำบลไผ่เขียว ใช้เส้นทางสว่างอารมย์-ลาดยาว ทางหลวงหมายเลข 3013 ก่อนสุดเขตจังหวัดอุทัยธานี มีทางลูกรังแยกซ้ายไปบึงคอกช้าง ประมาณอีก 20 กิโลเมตร ค่อนข้างห่างไกลชุมชน เป็นเมืองโบราณที่มีคูเมืองและกำแพงดินล้อมรอบ ค้นพบซากโบราณ เครื่องปั้นดินเผา หินบดยา เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดสีเหลือง นอกจากนี้ยังขุดพบศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ 3 หลัก ปัจจุบันมีสภาพเป็นสวนป่าปลูกมีต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่ทั่วไป ส่วนบริเวณคูเมืองตื้นเขิน

เขาหินเทิน
อยู่ตำบลพลวงสองนาง มีลักษณะเป็นหินก้อนใหญ่ที่เทินกัน และยื่นออกมาจากพื้นเขา ก้อนหินขนาดใหญ่นี้มีสีขาวเกลี้ยงมัน ภายในเขาหินเทินยังมีถ้ำลึกอยู่ด้วย

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอห้วยคต

น้ำตกไซเบอร์ หรือน้ำตกหินลาด
เป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้หมู่บ้านไซเบอร์ ตำบลคอกควาย อำเภอห้วยคต อยู่ห่างจากจังหวัด 86 กิโลเมตร น้ำตกนี้เกิดจากลำห้วยล่อยจ้อยที่ไหลมาจากภูเขาสูงของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าห้วยขาแข้ง จึงทำให้เกิดน้ำตกขึ้นเป็นระยะๆ หลายชั้น น้ำตกส่วนที่อยู่ตอนบนเรียกน้ำตกล่อยจ้อย บางแห่งตกจากที่สูงปะทะกับก้อนหินใหญ่ เรียก น้ำตกหินลาด ข้างล่างเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่รับน้ำตกที่ตกลงมาไม่ขาดสาย บางแห่งไหลซอกซอนล้นไปตามเกาะแก่งของหินลงสู่เบื้องล่าง เป็นทางยาวสูงต่ำหลายชั้น บริเวณโดยรอบเป็นป่าหวายและมีต้นไม้ร่มครึ้ม

น้ำพุร้อนบ้านสมอทอง
ตั้งอยู่ที่บ้านสมอทอง ตำบลคอกควาย เป็นน้ำพุร้อนแบบธรรมชาติขนาดเล็กที่ผุดขึ้นมาผิวดินโดยไหลผ่านช่องเขาสอง ลูก น้ำที่ผุดขึ้นมานี้จะไหลรวมกันเป็นลำธารสายเล็กๆ ไหลลงสู่ลำธารคอกควาย น้ำพุที่ผุดนี้ ใส มีกลิ่นกำมะถันฉุน และมีความร้อนขนาดต้มไข่สุกภายใน 5 นาที โดยน้ำจะไหลลาดตามหินของภูเขาลงไปรวมกับน้ำในลำห้วยคอกควาย

การเดินทางสามารถเดินทางจากอำเภอหนองฉางสู่อำเภอบ้านไร่ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 333 จนถึงกิโลเมตรที่ 41 จะมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าบ้านวังบ่าง-สมอทอง ไปตามเส้นทางสายนี้ประมาณ 24 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวามือเป็นทางเล็กๆ ไปยังสำนักสงฆ์น้ำพุร้อนบ้านสมอทองอีกประมาณ 500 เมตร จะถึงลำธารคอกควายให้เดินข้ามไปอีกประมาณ 50 เมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำพุร้อนบ้านสมอทอง

น้ำตกอีซ่า
ตั้งอยู่หมู่บ้านกุดจะเริก ตำบลคอกควาย น้ำตกอีซ่านี้เป็นน้ำตกธรรมชาติที่มีน้ำไหลตลอดปี ซึ่งน้ำตกอีซ่านี้เกิดขึ้นจากลำธารอีซ่า บริเวณน้ำตกมีสภาพป่าที่เป็นธรรมชาติ และบริเวณป่าใกล้ๆ น้ำตกนี้มีหมูป่าชุกชุม

การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 333 มีเส้นทางเข้าตรงทางแยกเข้าบ้านวังบ่าง กิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายหนองฉาง-บ้านไร่ และแยกเข้าถนนสายวังบ่าง-สมอทอง อีกประมาณ 18 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านกุดจะเริก แล้วเดินเท้าอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกอีซ่า

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอลานสัก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
มีอาณาเขตคลุมพื้น 6 อำเภอ 3 จังหวัด คือ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละ อำเภอสังขละ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 3,609,375 ไร่ หรือ 5,775 ตารางกิโลเมตร โดยมีการรวมพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเข้ามาด้วย ทำให้เป็นผืนป่าอนุรักษ์ต่อเนื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาพป่าคงความสมบูรณ์ ประกอบด้วย ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบสลับกับทุ่งหญ้า เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งบางชนิดหายากและใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ควายป่า เลียงผา เสือดาว หมาใน ไก่ป่า และยังมีแมลงพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย จึงทำให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ได้รับการขึ้นทะเบลียนจากองค์การยูเนสโก ให้เป็ฯ "มรดกโลกทางธรรมชาติ" ในการประชุมคณะกรรมการมร่กโลกขององค์การยูเนสโกระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2534 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย นับเป็นผืนป่าที่มีคุณค่าควรแก่การช่วยกันอนุรักษ์ หวงแหนเป็นอย่างยิ่ง

เขาพระยาพายเรือ
อยู่ในเขตตำบลลานสัก ห่างจากตัวจังหวัด 59 กิโลเมตร ตามทางสู่อำเภอลานสักตรงหลักกิโลเมตรที่ 29-30 แยกขวาเข้าทางลูกรังเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงเชิงเขาแล้วเดินขึ้นสู่ปากถ้ำอีกประมาณ 150 เมตร เป็นเขาลูกเล็กสูง 257 เมตร เมื่อมองจากระยะไกลจะดูคล้ายเรือสำเภาลำหนึ่ง ภายในประกอบด้วยถ้ำเล็กๆ เชื่อมต่อกัน ได้แก่ ถ้ำแก้ว ถ้ำสีชมพู ถ้ำท้องพระโรง ถ้ำอ่างน้ำมนต์ และถ้ำพุทธสถาน ภายในถ้ำซับซ้อนมากจึงต้องมีป้ายบอกทางและมีไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการเที่ยว ชมความงามของหินงอกหินย้อย ตอนบนของถ้ำสร้างพระนอนขนาดใหญ่ ส่วนทางเข้าถ้ำต่างๆ นั้นอยู่ทางด้านซ้ายมือ มีทางเข้าทางเดียว ซึ่งเป็นทางลึกถึงข้างล่าง และมีบันไดลงไปได้ถึงก้นถ้ำ

เขาผาแรด
ตั้งอยู่ที่ตำบลลานสัก อยู่หลังที่ว่าการอำเภอลานสัก ประมาณ 7.5 กิโลเมตร เขาผาแรดนี้อยู่ห่างจากเขาพระยาพายเรือประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นเขาลูกเล็กๆ มีความสูงประมาณ 376 เมตร ภายในเขาลูกนี้เป็นที่ตั้งของถ้ำซึ่งมีหินงอกหินย้อย พร้อมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว และมีสำนักสงฆ์อยู่ใกล้เชิงเขา

เขื่อนทับเสลา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลระบำ จากอำเภอลานสัก ไปตามทางหลวงหมายเลข 3438 เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จะถึงทางแยกซ้ายมือเข้าเขื่อนทับเสลา เป็นทางราดยางอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เขื่อนทับเสลาเป็นเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ กั้นลำห้วยทับเสลา ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงาม มีภูเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลัง บริเวณตอนใต้ของเขื่อนมีสภาพเป็นป่าเต็งรังและสวนป่าปลูก

เขาปลาร้า
เป็นเขาแบ่งเขตของหมู่บ้านห้วยโศก อำเภอลานสัก กับตำบลเขาบางแกรก อำเภอหนองฉาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 เมตร ไปตามทางสายหนองฉาง-ลานสัก ประมาณ 21.5 กิโลเมตร แล้วแยกไปตามทางลูกรัง ประมาณ 7.5 กิโลเมตร เป็นเขาขนาดใหญ่ มีความสูง ประมาณ 598 เมตร และชันมาก ต้องเดินเท้าและปีนเขาอีกประมาณ 2 ชั่วโมง จึงจะถึงยอดเขา ข้างบนเป็นที่ราบขนาดใหญ่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้ เช่น ไม้มะค่า ที่หน้าผาด้านตะวันตกพบภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ระดับความสูง 320 เมตร ตลอดแนวยาว 9 เมตร เป็นภาพมนุษย์มีหลายลักษณะและกลุ่มภาพสัตว์ จำนวน 40 ภาพลักษณ์ แสดงสภาพชีวิตและสังคมของคนยุคโบราณ ซึ่งเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

หุบป่าตาด
อยู่ตรงข้ามกับเขาปลาร้า เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบถ้ำ และเมื่อเดินรอบถ้ำจะพบหุบเขาที่มีต้นตาดซึ่งเป็นต้นไม้ดึกดำบรรพ์ขึ้นอยู่

ถ้ำพนาสวรรค์
เป็นถ้ำในเทือกเขาที่บ้านห้วยโศก ตำบลป่าอ้อ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร โดยแยกตรงกิโลเมตรที่ 22 ของถนนสายหนองฉาง-ลานสัก เข้าหมู่บ้านบุ่งฝาง และหมู่บ้านห้วยโศก อีก 5 กิโลเมตร ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นโถงถ้ำหลายถ้ำ มีหินงอกหินย้อยสวยงามตามธรรมชาติ และบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของวัดห้วยโศก

ป่าสักธรรมชาติ
ที่ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก เป็นป่าที่มีต้นสักเหลืออยู่แห่งเดียวในขณะที่ส่วนอื่นถูกทำลาย และได้รับการปรับปรุงให้เป็นวนอุทยานสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 58 กิโลเมตร

ถ้ำเขาฆ้องชัย
เป็นเทือกเขาอยู่ในตำบลลานสัก มีความสูงประมาณ 353 เมตร ทางด้านหน้าของเขาฆ้องชัยเป็นถ้ำตื้นกว้างเหมือนอุโมงค์ใหญ่ เข้าใจว่าเดิมมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เพราะพบเครื่องมือหิน และเศษภาชนะดินเผา ภายในบริเวณถ้ำแห่งนี้มีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลาเย็นจะแลเห็นฝูงค้างคาวบินออกมาหากินนานนับชั่วโมง และถ้าสามารถปีนหน้าผาสูงไปได้จะพบถ้ำอยู่ทางด้านบน มีถ้ำธงชัย ถ้ำมหาสมบัติ ถ้ำเป็ด และถ้ำลม ใกล้กันเป็นที่ตั้งของเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งมีถ้ำสวยงาม บริเวณตรงกลางเป็นที่ดินในหุบเขามีเนื้อที่กว้างขวางมากซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดและโรงเรียนลานสักวิทยา

การเดินทางถ้าเดินทางจากอำเภอหนองฉางสู่อำเภอลานสัก ถ้ำเขาฆ้องชัยนี้จะอยู่ก่อนถึงอำเภอลานสักประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือแล้วเลี้ยวเข้าโรงเรียนลานสักวิทยาไปประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงบริเวณถ้ำเขาฆ้องชัย

สวนป่าห้วยระบำ
เป็นของบริษัทไม้อัดไทย จำกัด มีเนื้อที่ 2,890 ไร่ อยู่ที่ป่าห้วยระบำ ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก ห่างจากตัวจังหวัด 78 กิโลเมตร สามารถเข้าไปชมแปลงป่าที่ปลูกใหม่ได้ มีเรือนพักรับรองสำหรับผู้นิยมธรรมชาติ บริเวณที่ทำการสวนป่าปลูกดอกกุหลาบและพันธุ์ไม้สวยงาม

สถานที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอบ้านไร่

เมืองโบราณการุ้ง
ตั้งอยู่ที่ตำบลวังหิน พบพระพุทธรูปปางเสด็จดาวดึงส์ และซากโบราณสถาน ในปัจจุบันยังคงมีกำแพงดินให้เห็นเป็นเขตแนวของเมือง สำหรับคูเมืองโดยรอบนั้นถูกขุดลอกทำลายเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บน้ำสำหรับหมู่ บ้าน การเดินทางใช้เส้นทางสายอำเภอหนองฉาง-บ้านไร่ ทางหลวงหมายเลข 333 ผ่านบ้านทุ่งนา ทางแยกเขาตะพาบจนถึงบ้านเมืองการุ้ง ก่อนถึงอำเภอบ้านไร่ประมาณ 10 กิโลเมตร เมืองโบราณการุ้งจะอยู่บริเวณทางโค้งด้านซ้ายมือหลังศาลเจ้าแม่การุ้ง

เขาถ้ำตะพาบ
เป็นเขาลูกเล็กอยู่ในเขตตำบลวังหิน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 56 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 333 มีทางแยกขวาเข้าสู่ถ้ำอีก 3 กิโลเมตร ในบริเวณเดียวกันมีถ้ำอีกหลายแห่ง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยแปลกตา ทางด้านหน้าของถ้ำได้สร้างพระพุทธรูปและจัดเป็นสังฆาวาส ส่วนถ้ำที่อยู่ด้านหลังเลี้ยวขวามือเป็นถ้ำท้องพระโรง ถ้ำแก้ว ถ้ำปราสาท และถ้ำเรือ เป็นต้น หากเลี้ยวซ้ายจะพบทางออกด้านหลังซึ่งเป็นทางไปสู่ถ้ำลึกที่มีบันไดลงไปถึง ก้นถ้ำ ผนังภายในเป็นคราบหินสีและมีหินงอกหินย้อยระยิบระยับสวยงาม ตรงอุโมงค์หลังถ้ำมีหินรูปร่างคล้ายตะพาบ และเคยพบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำทุกแห่งจะมีไฟฟ้าส่องทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าชม

วัดเขาวงพรหมจรรย์
ตั้งอยู่ตำบลวังหิน อยู่เลยวัดถ้ำเขาตะพาบประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในหุบเขา 2 ลูก คือเขาวงและเขาพรหมจรรย์ มีถ้ำสวยงามหลายถ้ำ เช่น ถ้ำเพชร ถ้ำแก้ว ถ้ำปลา ด้านขวามือมีชะง่อนหินสูงตั้งมณฑปขนาดเล็กและไหล่เขา สร้างอุโบสถสวยงาม บนเขาเคยมีฝูงลิงและนกยูงอาศัยอยู่

เขาวง
เป็นเขาขนาดใหญ่อยู่ในตำบลไร่ อยู่ห่างจากอำเภอ 12 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านสะนำ บ้านหินตุ้ม มีทางเข้าทางทิศใต้ ทางหนองใหญ่ ซึ่งขึ้นสูงชันและลาดทีละน้อย เส้นทางอ้อมโค้ง ทางเข้าทิศเหนือเป็นหน้าผาต้องไต่ไปตามซอกเขา ระยะทาง 500 เมตร บนเขามีที่ราบกว้างมีต้นไม้หลายชนิด เช่น ไม้ยาง ไม้มะค่า ไม้เสลา เป็นต้น มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่บ้าง สำหรับถ้ำมีหินงอกหินย้อยงดงามมาก บางถ้ำมีช่องเข้าถ้ำเป็นวงกลม

เขาพุหวาย
เป็นเขาที่อยู่ในตำบลบ้านไร่ ห่างจากตัวจังหวัด 71 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านสะนำ บ้านหินตุ้ม และเขาวง อยู่ห่างจากหมู่บ้านหินตุ้มประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นถ้ำที่อยู่เหนือพื้นดินประมาณ 150 เมตร ภายในถ้ำมืดสนิทและมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก เช่น รูปเจดีย์ อ่างน้ำ ทางเข้าถ้ำอยู่บนไหล่เขาต้องเดินขึ้นไป บางถ้ำเป็นท้องพระโรง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี


ข้อมูลทั่วไป :

สืบเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และสัตว์ป่า จนเป็นที่ยอมรับของนักวิจัยชาวไทยและ ชาวต่างประเทศว่า เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ มีความหลากหลายของพันธุ์สัตว์และพรรณพืช ดังนั้นในปี พ.ศ.2534 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งรวมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ นเรศวรจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 15 ณ เมืองคาร์เถจ ประเทศตูนีเซีย

สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งตั้งอยู่ เชิงเขาหินแดง ริมห้วยทับเสลา ห่างจากตัวจังหวัดอุทัยธานีตามเส้นทางรถยนต์ 90 กิโลเมตร อาณาเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งครอบคลุมท้องที่ตำบลระบำ ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก ตำบลทองหลาง กิ่งอำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และตำบลแม่ละมุ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 1,737,587 ไร่ หรือ 2,783.3 ตารางกิโลเมตร

การเดินทาง :

การเดินทางจากอุทัยธานีสู่ป่าห้วยขาแข้งไปได้ 2 ทาง คือ

1. เข้าทางที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 90 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุทัยธานี-หนองฉาง-ลานสัก ทางหลวงหมายเลข 3438 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 53-54 เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการเขตฯ ด่านตรวจเขาหินแดง ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยทับเสลา จากที่ทำการเขตฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ต่อไปยังสถานีวิจัยเขานางรำ ระยะทาง 17 กิโลเมตร และหน่วยพิทักษ์ป่ากะปุกกะเปียง ระยะทาง 14 กิโลเมตร จากหน่วยพิทักษ์ป่ามีเส้นทางเดินป่าไปโป่งน้ำร้อนอีก 6 กิโลเมตร

2. เข้าทางหน่วยพิทักษ์ป่าเขาบันได อยู่ทางทิศใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ห่างจากตัวจังหวัดอุทัยธานีประมาณ 110 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายอุทัยธานี-หนองฉาง-บ้านไร่ ระยะทาง 80 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางลูกรังผ่านบ้านใหม่คลองอังวะอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจคลองระยาง ไปยังหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดี และหน่วยพิทักษ์ป่าเขาบันได สามารถเดินป่าขึ้นล่องได้ทั้งด้านเหนือและใต้ของลำห้วยขาแข้ง

สิ่งอำนวยความสะดวก :

การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จะต้องติดต่อขออนุญาตจากผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ หรือทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตู้ ปณ. 4 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 61160 เสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าพักแรมและเดินป่าในเส้นทางต่างๆ จะต้องติดต่อรายละเอียดกับทางเขตฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน สถานที่พักแรมบริเวณที่ทำการเขตฯ มีบ้านพักขนาดพักได้ 10-30 คน จำนวน 3 หลัง และอาคารฝึกอบรมขนาดจุ 80 คน

หมายเหตุ ปกติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุกแห่งมิได้เปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วไป ดังนั้น ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปสัมผัสผืนป่าแห่งนี้ได้ นับเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง และควรที่จะช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพดีดังเดิมไว้ตลอดไป โดยการปฏิบัติตามระเบียบและข้อแนะนำของเจ้าหน้าทุกประการ

ลักษณะภูมิประเทศ :

โดยทั่วไปมีสภาพเป็นภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 200 - 1,650 เมตร เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสาย ที่สำคัญที่สุด คือ ห้วยขาแข้ง ซึ่งไหลผ่านกลางพื้นที่และมีน้ำตลอดปี ทางซีกตะวันตกเป็นป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน จึงก่อให้เกิดลำธารสั้น ๆ หลายสายไหลลงห้วยขาแข้ง ทางซีกตะวันออกมีลำห้วยที่ใหญ่กว่า ได้แก่ ห้วยไอ้เยาะ ที่มีต้นน้ำมาจากเขานางรำและเขาเขียว ห้วยแม่ดีเกิดจากเทือกเขาน้ำเย็น ไหลลงสู่ลำห้วยขาแข้ง และห้วยทับเสลา ซึ่งมีต้นน้ำไหลมาจากเทือกเขาในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแนวเขตธรรมชาติของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าทางด้านตะวันออกและไหลผ่านที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลงสู่แม่ น้ำสะแกกรัง

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า :

สภาพป่าส่วนมากยังสมบูรณ์ เนื่องจากไม่เคยผ่านการทำไม้มาก่อน บริเวณที่ลุ่ม ริมห้วยขาแข้งและห้วยใหญ่ ๆ เป็นป่าดงดิบชื้น ที่สูงขึ้นไปจะเป็นส่วนผสมระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ บางแห่งจะมีไผ่รวกขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หรือกระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ บนยอดเขาสูงมาก ๆ จะเป็นป่าดิบเขา

ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่ที่มีเนื่อที่กว้างขวาง มีอาณาเขตบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรที่เชื่อมโยง ไปถึงประเทศพม่า สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม รวมทั้งบางชนิดที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ วัวแดง กวางควายป่า ช้างป่า กระทิง เก้ง หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง สมเสร็จ เสือชนิดต่าง ๆ นกยูง ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกหัวขวาน และนกชนิดอื่น ๆ อยู่กระจัดกระจายทั่วไป ซึ่งสามารถเห็นตัวและพบร่องรอยอยู่เสมอ

จุดเด่นที่น่าสนใจ :

ลำห้วยขาแข้ง
ได้ชื่อว่าเป็นลำน้ำที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ไทย เป็นลำน้ำสายใหญ่ให้น้ำตลอดปี นอกจากจะมีน้ำที่ใสแล้วบางตอนยังเกิดหาดทรายที่ขาวสะอาดทอดไปตามริมลำห้วย มีปลาชุกชุมมาก รวมทั้งสัตว์ป่าและสัตว์ปีกที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ตอนที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บริเวณสบห้วยไอ้เยาะไหลลงห้วยขาแข้ง

น้ำตกโจน
เป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปี เป็นส่วนหนึ่งของลำห้วยทับเสลาไหลผ่านช่องเขาแคบ ๆ และเปลี่ยนระดับฉับพลันก่อให้เกิดน้ำตกมีความสูงประมาณ 50 เมตร

วงตีไก่
เป็นปรากฏการณ์ประหลาดของธรรมชาติที่เกิดมีก้อนหินขนาดต่าง ๆ วางเรียงกันเป็นวง ๆ หลายวง มีชื่อทางเข้าคล้ายประตู 4 ด้าน

โป่งนายสอ
ตั้งชื่อตามชื่อพรานป่าซึ่งเสียชีวิตเพราะถูกแรดทำร้าย อยู่ทางฝั่งขวาของลำห้วยขาแข้ง ตอนกลางของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีน้ำซับตลอดปี จึงมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก

โป่งพุน้ำร้อน
เป็นโป่งใหญ่อยู่ทางตอน เหนือทางฝั่งซ้ายของลำห้วยขาแข้ง มีบ่อ น้ำพุร้อนอยู่ใกล้ ๆ สัตว์ป่าโดยเฉพาะกระทิง วัวแดง และกวาง มีชุกชุมมาก

นอกจากนี้ยังมีโป่งต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเสียงมากอีกหลายโป่ง เช่น โป่งแสนโต๊ะ โป่งตะคร้อ โป่งหญิง โป่งเจียว โป่งสมอ เป็นต้น

หุบป่าตาด จังหวัดอุทัยธานี


ถ้ำหุบป่าตาด อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี การเดินทางไปหุบป่าตาด เข้าทางเดียวกับกับเขาปลาร้า อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำนี้ถูกค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 พระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้ จึงพบว่ามีต้นตาดเต็มไปหมด (ต้นตาดเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม) จึงเจาะถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าในปี พ.ศ. 2527 ต่อมากรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เพราะที่นี่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แปลกและมีพันธุ์ไม้หายาก ถ้ำที่เป็นทางเดินเข้าหุบป่าตาดนั้นมืดสนิท แต่เดินไม่นานจะถึงบริเวณปล่องขนาดใหญ่ที่แสงส่องลงมาได้และจะพบป่าตาด ให้ความรู้สึกเหมือนว่าได้มาอยู่ในโลกยุคดึกดำบรรพ์ นอกจากต้นตาดแล้วที่นี่ยังพบไม้หายากพันธุ์อื่นๆเช่น เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก เป็นต้น ในบริเวณหุบเขานี้มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบและยังมีความชุ่มชื้นสูง แสงจะส่องถึงพื้นได้เฉพาะตอนเที่ยงวันเพราะมีเขาหินปูนสูงชันล้อมรอบ มีความร่มรื่นเหมาะแก่การเดินชมธรรมชาติ
เยี่ยมชมหุบป่าตาด
Unseen in Thailand ที่หุบป่าบ้านตาด ซึ่งต้องลอดอุโมงค์ภูเขาเข้าไปเพื่อชมผืนป่ากลางหุบเขา ก็เป็นผืนป่าที่แปลกตาครับ ระหว่างที่ลอดอุโมงค์ มีค้างคาวอาศัยอยู่เยอะมาก และภายในหุบป่าก็มีนกให้ดูด้วย
การเตรียมตัว ควรเตรียมไฟฉายและยาทากันยุงไปด้วย


เทศกาล งานประเพณี : ของฝาก จังหวัดอุทัยธานี

เทศกาลและงานประเพณี
งานตักบาตรเทโว วัดสังกัสรัตนคีรี ถือเป็นประเพณีสำคัญในวันออกพรรษาของจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ตุลาคม) ของทุกปี พระสงฆ์ทุกรูปที่จำพรรษาในเขตอำเภอเมืองอุทัยธานีประมาณ 200-300 รูป จะออกรับบิณฑบาตโดยเดินลงบันไดจากยอดเขาสะแกกรัง นำด้วยพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ลงมารับบิณฑบาตข้าวสารจากพุทธศาสนิกชน ที่ลานวัด โดยสมมติมณฑปบนยอดเขาสะแกกรังเป็น “สิริมหามายากูฎคาร” ที่พระพุทธเจ้า ทรงเทศน์โปรดมารดา แล้วเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ลงบันได 339 ขั้น ซึ่งถือเป็นบันไดแก้วสู่กัสนคร คือ บริเวณวัดสังกัสรัตนคีรี ในวันนั้นประชาชนจะแต่งกายสวยงามและมาร่วมทำบุญกันอย่างพร้อมเพรียง นับเป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทุกปี
งานไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ วัด สังกัสรัตนคีรี เป็นงานท้องถิ่น จัดขึ้นในวันขึ้น 3-8 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี เป็นงานประเพณีไหว้พระคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี ซึ่งเดิมนั้นเป็นงานนมัสการปิดทองพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขาสะแกกรัง ในระยะหลังจึงจัดงานในคราวเดียวกันที่วัดนี้ในวันขึ้น 5 ค่ำ เนื่องจากเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่มาไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์และ ขึ้นยอดเขาเพื่อปิดทองพระพุทธบาทจำลองมากที่สุด และได้จัดให้มีการละเล่นสนุกสนานควบคู่กันไปทุกปี
งานประจำปีวัดหนองขุนชาติ อำเภอหนองฉาง โดยจัดให้มีงานในวันขึ้น 12 ค่ำ - วันแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี เดิมเป็นงานนมัสการพระพุทธบาทจำลอง ต่อมาการจัดงานได้รับความนิยมมาก จึงได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี
การละเล่นพื้นเมืองที่บ้านท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จัดขึ้นในเทศกาลตรุษสงกรานต์ คือระหว่างวันที่ 13-14 เมษายน โดยชาวบ้านในหมู่บ้านท่าโพและหมู่บ้านพันสี จะมาร่วมกันจัดการละเล่นพื้นเมืองขึ้นที่วัดท่าโพ โดยจะเก็บดอกไม้แห่เข้าโบสถ์แล้วร้องเพลงพิษฐานในโบสถ์ เสร็จแล้วจะออกมาเล่นเพลงชักกะเย่อ เพลงโลม เพลงรำวงโบราณอย่างสนุกสนานแต่ละเพลงมีท่ารำประกอบเฉพาะ ผลัดกันเล่นมอญซ่อนผ้า เจี๊ยบๆ จ้อย ช่วงชัย เสือกินวัว และแม่ศรี ตามแต่จะแข่งขันกัน ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทยที่รักษาไว้และปฏิบัติกันมาหลายชั่วอายุคน การละเล่นต่างๆ ในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่ยังคงเนื้อเพลงที่ร้องแบบของเดิมไว้
การละเล่นของชาวกะเหรี่ยง อำเภอบ้านไร่ ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ มีเต้นรำเชอโฮเตตามจังหวะ การร้องเพลงกล่อมลูก เป็นต้น ประเพณีการแต่งงานและการหย่าร้าง การนับถือผี งานบุญเจ้าวัด และการทอผ้าพื้นเมือง เป็นต้น ปัจจุบันยังสามารถศึกษาได้จากหมู่บ้านกะเหรี่ยง ตำบลคอกควาย และตำบลแก่นมะกรูด
งานแห่เจ้าของชาวจีนในอุทัยธานี เป็นประเพณีของชาวจีนในอุทัยธานีที่จะจัดพิธีแห่เจ้าพ่อและเจ้าแม่ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามศาลต่างๆ โดยกำหนดมีงานตามการครบปีของเจ้าแต่ละองค์ ซึ่งบางองค์ 5 ปีแห่ครั้งหนึ่ง บางองค์ 12 ปีแห่ครั้งหนึ่ง บางองค์ 14 ปีแห่ครั้งหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การแห่เจ้าพ่อปุงเถ่ากง เจ้าพ่อหลักเมืองอุทัยธานี จะมีขบวนสาวงามถือธงร่วมขบวนเป็นแถวยาวผ่านตลอดไปตามถนนรอบเมือง และจะมีสิงโตคณะต่างๆ ของชาวจีนในอุทัยธานีร่วมให้พรตามร้านค้าคนจีนในตลาด ซึ่งทุกร้านจะตั้งโต๊ะบูชาประดับด้วยงาช้างขนาดใหญ่สวยงาม ถ้าเป็นงานของเจ้าแม่ทับทิม “จุ้ยบ้วยเนี้ยว” จะมีพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงเจ้าแม่เมื่อครบ 12 ปี และเข้าทรงทำการลุยไฟด้วย

ช้อปปิ้ง ของฝาก
• หน่อไม้รวกเขาสะแกกรัง เป็นหน่อไม้จากต้นไผ่รวกที่ขึ้นบนเขาสะแกกรัง มีรสชาติหวานกรอบบรรจุใส่ขวดเพื่อเป็นของฝาก สามารถเก็บไว้ได้นานนับปี หน่อไม้หน่อสั้นสำหรับรับประทานกับน้ำพริก และหน่อยาวสำหรับใช้ประกอบอาหาร
• เห็ดโคนดอง เป็นเห็ดที่ขึ้นในป่าเขตอำเภอบ้านไร่และอำเภอทัพทัน มีเนื้อแน่นกรอบอร่อย แตกต่างจากเห็ดโคนที่อื่น และนิยมทำเป็นเห็ดโคนดองบรรจุขวด นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
• ผ้าทอพื้นเมือง ผลิตกันมากในเขตหมู่บ้านโคกหม้อ อำเภอทัพทัน และหมู่บ้านลาวต่างๆ เช่น หมู่บ้านผาทั่ง หมู่บ้านสะนำ หมู่บ้านห้วยแห้ง หมู่บ้านทองหลาง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านไร่ บ้านใหม่ ไทยอีสาน ที่อำเภอลานสัก
• เครื่องจักสานท่ารากหวาย เป็นภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่บนเกาะเทโพ ทำเป็นกระเป๋าถือ ตะกร้า กระบุง กระจาด ทุกรูปแบบได้รับความนิยมมากเพราะฝีมือประณีต นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักสานทำจากผักตบชวา เช่น หมวก และกระเป๋า
• ข้าวเกรียบปลา และข้าวกุ้งกรอบ ผลิตจากกุ้ง และปลากรายแท้ๆ รสกรอบ อร่อย หวาน เค็ม ได้รสชาติของปลาและกุ้งจากธรรมชาติ
• น้ำปลาปลาสร้อยท่าซุง เป็นน้ำปลาปลาสร้อยแท้ซึ่งทำจากปลาสร้อยที่อยู่ในแม่น้ำสะแกกรัง โดยเฉพาะเขตตำบลท่าซุง เป็นน้ำปลาที่สะอาด มีกลิ่นหอม แต่ยังผลิตได้จำนวนไม่มากนัก
• ขนมกงหนองแก เป็นขนมหวานที่ผลิตจากหมู่บ้านหนองแกที่มีรสอร่อยหวานหอมตามตำรับเดิม ซึ่งมีชื่อเสียงดังคำกล่าวขานที่ว่า “น้ำยาน้ำทรง ขนมกงหนองแก” และทำขึ้นจำหน่ายวันต่อวัน
• ยาลมจีน เป็นยาลมจีนสูตรโบราณที่ผสมครบตามตำรา มีชื่อทั่วประเทศ ผู้ใหญ่ใช้ประจำครอบครัวเพราะได้ผลดี ตัวยาแรงมาก ขายเป็นขีดและบรรจุขวด ผลิตกันหลายยี่ห้อ
• ผลไม้แช่น้ำผึ้ง เป็นผลไม้แห้งผสมน้ำผึ้งที่เก็บไว้ได้นาน และรับประทานอร่อย มีทั้งมะม่วง กระท้อน มะเฟือง มะขาม พุทรา มะยม ส่วนที่นิยมกันมากคือมะม่วงแช่น้ำผึ้ง และมะขามแช่อิ่ม
• เมล็ดแตงโมอุทัยธานี มีทั้งเมล็ดแตงโมพันธุ์และเมล็ดที่คั่วปรุงรสใส่ถุง มีชนิดธรรมดาและชนิดใส่เนย
• กระยาสารท เป็นขนมหวานที่ต่างจากท้องที่อื่น เพราะนำน้ำผึ้งมาเป็นส่วนผสม ทำให้รสหวานหอมและกรอบอร่อย
• ส้มโอเกาะเทโพ เป็นส้มที่ปลูกบนเกาะเทโพ รสหวาน ส่งจำหน่ายที่ตลาดมโนรมย์จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
• ปลาลวก เป็นอาหารที่มีชื่อของอุทัยธานีสำหรับรับประทานกับข้าวต้ม ทำจำหน่ายที่ตลาดกลางคืน ใช้ปลาช่อนสดลวกน้ำร้อนผสมเครื่องปรุงมีรสอร่อย
• ปลาย่างอุทัยธานี เป็นปลาย่างที่ย่างอย่างถูกวิธี ที่นิยมคือปลาเนื้ออ่อน ปลากดย่างและรมควันอย่างโบราณ กลิ่นหอมน่ารับประทาน ราคาแพงกว่าที่อื่นเพราะทำอย่างดี หรือจะใช้วิธีซื้อปลามาแล้วจ้างให้ทางร้านย่างให้ก็ได้ ซึ่งนิยมย่างบนแพในแม่น้ำสะแกกรัง
• ปลาแรดสะแกกรัง เป็นปลาเลี้ยงในแม่น้ำสะแกกรัง ตัวโตขนาด 2 กิโลกรัม ใช้ทอดกรอบให้เหลืองกับกระเทียมพริกไทย รสอร่อยจิ้มน้ำปลามะนาว
• ปลาเทโพและปลาสวาย ใช้สำหรับนึ่งใส่เครื่องปรุง หรือจะใช้แกงกับหน่อไม้ทำปลาเจ่า มันปลาจะช่วยเพิ่มรสอาหารให้อร่อย

ร้านขายของฝาก ของที่ระลึก (รหัสทางไกล 056)
อำเภอเมือง
ฉัตรอุทัย 73 ถ.มหาราช โทร.511712 เปิด 06.00-19.00 น. (ข้าวกุ้งกรอบ ข้าวเกรียบปลากราย แคบหมู หนังปลา)
ผลไม้แช่อิ่มตั้งยู่ฮวด 561 ถ.นศรีอุทัยใหม่ โทร.511285 เปิด 08.00-17.00 น. (ผลไม้แช่อิ่มชนิดต่างๆ)
ไพพรรณ 391 ถ.ศรีอุทัย โทร. 511660 (ผลไม้แช่อิ่มชนิดต่างๆ ขนมปังสังขยา ขนมหวาน)
แม่ป่วยลั้ง 1 75 ถ.มหาราช โทร.511775 เปิด 06.30-20.30 น. (ข้าวกุ้งกรอบ ข้าวเกรียบปลากราย ข้าวตังหมูหยอง ข้าวตังหน้างา แคบหมู หนังปลา)
แม่ป่วยลั้ง 2 ถ.รักการดี หน้าโรงพยาบาลอุทัยธานี โทร. 513975 เปิด 08.00-20.00 น. (ข้าวกุ้งกรอบ ข้าวเกรียบปลากราย ข้าวตังหมูหยอง ข้าวตังหน้างา แคบหมู หนังปลา)
ร้านไหมแกมฝ้าย 50/3 ถ.รักการดี โทร. 512957 (ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, ผ้าทอพื้น, ผ้าจก, ผ้าใยกัญชา, ชุดสำเร็จตัดเอง)
อำเภอหนองขาหย่าง
กลุ่มทอผ้าบ้านห้วยรอบ 37 ม.3 บ้านห้วยรอบ ต.ห้วยรอบ โทร. 513233 (ผ้าจก,ผ้าไหม)
กลุ่มทอผ้าตีนจกดงขวาง บ้านดงขวาง โทร. 597093, 597080 (ผ้าจก)
กลุ่มรวมใจพัฒนา ม.4 ต.หนองไผ่ (ไหมประดิษฐ์, ผ้าพื้น)
ศูนย์ฝึกอาชีพ ต.ห้วยรอบ ม.3 ต.ห้วยรอบ โทร. 513232 (ไหมประดิษฐ์, ผ้าพื้น)
อำเภอทัพทัน
กลุ่มทอผ้าบ้านโคกหม้อ 4/1 ม.2 บ้านโคกหม้อ ต.โคกหม้อ โทร.512957, (01) 953-2372 (ผ้าไหม)
กลุ่มทอผ้าแม่บ้านเกษตรกรโคกหม้อ ม.2 บ้านโคกหม้อ โทร.513189 (ผ้ามัดหมี่, ผ้าพื้น)
อำเภอบ้านไร่
กลุ่มทอผ้าไพจิตต์ 29 ม.3 บ้านนาตาโพ ต.บ้านบึง โทร. (01)971-0521, 953-2372 (ผ้าฝ้าย, ผ้าขิด, ผ้าจก)
กลุ่มทอผ้าบ้านทัพคล้าย 39 ม.2 บ้านทัพคล้าย ต.ทัพหลวง (ผ้าจก)
กลุ่มทอผ้าบ้านทัพหลวง 3 ม.1 บ้านทัพหลวง ต.ทัพหลวง โทร. 546128 (ผ้าจก, ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, ผ้าห่ม, ผ้าคลุมเตียง)
กลุ่มทอผ้าศรีนิน 73 ม.1 ต.บ้านบึง โทร. 546125, (01) 971-3622 (ผ้าจก,ผ้าไหม, ผ้าคลุมเตียง, ผ้าขาวม้า)
กลุ่มทอผ้าแม่บ้านเกษตรกรผาทั่ง 32 ม.2 บ้านผาทั่ง ต.ห้วยแห้ง โทร. 539157 (ผ้าจก, ผ้าฝ้าย)


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 056)

ททท. สำนักงานภาคกลางเขต 7 จ.ลพบุรี

036-422-768-9

สำนักงานจังหวัด

511-200

ไปรษณีย์จังหวัด

511-097

สถานีขนส่งจังหวัด

511-544

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตำรวจทางหลวง ส.ทล.3 กก.1 จ.นครสวรรค์

296-184 , 296-182

ตู้ยามเขาเขียว

255-152

ตู้ยามน้ำอ้อย

341-511

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง

511-055

รพ.อุทัยธานี

511-584 , 511-081

รพ.ลานสัก

537-000

รพ.สว่างอารมณ์

599-000

รพ.บ้านไร่

539-000

รพ.หนองฉาง

531-141

รพ.ทัพทัน

591-000

รพ.หนองขาหย่าง

597-086